" ภาษีลงทุน"เขย่าตลาด ต้อนผู้ลงทุนเข้าระบบ

" ภาษีลงทุน"เขย่าตลาด  ต้อนผู้ลงทุนเข้าระบบ

“เศรษฐา1.” เดินหน้าตามนโยบายแบบสุดตัว ด้วยข้อจำกัดตามงบประมาณปี 2567 ที่ไม่สามารถใช้ได้ทันตามปีงบประมาณ ดังนั้นจึงใช้รูปแบบลดค่าใช้จ่าย(ประชาชน)โดยไม่ได้เพิ่มเงินในกระเป๋า(ประชาชน)อย่าง “นโนบายลดค่าครองชีพ” และตามมาด้วยชดเชยฐาน “ภาษี”ในบางกลุ่ม

            สัปดาห์นี้จึงเห็นการทยอยประกาศปรับภาษีสำคัญในหลายด้าน หากเป็นภาษีประชาชนส่วนใหญ่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ครม. (13 ก.ย.2566)เห็นควรขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปอีก 1 ปี โดยให้คงจัดเก็บในอัตรา 6.3% (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) หรือ 7% (รวมภาษีท้องถิ่น) สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2566 ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2567

            ส่วนภาษีใช้เฉพาะกลุ่มอย่างตลาดทุนไทย กลับเผชิญด้านระลอก “ภาษีขายหุ้น”  หรือTransaction Tax  ในอัตรา 0.11%ครั้งแรกรอบ 30ปี หรือนับตั้งแต่มีตลาดหลักทรัพย์

           หลังผ่านมติ ครม . ชุดก่อนแต่ยังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา   ซึ่งหากดำเนินการจริงเริ่มจัดเก็บภาษีขายหุ้นในปีแรกของการบังคับใช้กฎหมายในอัตราเพียงกึ่งหนึ่งของที่กฎหมายกำหนด คือ 0.055% เพื่อให้เวลานักลงทุนได้ปรับตัว ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราการจัดเก็บไว้ที่ 0.11% ของมูลค่าหุ้นที่ขายได้ (รวมภาษีท้องถิ่น)

หากแต่ถูกเลื่อนออกไปหลายรอบหลังเผชิญข้อมูลและข้อโต้แย้งว่า “ได้ไม่คุ้มเสีย “  ตอกย้ำจากสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) คาดส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของตลาดหุ้นไทยอาจทำให้มูลค่าการซื้อขายลดลงอย่างน้อยประมาณ 30% และคาดว่ากลุ่มนักลงทุนที่จะได้รับผลกระทบจากภาษีขายหุ้นดังกล่าวจะเป็นกลุ่มนักลงทุนประเภทที่ซื้อขายระยะสั้นๆ  (High Frequency Trading) ที่น่าจะลดความถี่ในการซื้อขายเนื่องจากต้นทุนการขายที่แพงขึ้น 

         ภาษีขายหุ้นได้รับความชัดเจนไม่พ้นวันจากรัฐบาล “เศรษฐา1.” ประกาศพับแผนใช้ภาษีซื้อขายหุ้นตลอดการเป็นรัฐบาล ตลาดทุนไทยกลับมาอ่อนไหวอีกครั้งเมื่อมีการงัด “จัดเก็บภาษีลงทุนในต่างประเทศ” ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา

        โดยกรมสรรพากรยกเครื่องฐานภาษีระหว่างผู้มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ภายในและภายนอกประเทศ ประกอบกับการพิสูจน์การมีเงินได้และช่วงเวลาในการนำเงินได้เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการจัดเก็บภาษี จากผู้ที่มีแหล่งเงินได้นอกประเทศลดลงไปอย่างมากแล้ว

เรื่องเก็บภาษีดังกล่าวเป็นการสร้างความเป็นธรรมในการเสียภาษีเป็นหลัก หากเป็นผู้ลงทุนคนไทยไม่ว่าจะลงทุนที่ไหนต้องเสียภาษีอย่างถูกต้องและเท่าเทียม ซึ่งจะเป็นการกระกาศออกมาไม่ใช่ฉบัยเดียว เพราะจากนี้จะมีเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการตามมาอีก รวมทั้งการรับฟังข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

       สามารถตีความได้ง่ายว่า ภาษีส่วนนี้จะมีการดำเนินการจัดเก็บแน่นอน แต่จะดำเนินการวิธีใด ใช้ฐานภาษีเท่าไร  เริ่มจ่ายภายในปีไหน  เท่านั้น  !!

     ภาษีในส่วนนี้เริ่มมีการพูดในวงกว้างว่ายังไม่ชัดเจนและทำให้ตลาดตื่นตะหนก ด้วยที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทย 10 ปี แทบไม่ไปไหน ผลตอบแทนติดลบมากกว่าบวกและยังมีตลาดอื่นที่มีโอกาสเติบโตมากกว่าจึงมีการกระจายความเสี่ยงลงทุนต่างประเทศมากขึ้น

        ปัจจุบันมหาเศรษฐีมีการนำเงินไปลงทุนด้วยตัวเอง ส่วน ผู้ที่มีรายได้สูงและมีประสบการณ์ ใช้การลงทุนผ่านกองทุนต่างประเทศ  หลักทรัพย์ต่างประเทศ   ตราสารอ้างอิงอนุพันธ์ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีต้นทุนที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงที่ลงทุน

      ยังเป็นที่รู้กันกลุ่มนักลงทุนกลุ่มนี้เงินได้จากการลงทุนต่างประเทศ นำเงินกลับไทยปีถัดไป “ ไม่ต้องเสียภาษี” ทำให้เกิดช่องโหว่หากจะมีนักลงทุนย่อมและอยากจ่ายภาษีต้องครบ 3 เงื่อนไขครบ

      โดย 1.ต้องเงินได้ประเภทกำไรจากการขายหลักทรัพย์ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ เงินปันผล และดอกเบี้ยเงินฝาก  2.ต้องอยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน

      และ3.มีเงินได้จะต้องนำเงินที่ได้รับในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกันกับปีที่เกิดเงินได้   หากความเป็นจริงไม่มีนักลงทุนรายไหนที่อยากจะเพิ่มต้นทุนตัวเองจ่ายภาษีส่วนนี้เลี่ยงได้ย่อมเลี่ยง  

         และเมื่อกวาดตามองไปยังต่างประเทศที่ดำเนินการเก็บภาษีการลงทุนจากต่างประเทศและต้องเสียภาษีมีการดำเนินการเช่นกันและไทยไม่ใช่ประเทศแรก  ที่สำคัญมีการพิจารณาเงินได้ที่ได้จากการลงทุนต่างประเทศ คือ กำไรที่เกิดขึ้นจริง (Realized Gain)  เมื่อไทยจะดำเนินการให้จริงจังต้องทำให้ชัดเจน และดำเนินการทุกกลุ่ม ป้องกันการเลี่ยงและโอกาสช่องโหว่ให้ได้ด้วย