ธปท.เตรียมออกมาตรการ 'แก้หนี้ครัวเรือน'ศุกร์นี้ ช่วยลูกหนี้หลุดวงจรหนี้

ธปท.เตรียมออกมาตรการ 'แก้หนี้ครัวเรือน'ศุกร์นี้ ช่วยลูกหนี้หลุดวงจรหนี้

ธปท.เตรียมออกมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ศุกร์นี้ หวังแก้หนี้ครัวเรือนทั้งระบบ คาดมาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ คาดมีผลบังคับใช้ม.ค.ปีหน้า ขณะที่มาตรการแก้หนี้เรื้อรังคาดมีผลเม.ย.ปีหน้า

     นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)  กล่าวว่า หากดูคุณภาพหนี้ในอนาคต แม้ ทิศทางหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล จะขยับเพิ่มขึ้นบ้างในระยะข้างหน้า แต่เชื่อจะไม่เห็น NPL Cliff หรือหน้าผาเอ็นพีแอน  เนื่องจากปัจจุบันยังมีมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน เช่นการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว ที่ช่วยประคองลูกหนี้ ไม่ให้ไหลไปเป็นหนี้เสียอย่างรวดเร็ว 
        อีกทั้ง หากดูสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือ SM มองว่าโอกาสไหลเป็นไปหนี้เสียไม่ได้มากนัก โดยจากาการดูสถิติที่ผ่านมา พบว่า โอกาสที่ หนี้กลุ่ม SM จะกลายเป็นหนี้เสีย เช่น สินเชื่อรถเพียง 12%  ขณะที่สินเชื่อบ้าน 22% เครดิตการ์ด 57% และสินเชื่อส่วนบุคคล 54% แต่ในทางกลับกัน พบว่ากลุ่ม SM มีโอกาสกลับมาเป็นหนี้ดีได้มากขึ้น เช่น กลุ่มสินเชื่อบ้าน ที่มีโอกาสกลับมาเป็นหนี้ดีราว 30%  

         แต่อย่างไรก็ตาม แม้ธปท.มองว่า โอกาสเกิด NPL Cliff อาจไม่เห็น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ธปท.ชะล่าใจ เพราะหนี้ครัวเรือนไทยปัจจุบันอยู่ระดับสูงต่อเนื่อง เกินระดับ 90% เกินระดับความยั่งยืนที่กำหนดเพียง 80% ดังนั้นมีความจำเป็นที่ธปท. ต้องแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง
       โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนเร็วๆนี้ โดยเฉพาะการป้องกันหนี้ใหม่ และการเพิ่มหนี้ในระบบ ผ่านการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ และเป็นธรรม (Responsible Lending) ที่กำหนดให้แบกง์ปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดรับชอบ ไม่สนับสนุน หรือกระตุ้นให้คนเป็นหนี้เกินไป โดยเกณฑ์นี้จะมีผลบังคับใช้ ม.ค.ปี 2567 

    ธปท.เตรียมออกมาตรการ \'แก้หนี้ครัวเรือน\'ศุกร์นี้ ช่วยลูกหนี้หลุดวงจรหนี้     โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกมาตรการแก้หนี้ครัวเรือนเร็วๆนี้ โดยเฉพาะการป้องกันหนี้ใหม่ และการเพิ่มหนี้ในระบบ ผ่านการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ และเป็นธรรม (Responsible Lending) ที่กำหนดให้แบงก์ปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดรับชอบ ไม่สนับสนุน หรือกระตุ้นให้คนเป็นหนี้เกินไป โดยเกณฑ์นี้จะมีผลบังคับใช้ ม.ค.ปี 2567 
     นอกจากนี้ ยังมีมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง สำหรับลูกหนี้ที่ไม่สามารถปิดจบหนี้ได้ และยังอยู่ในวงจรหนี้เดิม และปัจจุบันจ่ายดอกเบี้ย มากว่าเงินต้น โดยให้แบงก์เข้ามาช่วยเหลือผ่านการลดดอกเบี้ยให้เหลือน้อยกว่า 15% และกำหนดกลุ่มที่ต้องช่วยเหลือ เช่นการกำหนดรายได้ ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์

        โดยมาตรการนี้คาดจะบังคับใช้ เม.ย.ปี2567 ซึ่งเหล่านี้มองว่า จะนำไปสู่การช่วยลดหนี้ครัวเรือนในระยะข้างหน้าได้