ย้อนรอยบริษัทการเงิน… ที่เคยเจอวิกฤตครั้งใหญ่ | บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

ย้อนรอยบริษัทการเงิน… ที่เคยเจอวิกฤตครั้งใหญ่ | บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

สัปดาห์นี้ ข่าวใหญ่เกี่ยวกับแบงก์เครดิต สวิส ที่ส่งผลต่อหุ้นร่วงลงมากว่า 10% รวมถึงค่าพรีเมียมของ Credit Default Swap หรือ CDS เพิ่มสูงขึ้นเป็นกว่าร้อยละ 5

ทำให้คิดถึงแบงก์หรือกองทุนใหญ่ๆของโลกในอดีตที่เคยประสบกับเหตุการณ์ใหญ่ๆ บทความนี้ จะขอรวบรวมเหตุการณ์สำคัญๆเกี่ยวกับสถาบันการเงินเหล่านี้

เริ่มจาก วิกฤต US Saving & Loan (S&L) หรือ Thrift ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ ที่ปล่อยกู้สินเชื่อบ้านให้กับสมาชิก โดยในปี 1980 มี Thrift จำนวนเกือบ 4 พันแห่งในอเมริกา

มีสินทรัพย์รวมมูลค่า 6 ร้อยล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นสินเชื่อบ้านมูลค่า 4.8 ร้อยล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าสินเชื่อบ้านรวมในอเมริกา ณ เวลานั้น

ย้อนรอยบริษัทการเงิน… ที่เคยเจอวิกฤตครั้งใหญ่ | บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดวิกฤต US Saving & Loan มาจากความไม่สมดุลกันระหว่างอัตราดอกเบี้ยของเงินฝากระยะสั้นที่ถูกกำหนดโดยหน่วยงานของทางการที่กำกับ S&L ซึ่งมักจะมีระดับที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านที่ลูกค้าของ S&L  ต้องจ่าย

นอกจากนี้ ความไม่สมดุลยังรวมถึงอายุของเงินฝากจะเป็นระยะสั้น ในขณะที่อายุของสินเชื่อบ้านจะเป็นระยะยาว ซึ่งทำให้เกิดความไม่สมดุลที่เรียกว่า Maturity Mismatch

ในระหว่างปี 1983-1987 ชื่อเสียงของ S&L ในสายตาประชาชนถือว่าน่าสนใจน้อยกว่าธนาคารพาณิชย์ จึงทำให้ S&L ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจูงใจให้คนมาฝากเงิน ในขณะที่ในฝั่งสินเชื่อ ต้องพยายามหาสินเชื่อในธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อที่จะได้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้น

ย้อนรอยบริษัทการเงิน… ที่เคยเจอวิกฤตครั้งใหญ่ | บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

อย่างไรก็ดี โมเดลธุรกิจไม่สามารถยั่งยืนอยู่ได้นาน เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อในธุรกิจที่เสี่ยงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้อัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวมสูงขึ้นเรื่อยๆ

ทำให้ S&L มีผลประกอบการขาดทุนอย่างมาก  จนกระทั่งทางการสหรัฐทำการปิดกิจการ S&L ทั้งหมดจนเสร็จสิ้นในปี 1995 โดยต้องใช้เงินภาษีของประชาชนในการจัดการปัญหาดังกล่าวในระดับร้อยล้านดอลลาร์

สำหรับบทเรียนจากวิกฤต S&L สาเหตุหลักมาจากปัญหา Maturity Mismatch แหล่งเงินทุนและการนำใช้เงิน ที่ใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวและอัตราดอกเบี้ยคงที่ตามลำดับ

และ Moral Hazard หรือแรงจูงใจของผู้บริหาร S&L ที่กล้าปล่อยกู้กับธุรกิจที่เสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากหากสำเร็จตนเองจะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ในขณะที่หากไม่สำเร็จ ผู้รับความเสียหายคือภาษีของประชาชน

มาถึงวิกฤตถัดไป คือ  วิกฤตตราสารหนี้ Municipal Bond ปี 1994 ในเมืองออร์เรนจ์ เคาท์ตี้ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา หลังจากที่เฟดเริ่มขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก 0.75% ในเดือนกุมภาพันธ์ 1994 และขึ้นอีก 5 ครั้งในเวลาต่อมา

ย้อนรอยบริษัทการเงิน… ที่เคยเจอวิกฤตครั้งใหญ่ | บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

ได้เกิดวิกฤตตราสารหนี้รัฐบาลท้องถิ่นเมืองออร์เรนจ์ เคาท์ตี้ ในเดือนธันวาคม 1994 สร้างความเสียหายให้กับทั้งข้าราชการ ครู และประชาชนในเมืองดังกล่าว มูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์

ซึ่งถือเป็นมูลค่าความเสียหายใหญ่ที่สุดของมูลค่าการลงทุนในระดับรัฐบาลท้องถิ่น และนำไปสู่การล้มละลายของเทศบาลเมืองออร์เรนจ์ เคาท์ตี้ ในเวลาต่อมา

