แบงก์ชาติ เปิดสถิติ คนไทย ‘ถอนเงินสด’ ลดลง 25%

แบงก์ชาติ เปิดสถิติ คนไทย ‘ถอนเงินสด’ ลดลง 25%

แกะพฤติกรรมการชำระเงินของคนไทยมุ่งสู่ “less cash society” พบ คนไทยถอนเงินสดลดลง 25% ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา หลังดิจิทัลเพย์เม้นท์เข้ามาแทนที่ พบการใช้ Internet & Mobile Banking มีปริมาณการใช้งานเติบโตสูงถึง 30%

จากผลสำรวจพฤติกรรมการชำระเงินของคนไทย ผ่าน “The Way We Pay 2023” ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พบว่า  ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พฤติกรรมการชำระเงินของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ประชาชนมีการเปลี่ยนจากใช้เงินสด เป็น digital payment มากขึ้น ส่งผลให้การชำระเงินผ่านดิจิทัลของไทยเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนำไปสู่ “less cash society” หรือ “สังคมที่ใช้เงินสดน้อยลง


แบงก์ชาติ เปิดสถิติ คนไทย ‘ถอนเงินสด’ ลดลง 25%

ส่งผลให้ “แนวโน้มการถอนเงินสดลดลง” สวนทางกับพฤติกรรมการถอนเงินไม่ใช้บัตรได้รับความนิยมสูงขึ้น แม้เงินสดยังคงเป็นสื่อการชำระเงินหลักของคนไทย ผู้บริโภคนิยมใช้จ่ายด้วยเงินสดในชีวิตประจำวัน

อย่างไรก็ตาม ด้วยพฤติกรรมการใช้ digital payment ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณ และมูลค่าการถอนเงินลดลง 12% และ 25% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา 

โดยปี 2566 การถอนเงินสด ลดลงเหลือ 24,834 พันล้านบาท หากเทียบกับช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ที่การถอนเงินสดสูงถึง 32,977 พันล้านบาท เช่นเดียวกับการทำรายการถอนเงินสด ที่พบว่าลดลงเห็นได้ชัด มาอยู่ที่ 2,118 ล้านรายการ ในปีที่ผ่านมา หากเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมา ที่อยู่สูงถึง 2,313 ล้านรายการ

การใช้เงินสดที่ลดลงนั้นก็เพราะ วันนี้พฤติกรรมคนเปลี่ยน หันไปใช้ช่องทางอื่นๆ ในการชำระเงินมากขึ้น  และยังพบคนไทย หันไปใช้ช่องทางอื่นในการถอนเงินมากขึ้น เช่น “การถอนเงินไม่ใช้บัตร” (mobile app)ที่พบว่าวันนี้เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า!!!

โดยหากดูพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทย ผ่าน ช่องทาง Internet & Mobile Banking ยังคงได้รับความนิยมสูงสุด!

แบงก์ชาติ เปิดสถิติ คนไทย ‘ถอนเงินสด’ ลดลง 25%

หากดูการเติบโตของ digital payment เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชำระเงินด้วย Internet & Mobile Banking ที่มีสัดส่วนปริมาณ และมูลค่าสูงถึง 96% และ 84% ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการชำระเงิน ของประชาชนที่มีความคุ้นชินในการใช้ digital payment ในชีวิตประจำวัน

ซึ่งหากดูการชำระเงินดิจิทัลของคนไทย พบว่า เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยพบว่าล่าสุด อยู่ที่ 538 ครั้งต่อปี หากเทียบกับ 3-4 ปีที่ผ่านมา ที่เฉลี่ยอยู่เพียง 135-312 ครั้งต่อปีเท่านั้น 

 

 

ไม่เพียงเท่านั้น พบว่า Internet & Mobile Banking มี “ปริมาณการใช้งานเติบโตสูงถึง 30%” ซึ่งยังเป็นช่องทางหลักที่ได้รับความนิยม และเติบโตสูงสุด โดยมี จำนวนบัญชีถึง 136.1 ล้านบัญชี ณ สิ้น ธ.ค.2566

