สรรพสามิตศึกษาเก็บภาษี5สินค้าปล่อยคาร์บอน

สรรพสามิตศึกษาเก็บภาษี5สินค้าปล่อยคาร์บอน

สรรพสามิตศึกษาเก็บภาษี5สินค้าปล่อยคาร์บอน ชี้เป็นแนวจัดเก็บทิศทางเดียวกับประเทศอื่นทั่วโลก หากไม่จัดเก็บจะกระทบต่อการส่งออกสินค้า ระบุ 2 แนวทางหลัก คือ เก็บจากตัวสินค้าที่ปล่อยคาร์บอน หรือ เก็บจากกระบวนการผลิต

นายเอกนิติ​ นิติทัณฑ์ประภาศ​ อธิบดีกรมสรรพสามิตเปิดเผยว่า กรมฯกำลังศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีการปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือcarbon tax ซึ่งเป็นเรื่องที่​ประเทศไทยหลีกเลี่ยงใม่ใด้​ ที่จะต้องจัดเก็บเนื่องจาก ปัจจุบันหลายประเทศในโลกเริ่มจัดเก็บภาษีตัวนี้แล้ว เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

“กลุ่มประเทศอียูเป็นประเทศแรกๅในโลกที่จะเริ่มจักเก็บ​ carbon tax ในปีหน้า โดยเริ่มจาการสินค้าที่มีผลต่อการปล่อยคาร์บอนสูง​ 5​ ชนิด​ คือ​ ปูนซีเมนต์ เหล็ก​ อลูมิเนียม​ ปุ๋ยเคมี​ และการผลิตกระแสไฟฟ้า”

เขากล่าวว่า​ เมื่อหลายประเทศในโลกเริ่มเก็บภาษีตัวนี้​แล้ว จะทำให้กระทบต่อการส่งออกสินค้ากรณีที่สินค้าในประเทศใทยไม่มีการจัดเก็บภาษีตัวนี้​ เมื่อเราส่งสินค้าใปขายในประเทศที่มีภาษีตัวนี้​ สินค้าใทยก็ต้องเสียภาษีตัวนี้ด้วย​ แต่หากเรามีการจัดเก็บภาษีตัวนี้​ ก็อาจสามารถเจรจากับประเทศที่เราส่งออกสินค้าเพื่อขอยกเว้นภาษีตัวนี้และสามารถส่งออกสินค้าได้

 

สำหรับแนวทางการจัดเก็บภาษีนั้น ตามหลักสากลจะมีวิธีการเก็บภาษีคาร์บอนอยู่ 2 แนวทางคือ​ การเก็บภาษีบนตัวสินค้าที่ปล่อยคาร์บอน กล่าวคือ ถ้าสินค้าใดปล่อยคาร์บอนสูงก็เสียภาษีสูง​ เป็นต้น​ กับอีกแนวทางหนึ่ง​ คือ การเก็บภาษีบนกระบวนการผลิตของโรงงาน​ ซึ่งต้องคำนวณการปล่อยคาร์บอนของโรงงานนั้นว่าปล่อยออกมาเท่าใหร่​เพื่อใช้เป็นฐานในการจัดเก็บภาษีตัวนี้​ ซึ่งการจัดเก็บภาษีบนกระบวนการผลิต​  เป็นเรื่องยากและกรมฯยังไม่มีความรู้​ จึงจำเป็นต้องร่วมมือกับองค์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ช่วยคำนวณให้

 

“การริเริ่มที่จัดเก็บภาษีคาร์บอนนั้น​ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทิศทางของกรมสรรพสามิต​ ที่ต้องการเป็นกรมที่ส่งเสริมให้เกิด​ ESG​โดยใช้มาตรการภาษีเป็นเครื่องมือในการสนับสนุน”

 

เขากล่าวอีกว่าในปัจจุบันมี 4 เทรนด์ที่ท้าทายต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อการดำเนินงานของกรมสรรพสามิต ได้แก่ 1. การฟื้นตัวจากโควิด-19 ท่ามกลางสงครามการค้าและราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีที่ส่งผลให้เกิด          การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของภาคธุรกิจและผู้บริโภค 3. สังคมผู้สูงอายุส่งผลให้ธุรกิจด้านสุขภาพมีการเติบโตมากขึ้นและ 4. ภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกทำให้ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้มาตรการทางภาษีเป็นตัวขับเคลื่อน

 

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า บทบาทของกรมสรรพสามิตนอกจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมาตรฐานและผลักดันในเรื่องดังกล่าวโดยใช้มาตรการภาษีสรรพสามิต ทั้งในด้านการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้เติบโต หรือในขณะเดียวกันก็สามารถใช้มาตรการภาษีในการช่วยลดการบริโภคในสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย