ความสำคัญของ Metadata บนบล็อกเชน

หน้าที่หลักของบล็อกเชน คือ การตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม และทำการจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมบนเครือข่ายกระจายศูนย์ เช่น ระบบบิตคอยน์หรือ Ethereum เป็นต้น แต่นอกเหนือจากข้อมูลธุรกรรมแล้วผู้ใช้งานยังสามารถเพิ่ม Metadata บนระบบบล็อกเชนได้อีกด้วย

Metadata คือข้อมูลที่ใช้อธิบายชุดข้อมูลโดยในบริบทของบล็อกเชน หมายถึงข้อมูลอื่นๆที่นอกเหนือจากข้อมูลการโอนย้ายของสินทรัพย์ดิจิทัลและสามารถเพิ่มคุณสมบัติหรือฟังก์ชันต่างๆให้แก่ธุรกรรมบนบล็อกเชนได้ โดย Metadata บนบล็อกเชนมีอยู่2ประเภทหลักๆคือ “On-chain Metadata” ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้บนบล็อกเชนโดยตรงและถือเป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรม 

โดยผู้ใช้งานบนระบบบล็อกเชนทุกคนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ได้อย่างอิสระเช่นข้อมูลป้ายกำกับรายการ (Transaction labels)หรือ Address ของผู้รับและผู้ส่งเป็นต้นประโยชน์ของการเก็บ Metadata แบบ On-chain คือความถาวรของข้อมูลที่อยู่บนบล็อกเชนอยู่เหนือนอกการควบคุมของตัวกลางหรือแพลตฟอร์มใดๆและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงของ Smart contract

ในทางกลับกัน “Off-chain Metadata” เป็นข้อมูลที่ไม่ได้จัดเก็บอยู่บนบล็อกเชนและถูกอ้างอิงไปยังเนื้อหาที่ถูกจัดเก็บไว้บนระบบอื่น เช่น ไฟล์หรือ URLของเว็บไซต์ที่ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกรรมนั้นๆที่สำคัญ Off-chain Metadata เป็นเครื่องมือที่ผู้ใช้งานสามารถใช้เพื่อลดปริมาณข้อมูลที่จะถูกบันทึกไว้บนบล็อกเชนได้

ปัจจุบันมีการใช้ Metadata บนระบบบล็อกเชนในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่นในธุรกิจการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain management) สามารถพัฒนาวิธีการตรวจสอบ (Traceability) และเพิ่มความโปร่งใส (Transparency) ผ่านการนำข้อมูลที่เกี่ยวโยงกับการผลิตผลิตภัณฑ์การขนส่งและข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องบันทึกไว้ในรูปแบบ Metadata บนบล็อกเชน

ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของวัสดุกระบวนการการขนส่งและการตรวจสอบคุณภาพ Metadata บนบล็อกเชนจะช่วยจัดการปัญหาต่างๆที่เกี่ยวโยงกับการฉ้อโกงหรือการเรียกคืนการรับประกันผลิตภัณฑ์รวมถึงการรับรองว่าเป็นของแท้ (Authenticity) และที่สำคัญลูกค้าจะสามารถใช้ Metadata ในการเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าและช่วยในการตัดสินใจ

Metadata ยังมีความเกี่ยวโยงกับการทำงานของสัญญาอัจฉริยะ (Smart contract) บนบล็อกเชนเนื่องจากสัญญาอัจฉริยะเป็นสิ่งที่กำหนดการทำงานของ Metadata โดยคำสั่งจะดำเนินการด้วยตนเองเมื่อเงื่อนไขที่ถูกวางไว้เกิดขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น สัญญาอัจฉริยะด้านการประกันภัยสามารถใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในรูปแบบ Metadata เพื่อดำเนินการจ่ายเงินสำหรับผู้ถือกรมธรรม์ที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยได้ทันทีหรือในอุตสาหกรรมการเงินข้อตกลงเงินกู้คุณสมบัติและอัตราดอกเบี้ยจะถูกคำนวณโดยอัตโนมัติตามอันดับความหน้าเชื่อถือ (Credit rating) และประวัติการทำธุรกรรมที่เก็บรักษาไว้เป็น Metadata และช่วยให้ขั้นตอนการให้กู้ยืมเงินเป็นอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สินทรัพย์ดิจิทัลโดยเฉพาะ NFT ใช้ข้อมูล Metadata บนบล็อกเชนเพื่อมอบความหมายและมูลค่าให้แก่สินทรัพย์เช่นข้อมูลเกี่ยวกับผู้สร้างผลงานประวัติการซื้อขายและการเป็นเจ้าของจนกระทั่งลักษณะของ NF Tการติดตามแหล่งที่มาการรับรองความถูกต้องทางศิลปะและการสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApps) ต่างล้วนได้รับประโยชน์อย่างมากจากการทำงานของ Metadata

นอกจากนี้ ธุรกิจบริการสุขภาพยังมีการใช้ Metadata บนบล็อกเชนเพื่อจัดการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างปลอดภัยและรับประกันความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลประวัติทางการแพทย์แบบฟอร์มยินยอมของผู้ป่วยและบันทึกการเข้าถึงข้อมูลสามารถจัดเก็บไว้ใน Metadata ได้ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลด้านสุขภาพนอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกในการสื่อสารและส่งต่อข้อมูลระหว่างระบบต่างๆและช่วยให้ผู้เผชิญเหตุฉุกเฉินสามารถรับข้อมูลทางการแพทย์ที่สำคัญได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

แม้ว่า Metadata จะช่วยเพิ่มความสามารถและฟังก์ชันต่างๆให้แก่ธุรกรรมบนเครือข่ายบล็อกเชนผู้ใช้งานควรคำนึงถึงความสามารถในการขยายเครือข่ายของระบบต่างๆและทรัพยากรที่จำเป็นในการเก็บข้อมูลไว้บนเครือข่ายนั้นๆเนื่องจากการบันทึกข้อมูลที่มีขนาดใหญ่เกินอาจส่งผลกระทบในทางลบแก่เครือข่าย