ปรับสินเชื่อใหม่ทั้งระบบ ช่วยลูกหนี้ – เจ้าหนี้ร่วมรับผิดชอบ

ปรับสินเชื่อใหม่ทั้งระบบ ช่วยลูกหนี้ – เจ้าหนี้ร่วมรับผิดชอบ

ปัญหาหนี้ในระบบและนอกระบบ ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่มาตลอด จนธปท. ส่งสัญญาณแรงเข้ามาดูแลอย่างต่อเนื่องหลังตัวเลขหนี้ครัวเรือนไม่แผ่วและยังอยู่ในเลเวลที่สูงต่อเนื่องจนมีผลต่อ “ธุรกิจไฟแนนซ์ และสินเชื่อแบบมีหลักประกัน”

ตั้งแต่แนวทางแก้ไขเจ้าหน้าขาโหด – คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่สูง เอาเปรียบผู้กู้ การดึงกลุ่มไฟแนนซ์เข้ามาอยู่ภายใต้กำกับดูแลของ ธปท. และล่าสุดได้มีการปรับระบบสินเชื่อและการบริหารจัดการลูกหนี้ต้นทางไปถึงปลายทาง

หลังข้อมูล “หนี้ครัวเรือน” ภายใต้สินเชื่อที่ ธปท. กำกับ และไม่ได้อยู่ภายใต้กำกับ เช่น สินเชื่อรถยนต์สินเชื่อสหกรณ์ และสินเชื่อเพื่อการศึกษา ช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 หนี้ครัวเรือน เพิ่มจาก 86.3%เป็น 90.6% หรือคิดเป็นมูลค่าหนี้16 ล้านล้านบาท

 

หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเป็นการขยายความครอบคลุมผู้ให้กู้เพิ่ม 4 กลุ่ม ซึ่งเป็นหนี้เดิมที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่การก่อหนี้ใหม่ โดยเป็นการปรับข้อมูลย้อนหลังไปถึงไตรมาส 1/2555 ประกอบด้วย หนี้ของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 4.85 แสนล้านบาท หนี้สหกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่รวมสหกรณ์ออมทรัพย์ 2.65 แสนล้านบาท หนี้พิโกไฟแนนซ์ อีก 6 พันล้านบาท และ หนี้การเคหะแห่งชาติ 1.1 หมื่นล้านบาท

การวางแนวทาง หรือหลักเกณฑ์แก้หนี้จะประกาศภายในปลายเดือน ก.ค. 3 เกณฑ์หลัก 

1. Responsible Lending (RL) ที่กำหนดให้เจ้าหนี้ให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้-ระหว่างเป็นหนี้-หนี้มีปัญหา จนถึงการขายหนี้ โดยลูกหนี้ต้องได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ทันเวลา มีคุณภาพ และเพียงพอ มีแนวทางการดูแลลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง ให้เห็นทางปิดจบหนี้ได้

2. Risk-based pricing (RBP) ลูกหนี้จ่ายอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยง คือ ลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ ควรได้รับดอกเบี้ยที่ต่ำลง และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อในระบบสำหรับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง

3. Macroprudential Policy (MAPP) ให้เจ้าหนี้ให้สินเชื่อสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้

โดยมี “ไฮไลต์สำคัญ” ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกหนี้ยิ่งหนี้ที่เรื้อรังรื้อครั้งใหญ่ ด้วยการให้เจ้าหนี้ต้องปิดจบหนี้ของลูกหนี้ให้ได้ภายใน 4ปี หากไม่สามารถปิดหนี้ได้หมดภายในปีที่ 4 บังคับแบงก์ต้องลดดอกเบี้ยช่วยลูกหนี้ 8-12%

ประเด็นดังกล่าวทำให้มีการประเมินกลุ่มธนาคารและไฟแนนซ์ หากเคลียร์หนี้ไม่ได้ลูกหนี้เสี่ยงติดแบล็กลิสต์ตามมาตรการของธปท.ที่จะออกมาหลังจากนี้ช่วยหนุนเสถียรภาพให้กับกลุ่มสถาบันการเงิน แต่ระยะสั้นอาจถูกกระทบจากหนี้เสีย (NPL) และสำรองฯ ที่เพิ่มขึ้นได้

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส แนวโน้ม NPL ในอนาคตที่ธปท. ยอมรับว่า NPL มีโอกาสสูงขึ้นบ้าง จากกลุ่มเปราะบางที่รายได้น้อยหรือรายได้ยังไม่ฟื้นตัว แต่ทั้งนี้ ธปท. เชื่อว่าจะบริหารจัดการได้ อีกทั้งการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยจะทำให้ความสามารถการชำระหนี้ดีขึ้น

ดังนั้นหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ - ลิสซิ่งและบริหารหนี้เป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจในระยะยาวสำหรับภาพรวม โดยมี บมจ.เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส (JMT), บมจ.เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (JMART), บมจ.เงินติดล้อ (TIDLOR),บมจ.เมืองไทย แคปปิตอล (MTC),บมจ.ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น (SAWAD)

ขณะที่ราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าวปรับตัวลดลงจากปัจจัยกดดันต่อเนื่อง จากความกังวลเรื่องต้นทุนทางการเงินปรับตัวขึ้นหลังนโยบายดอกเบี้ยมีโอกาสขึ้นได้อีกในครึ่งปีหลัง การควบคุมเพดานดอกเบี้ยกดดันกำไรในกลุ่มไฟแนนซ์  และสถานการณ์หนี้เสียที่เพิ่มขึ้นแม้จะมีความต้องการสินเชื่อแต่ความเสี่ยงดังกล่าวทำให้การปล่อยสินเชื่อใหม่และการตามหนี้ต้องเข้มงวดมากขึ้น