FETCO หวั่นวิกฤติตลาดเกิดใหม่กลางปี66 ฉุดเงินไหลออกหุ้นไทย

FETCO หวั่นวิกฤติตลาดเกิดใหม่กลางปี66 ฉุดเงินไหลออกหุ้นไทย

"เฟทโก้" ชี้  "ตลาดหุ้นไทย"เป็นหลุมหลบภัย  สะท้อนจากฟันด์โฟลว์ไหลเข้าต่อเนื่อง  แต่กลางปีหน้า หวั่นเกิดวิกฤติตลาดเกิดใหม่ -ศก.โลกถดถอย ฉุดเงินไหลออก  แจง ประเทศไทยมีเวลา 6 เดือนเตรียมรับมือ เพื่อลดผลกระทบ

เม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (ฟันด์โฟลว์)ไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องและติดต่อกัน 14 วันทำการ มูลค่า 34,409.91 ล้านบาท ทำให้ตั้งปี ถึง ปัจจุบัน (9 พ.ย.2565) ซื้อสุทธิรวม 176,643.02 ล้านบาท 

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธาน สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO)  เปิดเผยว่า จากการได้คุยกับนักลงทุนต่างชาติถึงมุมมองการลงทุนในตลาดหุ้น พบว่า นักลงทุนต่างชติมองว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงหุ้นไทย เป็นหลุมหลบภัย(Safe Haven)ในช่วงตลาดการลงทุนผันผวน และมีความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า

FETCO หวั่นวิกฤติตลาดเกิดใหม่กลางปี66 ฉุดเงินไหลออกหุ้นไทย

โดยจุดเด่นของตลาดหุ้นไทย ตอนนี้อยู่ในสถานการณ์ที่ดี ทั้งเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวต่อเนื่อง จากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามากขึ้น ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นบวก ส่งผลดีเงินบาทชะลอการอ่อนค่า และมีเสถียรภาพมากขึ้น ประกอบกับเงินเฟ้อไทยยังต่ำ เงินเฟ้อฟื้นฐานยังอยู่ในช่วงใกล้ระดับ 3%ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป คาดปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง ปลายปีนี้ 0.25% และเดือนก.พ.ปีหน้าอีก 0.25% จากปัจจุบันที่ 1%

ทั้งนี้ฟันด์โฟลว์ที่ไหลเข้าช่วงนี้ ส่วนตัวมองว่าเป็นการไฟลเข้าระยะสั้นเพระปีหน้ายังมีปัจจัยความท้าทายและมีปัจจัยที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ โดยเป็นปีที่เศรษฐกิจจริงจะได้รับผลกระทบชัดเจนและน่าจะเกิดขึ้นในช่วงกลางปีหน้าหลังจากเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก ทั้งสหรัฐ อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี เข้าสู่ภาวะถอดถอย และเฟดยังขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อให้ลดลงตามเป้าหมายที่2% ไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องใช้เวลาอีก12 เดือน

รวมถึงปัจจัยที่สำคัญในช่วงต่อไป ยังมีวิกฤติของตลาดประเทศเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่รออยู่ในช่วงกลางปีหน้าเช่นกันคือปัญหาในเรื่องการกู้ยืมเงิน และการชำระหนี้ของประเทศ ทำให้ในหลายประเทศลดค่าเงิน ในขณะที่ภาระต้นทุนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ส่งออกชะลอตัว และเงินทุนสำรองระหว่างมประเทศลดลงเพื่อนำมาแก้ไขปญหา

นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า ประเทศไทย ยังมีระยะเวลาอีก 6 เดือนข้างหน้า ก่อนถึงกลางปีหน้าที่จะเตรียมตัวรับมือเพื่อให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และทำให้ฟันด์โฟลว์เป็นเงินไหลออกน้อยที่สุด อยู่ที่ว่าเราจะดูแลภาพรวมได้ดีแค่ไหนไม่ว่าจะเป็นเดินหน้าอัดงบประมาณส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้ไทยเป็นประเทศแรกในสายตานักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าเที่ยวหลักเปิดประเทศ โดยเฉพาะจีนกับอินเดีย หากนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาในปีหน้ามากกว่า 20 ล้านคน จะเป็นอัพไซด์ต่อเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดยิ่งดีขึ้น ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้นจากปัจจุบัน

นอกจากนี้ต้องดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เข้ามามากขึ้น และ ทยอยประกาศข่าวดีออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทย อยู่ในฐานะที่ไม่ใช่ประเทศที่จะล้มลงในวิกฤติประเทศเกิดใหม่ที่จะเกิดขึ้น ตามที่นักลงทุนต่างชาติกังวลในตอนนี้โดยเศรษฐกิจไทยปี 2566ยังมีความท้าทาย จากเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลก เข้าสู่ภาวะถดถอย บริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) ต้องเดินหน้าลดภาระค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้มีโอกาสประกาศลดพนักงาน เช่นเดียวกับในต่างประเทศ แน่นอนว่า สถาบันการเงิน ปัจจุบันทุนสำรองที่แข็งแกร่ง คงต้องเข้ามาช่วยดูแลสภาพคล่องและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้า เพื่อให้รองรับความผันผวนและสามารถผ่านจุดนี้ไปให้ได้

ส่วนแนวโน้มตลาดทุนไทย คาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยปลายปีนี้ อยู่ที่ 1,685 จุด และปีหน้าอาจเริ่มผันผวน เนื่องจากอาจเกิดวิกฤติในตลาด Emerging Markets ที่รออยู่ข้างหน้า ซึ่งเราต้องเตรียมตัวรองรับความผันผวนที่จะเกิดขึ้นให้ดีเพื่อจะไม่ได้รับผลกระทบเท่ากับคนอื่น