KBank Private Banking รุกการลงทุนอย่างยั่งยืน ปีหน้าออกกองทุน 5 หมื่นล้านบาท

KBank Private Banking รุกการลงทุนอย่างยั่งยืน ปีหน้าออกกองทุน 5 หมื่นล้านบาท

KBank Private Banking ชู 'ลงทุนยั่งยืน’ คือ ทางรอด...ไม่ใช่ทางเลือก ย้ำแบงก์ - เคแบงก์ไพรเวทแบงกิ้ง ทั้งหน้าที่ และกำลังในการช่วยขับเคลื่อนกระแสความยั่งยืน พร้อมหนุนลงทุน ESG ปีหน้าจ่อเปิดระดมทุนกองใหม่รวมเฉียด 5 หมื่นล้านบาท

     “ความยั่งยืน” ถือเป็น “ทางรอด”ไม่ใช่ “เลือก” แต่วันนี้คนไทยตระหนัก ด้าน “ความยั่งยืน” น้อยมาก และคิดว่าความยั่งยืนคือ “ทางเลือก” ยังไม่ทำตอนนี้ ยังไกลตัว และส่วนใหญ่ทำเพราะแบรนดิ้ง ดังนั้นเรื่องนี้น่าห่วงมาก” 

       “จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์”  Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า  การลงทุนอย่างยั่งยืน มาเร็วกว่าที่เราคิด เป็นเรื่องเกี่ยวกับแบงก์ และไพรเวทแบงกิ้ง 2 มิติด้วยกัน มิติแรก คือ เรามี “หน้าที่”  มิติที่สอง เรามี “กำลัง” 

      โดยมิติแรก เรามีหน้าที่ ช่วยโลก เปลี่ยนไปสู่ความยั่งยืน ผ่านการวางนโยบายการปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจในอนาคต เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

        KBank Private Banking รุกการลงทุนอย่างยั่งยืน ปีหน้าออกกองทุน 5 หมื่นล้านบาท มิติที่สอง เรามีหน้าที่ ในฐานะที่ปรึกษา การลงทุน  ซึ่งหน้าที่สำคัญคือ การสร้างผลตอบแทน และปกป้องพอร์ตลงทุนของนักลงทุน สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นหากลงทุนในบริษัทที่อนาคตจะถูกแบน จากผู้บริโภค จากผู้กำกับ บริษัทเหล่านี้ไม่มีทางดีได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องแสวงหาผู้ชนะ ที่ปรับเปลี่ยนตัวเอง และไม่ถูกแบนจากกฎกติกาโลก ในด้านความยั่งยืน

KBank Private Banking รุกการลงทุนอย่างยั่งยืน ปีหน้าออกกองทุน 5 หมื่นล้านบาท      สอดคล้องกับการจัดตะกร้าการลงทุนของ Lombard Odier ที่วันนี้มีการจัดพอร์ตการลงทุนเพื่อตระหนักด้าน ESG มากขึ้น  สิ่งที่

      Lombard ทำคือ ยอมให้ตัวเลือกน้อยลง เพราะเชื่อว่า บริษัทที่เหลือจะไม่ถูกแบนจากนักลงทุน ที่เหลือจะอยู่รอด และเป็น Winer ที่จะสร้างผลตอบแทนที่สูงในระยะยาว 

     ดังนั้น พอร์ตการลงทุน จะมุ่งไปสู่ความยั่งยืนบนกรอบแนวคิด ESG จะมุ่งไปสู่  3 ธีมหลัก เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Cilmate Transition )

       ธีมแรก   Solution Providers ธุรกิจที่ช่วยแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ธีมที่สอง Transition Condidates กลุ่มที่ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และธีมสุดท้ายคือ Adaptation Opportunities ธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงจากภูมิอากาศ

       สุดท้ายแล้ว เคแบงก์ไพรเวทแบงกิ้งมีเป้าหมายต้องการให้พอร์ตการลงทุนในกองทุนมีเรื่องของความยั่งยืน และ ESG เป็น 100% ในระยะข้างหน้า จากวันนี้ที่เชื่อว่า เข้าไปลงทุนในบริษัทที่ตระหนัก และมี ESG แล้ว 70-80%

      และระยะข้างหน้า เคแบงก์ไพรเวทแบงกิ้ง จะมีการปัดฝุ่นกองทุน “K-Climate Transition” ซึ่งเป็นกองทุนที่ออกมาแล้วตั้งแต่ปี 2563 แต่จะมีการใส่ในเรื่องของ ESG เพิ่มเติม รวมถึงภายในไตรมาสที่ 1-2/2566 จะมีการออกกองทุน “PLASTIC CIRCULARITY”

      โดยได้มีการพูดคุยกับผู้จัดการกองทุนอีก 2-3 รายในการออกกองทุนเรื่อง “Sustainable CHINA” ซึ่งเป็นโอกาสในการลงทุนที่สอดคล้องกับนโยบายประเทศของ “สี จิ้น ผิง” ที่จะเน้นเรื่อง “Robotic AI-EV- Sustainable และพลังงานสะอาด”

     โดยรวมเม็ดเงินระดมทุนระยะข้างหน้า ภายใต้ความยั่งยืน ESG อยู่ที่ราว 3-5 หมื่นล้านบาท เพราะมองว่าการลงทุนจะเป็นกุญแจดอกสำคัญ ที่จะเปิดประตูสู่ทางออกสำหรับวิกฤติที่จะเข้ามาถึงในอนาคตได้

    อีกหนึ่งบริษัท ที่มุ่งผลักดันเรื่อง Net Zero อย่างจริงจัง อย่าง “บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC

     ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนองค์กร กล่าวว่า ด้วยบทบาทของผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับสากล บริษัท สานต่อการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ มุ่งสู่ เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593

    โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจเดิม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

   ขณะเดียวกัน ได้ปรับโครงสร้างของธุรกิจ ด้วยการลงทุนในธุรกิจใหม่ ซึ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิต ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่

     ทั้งนี้ PTTGC คาดว่าจะใช้เงินลงทุนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 5 พันล้านดอลลาร์ และ 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำเพื่อการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์