ส่งท้ายงบ TRUE ก่อนแปลง TRUEE ขาดทุนหนักแต่มูลค่าราคาหุ้นเพิ่ม

ส่งท้ายงบ TRUE ก่อนแปลง TRUEE  ขาดทุนหนักแต่มูลค่าราคาหุ้นเพิ่ม

งบผลประกอบการปี 2565 ของ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUEE ก่อนที่การควบรวมกิจการกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC จะแล้วเสร็จตามไทม์ไลน์ที่ระบุไตรมาส 1 ปี 2566 ทำให้กลายเป็นงบปีสุดท้ายสำหรับ TRUEE ปริยาย

        ถือว่ามีความน่าสนใจว่าด้วยฐานะการเงินและข้อมูลมูลค่าตลาดหุ้นจะตีมูลค่าหุ้น TRUEE ที่จะกลับมาซื้อขายใหม่วันที่ 3 มี.ค. 2566 ไว้ที่เท่าไร ด้วยปัจจัยด้านไหนบ้าง ถือว่ามีผลต่อราคาหุ้นในการกลับมาซื้อขายวันแรก

        จากการรวมกิจการมีการตั้งบริษัทใหม่ทำการแลกหุ้นไปยังบริษัทดังกล่าว  และกลายเป็นบริษัทที่จะมีการซื้อขายในตลาดหุ้นผ่าน TRUEE   ซึ่งการรวบกิจการกันย่อมมีการให้มูลค่าที่เพิ่มขึ้นมากกว่าลดลงอยู่แล้ว

         ยิ่งเป็นธุรกิจโอปอเรเตอร์ด้วยกันเองที่มีมูลค่าระดับ 6 แสนล้านบาท มีผู้แข่งขันหลัก 3 ราย เมื่อรวมกันเหลือ  2 รายแม้จะไม่สามารถเรียกได้เต็มปากว่า "ผูกขาด" แต่ทำให้การแข่งขันแทบลดฮวบทันที และเมื่อต้นทุนมหาศาลในส่วนนี้หายไปย่อมมองไปถึงฐานรายได้และกำไรที่เพิ่มสูงขึ้นไปด้วย

       งบสิ้นปี 2565 ของ TRUEE รายงานรายได้ 618,095  ล้านบาท  ลดลงเล็กน้อย 1.10 % จากปีก่อน จากแรงกดดันทางเศรษฐกิจซึ่งมีผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและการแข่งขันในตลาด มีต้นทุนด้านพลังงานและสาธารณูปโภคที่ปรับตัวขึ้น และค่าใช้จ่ายพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมกิจการ

        TRUEE ยังประสบขาดทุนสุทธิ  18,285.20 ล้านบาท   มีรายการพิเศษทั้งเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นในการขยายโครงข่ายและการให้บริการ   ค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย ภาษีและขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน   ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำประมาณ 8.5 พันล้านบาทในไตรมาส 4

        การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ประมาณ 5.5 พันล้านบาท ส่วนใหญ่จากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ที่มีความซ้ำซ้อนหรือคาดว่าจะไม่ได้ใช้ในบริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้น ภายหลังการควบรวมกิจการ  การด้อยค่าของค่าความนิยมจำนวน 2 พันล้านบาท และผลกระทบจากการประเมินมูลค่า ประจำปีของหน่วยลงทุน DIF ประมาณ 1 พันล้านบาท

       ขณะที่ขาดทุนสะสมของ TRUEE อยู่ที่ 98,387.19 ล้านบาท  แต่ทั้งนี้มีส่วนเกินมูลค่าหุ้นอยู่ที่  26,435 ล้านบาท  และหากคิดข้ามช็อตไปอีกโอกาสการนำสินทรัพย์ภายใต้เสาสัญญาณของ DTAC เป็นหนึ่งในทางออกขายเข้ากองทุนเพื่อรับกำไรเข้ามาได้อีกในอนาคต หลังจากที่ TRUE   ใช้วิธีการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนจนมีกำไรพิเศษเพื่อมาจ่ายปันผลได้

        บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เมย์แบงก์ (ประเทศไทย)  ประเมินรายได้ไตรมาส 4 ปี 2565 ยังอ่อนแอ หากไม่รวมรายการพิเศษผลขาดทุนหลักสุทธิ จะอยู่ที่ 4.6 พันล้านบาท (เทียบกับผลขาดทุนหลักที่ 1.3 พันล้านบาทในไตรมาส 4 ปี2564 และ 2.6 พันล้านบาทในไตรมาส 3 ปี2565

       รายได้จากธุรกิจมือถือในไตรมาส 4/65 ซึ่งคิดเป็น 66.6% ของรายได้จากบริการหลัก อยู่ที่ 1.97หมื่นล้านบาท (-1.0% YoY, -1.6% QoQ) ได้แรงหนุนจากสมาชิกที่เพิ่มขึ้นสุทธิ 247,000 รายและ ARPU โดยประมาณที่ 183 บาท/เดือน (-9.6% YoY, - 2.3% QoQ)

        เปรียบเทียบรายได้จากมือถือที่ลดลง QoQ แย่กว่า ADVANC (+1.4% QoQ) และ DTAC (-0.5% QoQ) ขณะที่รายได้จากธุรกิจ FBB ในไตรมาส 4/65 ซึ่งคิดเป็น 24.4% ของรายได้จากบริการหลัก อยู่ที่ 7.2 พันล้านบาท (-4.1% YoY, -0.9% QoQ) จากจานวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น 7 พันราย และ ARPUโดยประมาณที่ 449 บาท/เดือน (-11.5% YoY, -2.4% QoQ)
       แต่นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว รอลุ้น ประกาศ “แผนธุรกิจและแนวโน้ม synergy”  จากทีมผู้บริหารใหม่ประเด็น 1) การสร้างมูลค่า synergy ร่วมกันและ 2) การประหยัดต้นทุนค่าเสื่อมราคาจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์และการปรับอายุ useful life ของสินทรัพย์ใหม่

       ราคาเป้าหมายหลังการรวมกิจการที่ 9.23 บาท สำหรับ TRUE บริษัทใหม่ ทั้งนี้ มูลค่าตามราคาตลาดรวมกันของ TRUE เดิม (ปัจจุบันใช้ชื่อ TRUEE)และ DTAC ในวันซื้อขายวันสุดท้าย (17 ก.พ. 2566) จะสามารถนามาคานวณเราคาตลาดของ TRUE ใหม่ได้ที่ 8.51 บาท ซึ่งจะเริ่มซื้อขายในชื่อ TRUE ในวันที่ 3 มี.ค. 2566