ขุด‘บิตคอยน์’ด้วยไฟฟ้าพลังงานน้ำ เหมืองยั่งยืนสีเขียว ตอบโจทย์ Net Zero

ขุด‘บิตคอยน์’ด้วยไฟฟ้าพลังงานน้ำ เหมืองยั่งยืนสีเขียว ตอบโจทย์ Net Zero

เมื่อคนให้ความสำคัญกับความ“ยั่งยืน”มากขึ้น เหมืองขุดบิตคอยน์ถูกตั้งคำถามว่า ธุรกิจนี้สร้างมลพิษให้กับโลก ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามหาศาล หากลองเปรียบเทียบการขุดบิตคอยน์นั้นใช้พลังงานถึง 110 เทราวัตต์ชั่วโมง/ปี เทียบเท่าการใช้พลังงานของประเทศเล็ก ๆ เลยทีเดียว

ในปัจจุบัน เหมืองขุดบิตคอยน์ Bitcoin หลายแห่งใช้แหล่งพลังงานจาก ลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังน้ำ ซึ่งล้วนแต่เป็นแหล่งพลังงานที่ถูกกว่าก๊าซและถ่านหิน นอกจากนี้ Cambridge Center for Alternative Finance เผยว่าประมาณ 76% ของนักขุดเลือกใช้แหล่งพลังงานที่ยั่งยืนอยู่แล้ว

เว็บไซต์ Batcoinz เผยรายงานว่า "ไฟฟ้าพลังน้ำ" เข้ามามีสัดส่วนหลักในอุตสาหกรรมทำ "เหมืองขุดบิตคอยน์" ซึ่งก่อนหน้านี้ Cambridge Centre for Alternative Finance ตั้งสมมติฐานว่าแหล่งพลังงานหลักที่เหล่าเหมืองขุดบิตคอยน์เลือกใช้ คือ "ถ่านหิน"

ขุด‘บิตคอยน์’ด้วยไฟฟ้าพลังงานน้ำ เหมืองยั่งยืนสีเขียว ตอบโจทย์ Net Zero

ปัจจุบันมีบริษัทในต่างประเทศหลายแห่งที่ทำ "เหมืองยั่งยืน" เช่น OceanFalls, Blockfusion, Hut8, Iris, Sato, Terawulf, Statar/Lake Parime, Gridshare และ HPG ที่มีการขับเคลื่อนด้วยพลังน้ำ 100% หรือใช้พลังน้ำเป็นส่วนใหญ่

พลังงานจากน้ำเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เก่าแก่ที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพลังงานที่มีความสม่ำเสมออย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากน้ำตกที่ไหลตลอดเวลาสามารถให้พลังงานที่คงที่ได้

พลังน้ำไม่ว่าจะมาจากแม่น้ำที่ไหลผ่าน หรือผ่านเขื่อนและกังหัน ล้วนมีค่าใช้จ่ายที่ถูกมากที่ 85 เซนต์ต่อกิโลวัตต์/ชั่วโมง และมากกว่า 90% ของพลังงานสามารถเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าได้

ข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของการทำเหมืองขุดบิตคอยน์ของจีน ก่อนที่จะมีการปราบปรามทั่วประเทศก็คือ พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าพลังน้ำจำนวนมหาศาลที่มีอยู่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมณฑลเสฉวน ซึ่งในฤดูฝน ไฟฟ้า 95% มาจากพลังน้ำ

ทั้งนี้ Batcoinz อธิบายว่า บิตคอยน์เป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างสมบูรณ์ โดยไม่มีการปล่อยมลพิษโดยตรง การปล่อยมลพิษเกิดขึ้นจากการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นจากเชื้อเพลิงฟอสซิล  ดังนั้นแหล่งพลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจแตกต่างกันไปตามการการเลือกใช้ที่มาของแหล่งพลังงานในการขุด

การทำแบบจำลองแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบที่ยั่งยืนของเครือข่ายบิตคอยน์ เพิ่มขึ้นที่ 6.2% ต่อปี หากการเติบโตด้านพลังงานที่ยั่งยืนยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น สิ่งนี้น่าจะทำให้เปอร์เซ็นต์ของการใช้ถ่านหิน ก๊าซ และแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ ซึ่งเป็นการสร้างมลพิษลดลง

คีร์กีซสถาน ทุ่มเงินสร้างเหมืองขุดบิตคอยน์ มุ่งใช้ประโยชน์สูงสุดจากไฟฟ้าพลังงานน้ำ

ล่าสุด “ประเทศคีร์กีซสถาน” ตั้งใจที่จะสร้างโรงงานใหม่สำหรับการขุด ‘’คริปโท" ที่สถานีไฟฟ้าพลังน้ำแห่งหนึ่งของประเทศ โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อลดการสูญเสียไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตเต็มจำนวน แต่ปัจจุบันสายส่งไฝฝ้าไม่สามารถรับได้ทั้งหมดของการผลิต ทำให้ไฟฟ้าบางส่วนต้องถูกทิ้งไปอย่างไร้ประโยชน์

ซาดีร์ จาปารอฟ (Sadyr Japarov) ประธานาธิบดีของคีร์กีซสถานกล่าวว่า เมื่อต้นเดือนสิงหาคมได้มีการอนุมัติการก่อสร้างเหมืองขุดคริปโทพลังงานน้ำ  ณ ที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Kambar-Ata (HPP) ของประเทศด้วยกำลังการผลิตที่วางแผนไว้สูงถึง 30 เมกะวัตต์ โดยมีการทุ่มเงินทุนสำหรับการก่อสร้างโปรเจกต์นี้ราว 20 ล้านดดอลาร์

โดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำ Kambar-Ata เปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี 2553 สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 120 เมกะวัตต์ แต่ปัจจุบันผู้บริโภคสามารถใช้งานได้เพียง 90 เมกะวัตต์ เนื่องจากการถ่ายโอนถูกจำกัดโดยความจุของการส่งกระแสไฟฟ้า

ผลที่ตามมาคือในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา ประเทศในเอเชียกลางต้องสูญเสียไฟฟ้าไป 6.816 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง มูลค่าประมาณ 3.275 พันล้านดอลลาร์คีร์กีซสถาน (มากกว่า 37 ล้านดอลลาร์)ซึ่งเมื่อเหมืองขุดบิตคอยน์เริ่มทำงานจะสามารถกำจัดการสูญเสียเหล่านี้ได้

ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากจากไฟฟ้าพลังงานน้ำในประเทศซึ่งมีปริมาณมหาศาลของประเทศ และการที่หลายประเทศที่ส่งเสริมการขุดบิตคอยน์หรือคริปโทด้วยไฟฟ้าพลังงานสะอาด อาจส่งเสริมนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน และตอบโจทย์เป้าหมาย Net Zero หรือเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อีกด้วย

อ้างอิง hydroreview bitcoin.com