STARK ปี 65 ขาดทุน 6.6 พันล้าน เพิ่ม11.04% เหตุตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิต

STARK ปี 65 ขาดทุน 6.6 พันล้าน เพิ่ม11.04% เหตุตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิต

สตาร์ค ปี 65 ขาดทุน 6.6 พันล้าน เพิ่มขึ้น 11.04% จากรายจ่ายและผลขาดทุนด้านเครดิต 3.47 พันล้าน เหตุต้นทุนวัตถุดิบเพิ่ม ตั้งสำรองด้อยค่าทรัพย์สิน เงินลงทุน ผลขาดทุนด้านเครดิตทั้งลูกค้า เงินให้กู้ยืม สินค้าสูญหาย รายได้รวม 2.57 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น  34.57%  ยันเร่งแก้ไขปัญหา

บริษัท สตาร์ค คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)  หรือ STARK แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า  ในปี 2565 กลุ่มบริษัทฯ มีรายได้จากการขายและการให้บริการจำนวน 25,213 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 6,158 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 32.31% จากปี 2564 และมีรายได้รวมจำนวน 25,725 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 6,609 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 34.57%  เปรียบเทียบกับปี 2564

โดยกลุ่มบริษัทฯ ประสบการขาดทุนสำหรับปี 2565 จำนวน 6,651 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 662 ล้านบาท หรือขาดทุนเพิ่มขึ้น 11.04% เมื่อเทียบกับปี 2564 ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายและผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 3,473 ล้านบาท

สาเหตุขาดทุนสุทธิสำหรับปี 2565 เป็นผลมาจากการดำเนินงาน การตั้งสำรองการด้อยคำของทรัพย์สินและเงินลงทุน ผลขาดทุนด้านเครดิตทั้งจากลูกค้าและเงินให้กู้ยืม

ระหว่างกัน รวมถึง การขาดทุนจากสินค้าสูญหาย อนึ่งผลขาดทุนสุทธิประจำปี 2564 ของกลุ่มบริษัทฯ จะแตกต่างจากผลกำไรสุทธิจากงบการเงินประจำปี 2564 ฉบับลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 เนื่องจากทางกลุ่มบริษัทต้องดำเนินการปรับปรุงรายการทางบัญชีเพื่อแก้ไขความผิดพลาดของการบันทึกบัญชีที่เกิดขึ้นในปี 2564 ที่ผ่านมา

STARK ปี 65 ขาดทุน 6.6 พันล้าน เพิ่มขึ้น 11%

ทั้งนี้ ในปี 2564 และ 2565 กลุ่มบริษัทฯ ประสบการขาดทุนจากการดำเนินงาน จำนวน 4,334 ล้านบาท และ 4,837ล้านบาทตามลำดับ

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขาดทุนมาจากการปรับตัวขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบหลักที่ราคาผันผวนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ดันทุนที่เพิ่มจากราคาซื้อวัตถุดิบที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่งเวลา ไม่สามารถถูกส่งผ่านไปสู่ลูกค้าได้ ทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อเป็นสินค้าคงคลัง ( made to stock)

ประกอบกับ บริษัทไม่ได้ทำสัญญาลดภาระความผันผวนของราคาวัตถุดิบ (hedging contrac) เพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาซื้อวัตถุดิบหลักที่ส่งผลกระทบต่อผลกำไรของแต่ละคำสั่งซื้อจากลูกค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งแตกต่างจากแนวปฏิบัติทั่วไปของธุรกิจผลิตสายไฟฟ้า

ดังนั้น เมื่อราคาวัตถุดิบหลักมีความผันผวนหรือปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลทำให้ไม่สามารถควบคุมต้นทุนของการซื้อวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนก่อให้เกิดผลขาดทุนจากการดำเนินการในที่สุด

ทางด้านสินทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 กลุ่มบริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมจำนวน 34,162 ล้านบาทคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 14% จากจำนวน 29.877 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 โดยการเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากสินทรัพย์หมุนเวียนที่เพิ่มสูงขึ้น จำนวน 5,396 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นจากเงินสดที่ได้รับมาจาการขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับบุคคลในวงจำกัด และลูกหนี้การค้า

ในส่วนหนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีหนี้สินรวมจำนวน 38,566 ล้นบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 17.8% จากจำนวน 32,722 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเจ้าหนี้การค้ที่ได้เป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น เจ้าหนี้ทรัสตรีชีทส์ และหุ้นกู้ที่ออกในปี 2565 ขณะที่เงินกู้ยืมธนาคารระยะยาวบางส่วนมียอดลดลงเนื่องจากมีการชำระคืนเมื่อถึงกำหนด

ขณะที่ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 กลุ่มบริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ จำนวน 4,403 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 54%  จากยอดติดลบจำนวน 2.844 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2564 ทั้งนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบของปี 2585 และ 2564 เป็นผลมาจากการขาดทุนจากการดำเนินงานและการปรับปรุงรายการข้อผิดพลาดในแต่ละปี

อย่างไรก็ดี สำหรับงบการเงินเฉพาะกิจการ ปี 2565 มีส่วนผู้ถือหุ้น จำนวน 2,492 ล้านบาท ลดลงจำนวน 9,554 ล้านบาท เปรียบเทียบกับส่วนผู้ถือหุ้น ในปี 2564 จำนวน 12.046 ล้านบาท เป็นผลมาจากการตั้งสำรองการด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัทย่อยและเงินให้กู้ยืมจำนวนมากในปี 2565

นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ กรรมการ บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) กล่าวว่า  กลุ่มบริษัทฯตระหนักถึงผลกระทบอย่างรุนแรงจากข้อมูลความจริงที่ถูกเปิดเผย และนำเสนอในงบการเงินนี้ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ถือหุ้นกู้ เจ้าหนี้ และผู้ถือหุ้นของกลุ่มบริษัทฯ

คณะกรรมการและ คณะผู้บริหารชุดใหม่ของกลุ่มบริษัทฯ กำลังเร่งดำเนินการร่วมกับเจ้าหนี้สถาบันการเงินอย่างเร่งด่วน เพื่อหาทางแก้ปัญหาให้ กลุ่มบริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องต่อไป รวมทั้งกำลังเร่งแก้ไขสาเหตุหลักของปัญหาที่ทำให้กลุ่มบริษัทฯประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก ทั้งการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน เพื่อป้องกันไมให้เกิดปัญหาช้ำขึ้นมาอีก