วิกฤตนี้ เกิดจากพนักงานผู้บริหารจัดการเงินทุนพอร์ตโฟลิโอซึ่งมีมูลค่าการลงทุนรวม 7.5 พันล้านดอลลาร์ของเมืองนี้ ที่รวบรวมมาจากเงินออมของโรงเรียน องค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆในเมืองดังกล่าว

นำเงินไปลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูงมาก โดยมีเสียงชื่นชมว่าเขาจัดการพอร์ตโฟลิโอได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาด

โดยแท้จริงแล้ว การบริหารจัดการพอร์ตโฟลิโอของกองทุนออร์เรนจ์ เคาท์ตี้ ใช้การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน (Derivative) และการกู้เงินมาลงทุนเพิ่ม (Leverage) ซึ่งกองทุนนี้ทำไว้จนมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 3 เท่าของเม็ดเงินลงทุนเดิม

เพื่อเพิ่มจำนวนเท่าของผลตอบแทนที่จะได้รับ โดยที่ทำการเก็งกำไรว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะอยู่ในระดับต่ำต่อไป เพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนเพิ่มเติม ซึ่งเมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในปี 1994

ย้อนรอยบริษัทการเงิน… ที่เคยเจอวิกฤตครั้งใหญ่ | บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

กองทุนออร์เรนจ์ เคาท์ตี้ จึงประสบผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน และการกู้เงินมาลงทุนเพิ่ม โดยขาดทุนไปทั้งสิ้น 1.6 พันล้านดอลลาร์ จากมูลค่าการลงทุนรวม 7.5 พันล้านดอลลาร์

แล้วก็มาถึง Long Term Capital Management (LTCM) ในปี 1998 เป็นเฮดจ์ฟันด์ที่มีผู้ได้รับรางวัลโนเบลเศรษฐศาสตร์  2 ท่าน ร่วมทีมอยู่ด้วย โดย LTCM สามารถทำอัตราผลตอบแทนร้อยละ 20 ในปี 1994 ร้อยละ 43 ในปี 1995 ร้อยละ 46 ในปี 1996 และร้อยละ 17 ในปี 1997

โดยในปี 1998 เหตุการณ์ที่รัฐบาลรัสเซียเบี้ยวหนี้ต่างประเทศ ส่งผลให้ LTCM คาดการณ์ผิดพลาดที่อัตราผลตอบแทนของพอร์ตโฟลิโอจะลู่เข้าหากันซึ่งถือว่าผิดทาง ด้วยแนวทางธุรกิจของ LTCM ที่คืนเงินทุนให้กับผู้ลงทุนโดยตลอด ทำให้อัตราส่วนหนี้ต่อทุนของ LTCM อยู่ในระดับสูงมาก ส่งผลให้ LTCM ถึงขั้นล้มละลาย

ผู้บริหาร LTCM ได้แจ้งกับผู้ว่าการเฟด สาขารัฐนิวยอร์ค ในยุคนั้น ว่าให้ช่วยหานักลงทุนที่สนใจในธุรกิจของ LTCM มาซื้อต่อกิจการ ซึ่งก่อนจะมาเป็นกลุ่มสถาบันการเงิน 14 แห่งที่มาซื้อกิจการต่อด้วยมูลค่า 3.6 พันล้านดอลลาร์นั้น

ก่อนหน้านั้น วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยขอติดต่อซื้อกิจการ LTCM ทว่าติดข้อกฎหมายบางประการทำให้ดีลไม่สำเร็จ

จนกระทั่งมาถึงช่วงก่อนวิกฤตซับไพร์มเล็กน้อย ในเดือนมีนาคม ปี 2008 ที่มีบริษัทการเงินสหรัฐที่มีชื่อเสียงนามว่า Bear Stearns ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับความชื่นชมจากสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก

ย้อนรอยบริษัทการเงิน… ที่เคยเจอวิกฤตครั้งใหญ่ | บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ

โดยที่กองทุนซับไพร์มของบริษัทขนาดใหญ่ 2 กอง ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตตราสารซับไพร์ม ซึ่งถือเป็นธุรกิจหลักของบริษัทในขณะนั้น จนกระทั่ง Bear Stearns ต้องขายกิจการให้กับ JP Morgan ในเวลาต่อมา ถือเป็นการปิดฉากบริษัทที่มีอายุยาวนานกว่า 80 ปี

กรณีของเครดิต สวิส ที่เป็นข่าวดังในช่วงนี้ คาดว่าน่าจะเป็นในส่วนของเงินกองทุนที่ต้องมีการเพิ่มเติมเข้ามา เพื่อเสริมความแข็งแกร่งงบการเงินของแบงก์ ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้จะค่อยๆ กระจ่างขึ้นเป็นลำดับในอนาคตอันใกล้.