ส่วนปริมาณการใช้งานมีสูงถึง 29.4 พันล้านรายการ คิดเป็น มูลค่า 105.3 พันล้านบาท การใช้ Mobile Banking ได้รับความนิยมสูง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของคนไทย ที่มีความคุ้นชินกับการใช้ digital payment ใน ชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น

แบงก์ชาติ เปิดสถิติ คนไทย ‘ถอนเงินสด’ ลดลง 25%

เช่นเดียวกัน กับการใช้ PromptPay ที่ประชาชนใช้พร้อมเพย์ในชีวิตประจำวัน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดย“PromptPay” เป็นบริการชำระเงินที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด ณ เดือนธันวาคม 2566 มีจำนวนผู้ ลงทะเบียน 77.2 ล้านหมายเลข โดยทั้งปี มีการโอนเงินเฉลี่ยต่อวัน 54.5 ล้านรายการ มูลค่า 129.9 พันล้านบาท โดยมีมูลค่าเฉลี่ยต่อรายการของธุรกรรมที่มีมูลค่าที่ต่ำกว่า 5,000 บาท ลดลงจากต้นปี 2566 ที่ 570 บาท มาเป็น 510 บาท ณ สิ้นปี 2566

สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนใช้พร้อมเพย์ในชีวิตประจำวัน และมีสถิติการใช้งาน ต่อวันสูงสุดที่ 75.9 ล้านรายการ

หรือในมุมของการ Card Payment ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น  โดยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (บัตรเดบิต และบัตรเครดิต) ถือเป็นอีกหนึ่ง ช่องทางการชำระเงินที่ประชาชน มีความคุ้นชิน ถึงแม้ว่าการใช้บัตรชำระผ่านช่องทาง offline (ผ่านเครื่อง EDC) ยังคงมีสัดส่วนสูง

แบงก์ชาติ เปิดสถิติ คนไทย ‘ถอนเงินสด’ ลดลง 25%

ในปัจจุบัน การใช้บัตรชำระเงินผ่านช่องทาง online ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี สัดส่วนเกือบ 30% ของปริมาณธุรกรรมในปี 2566 โดยเฉพาะการใช้จ่ายในหมวดร้านค้า การเดินทาง และร้านอาหาร ได้รับความนิยมสูงสุด ช่องทาง e-Money ก็เป็นอีกช่องทาง ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ สำหรับชำระค่าสินค้า และบริการ และโอนเงิน

แบงก์ชาติ เปิดสถิติ คนไทย ‘ถอนเงินสด’ ลดลง 25% โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 มีจำนวนบัญชี e-Money 116.5 ล้านบัญชี มีปริมาณธุรกรรมใน ปี 2566 สูงถึง 3,065.6 ล้านรายการมูลค่า 713.4 พันล้านบาท

เมื่อพิจารณาแยกตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน พบว่า การชำระค่าสินค้าและบริการ และการโอนเงินได้รับความนิยมสูงสุด สัดส่วนปริมาณ ธุรกรรมการชำระค่าสินค้า และบริการ มีสัดส่วน ถึง 59% และมูลค่าการใช้งานที่ 49% ตามลำดับ

แต่กระนั้น แม้พฤติกรรมคนไทยจะมุ่งไปสู่ “ดิจิทัล” ชัดเจนขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การใช้ “เงินสด” ของคนไทยยังอยู่ระดับสูง หากเทียบกับหลายประเทศ โดยปัจจุบัน ประเทศไทยมีสัดส่วนการใช้เงินสดสูงถึง  66% ขณะที่โปแลนด์ ใช้เงินสดอยู่ที่ 46% เกาหลี 22% อเมริกา 18% แคนาดา 22% สหราชอาณาจักร 15% สวิตเซอร์แลนด์ 36% และออสเตรเลีย 27% 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์