ความเจ็บปวดของ Goldman Sachs ในปี 66 คือเชื่อว่าครึ่งปีหลัง ศก.จีนจะพยุงศก.โลก

ความเจ็บปวดของ Goldman Sachs ในปี 66 คือเชื่อว่าครึ่งปีหลัง ศก.จีนจะพยุงศก.โลก

“คามัคชยา ตรีเวดี” นักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซกส์ เผย หนึ่งสิ่งที่เป็นความเจ็บปวดของกลุ่มนักวิเคราะห์จากโกลด์แมน แซกส์-กลุ่มธนาคารของวอลล์สตรีทคือความเชื่อที่ว่าครึ่งปีหลังของปี 2566 เศรษฐกิจจีนจะพยุงเศรษฐกิจโลก และหุ้นจีนจะปรับตัวสูงขึ้นถึง 15% เพราะความเป็นจริงนั้นไปในทิศทางตรงกันข้าม

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานถ้อยแถลงของหัวหน้าฝ่ายสกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน และกลยุทธ์ตลาดเกิดใหม่ของ Goldman Sachs Group Inc. วันนี้ (26 ธ.ค.) ว่า เขาได้เรียนรู้บทเรียนหลักสองประการจากหนึ่งในเหตุการณ์ที่แย่ที่สุด (และเกิดขึ้นถี่ที่สุด) ในปี 2023  นั้นคือการเดิมพันในการกลับมาเปิดประเทศของจีนหลังการระบาดของโควิด-19

ทั้งนี้ เมื่อต้นปี โกลด์แมนเป็นหนึ่งธนาคารวอลล์สตรีทที่หวังว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนหลังการปิดประเทศจะเข้ามาช่วยเศรษฐกิจทั่วโลก

โดยคิงเกอร์ เลา (Kinger Lau) และนักกลยุทธ์ท่านอื่นก็คาดการณ์ว่าตลาดหุ้นจีนจะพุ่งสูงขึ้นถึง15% ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวจากการบริโภคที่เริ่มเพิ่มขึ้นหลังการแพร่ระบาด

แต่ในความเป็นจริง เวลาผ่านมาจนอีก 5 วันจะหมดปี 2023 แล้วหุ้นจีนร่วงลงมากกว่า 15% ในขณะที่ตลาดเกิดใหม่หลายแห่งกลับเพอร์ฟอร์มได้ดี

"บทเรียนแรกคือคุณต้องการปฏิบัติต่อ EM และ EM ex-China แตกต่างกัน" คามัคชยา ตรีเวดี (Kamakshya Trivedi) นักวิเคราะห์จากโกลด์แมน กล่าวในการให้สัมภาษณ์

 "สินทรัพย์ของจีนค่อนข้างไม่สัมพันธ์กับสินทรัพย์ EM อื่น ๆ มาระยะหนึ่งแล้ว: นั่นเป็นความจริงในด้านทุนและด้านตราสารหนี้ด้วย"

ในขณะที่ เขากล่าวว่าเสริมว่า บทเรียนที่สองเป็นเรื่องเกี่ยวกับความยืดหยุ่นของตลาดเกิดใหม่ในวงกว้างแม้จะเผชิญกับ "วัฏจักรขาขึ้นเชิงรุกโดยเฟด ดอลลาร์ที่แข็งค่า และเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว นั่นเป็นการผสมผสานที่แย่มากของสถานการณ์สําหรับสินทรัพย์ EM และถึงอย่างนั้นสินทรัพย์ในประเทศ EM ก็เพอร์ฟอร์มได้อย่างยืดหยุ่น" 

ในความเป็นจริง ถ้าไม่นำหุ้นจีนมาคำนวณ จะพบว่าหุ้นตลาดเกิดใหม่ปรับตัวสูงขึ้น 16% ในปีนี้เทียบกับเพียง 4.4% สําหรับดัชนีตลาดเกิดใหม่ MSCI ที่รวมหุ้นจีนด้วย 

"จากมุมมองของตลาดเกิดใหม่ความผิดหวังที่ใหญ่ที่สุดคือการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องที่เราเห็นในประเทศจีนแม้จะมีการประเมินมูลค่าราคาถูกแต่มันลากสินทรัพย์ EM ตลอดทั้งปีให้ร่วงลงไป" ตรีเวดีกล่าว

ทั้งนี้ บทวิเคราะห์ของโกลด์แมน ระบุว่า เหตุผลหลักสําหรับความยืดหยุ่นที่เห็นในตลาดประเทศกําลังพัฒนาคือการดําเนินนโยบาย (Policy Action) ตรีเวดีกล่าว โดยธนาคารกลางตลาดเกิดใหม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เนิ่นๆ แบบเชิงรุกเพื่อจัดการกับภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มขยายตัวจากช่วงโควิด-19 ซึ่งแตกต่างกับสหรัฐอย่างมาก

อ้างอิง

Bloomberg