‘บิทาซซ่า’ชี้ตลาดคริปโทไทยเด่น ปักหลักสร้างฐานธุรกิจ

‘บิทาซซ่า’ชี้ตลาดคริปโทไทยเด่น  ปักหลักสร้างฐานธุรกิจ

ในปี 2565 ตลาด“คริปโทเคอร์เรนซี่” จะเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหลายครั้งทั้งเอ็กซ์เชนจ์ใหญ่ในต่างประเทศล้มละลายอย่าง FTX สู่โดมิโนเอฟเฟกต์ทั้งวงการรวมทั้งประเทศไทยด้วยช่วนกัน ทำให้ความเชื่อมั้นในอุตสาหกรรมคริปโทหายไป

ทำให้นักลงทุนต่างวิตกกังวลกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดและตั้งคำถามว่าตลาดคริปโทจะเติบโตอย่างไร

กวิน พงษ์พันธ์เดชา ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทาซซ่า จำกัด หรือ “Bitazza” เผยกับทางกรุงเทพธุรกิจถึง มุมมองอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยจะเติบโตมหาศาล และเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นจุดแข็งของประเทศสู่ศูนย์กลางตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ “คริปโทฮับ”ของภูมิภาคนี้ และมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถแข่งขันกับฮ่องกงและสิงคโปร์ได้เลย ทำให้บิทาซ่าเลือกสร้างโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยเพื่อรอตลาดขาขึ้นในอนาคต

สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด19 ในประเทศไทยกระตุ้นการพัฒนาและการใช้งาน “Cashless Society” และ“Mobile Banking”ที่เป็นธุรกิจ “ดิจิทัล” ที่ได้รับการยอมรับและผู้ใช้บริการเริ่มมีความคุ้นเคย ทำให้อุตสาหกรรม “คริปโท” ที่เป็นหนึ่งใน“Digital Business” เติบโตได้ไวจากโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง 

และ Chainalysis แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลความเคลื่อนไหวบนบล็อกเชน ได้เผยแพร่รายงานดัชนีชี้วัดความนิยมในการใช้งานคริปโทฯทั่วโลกประจำปี 2022 ที่สะท้อนว่า ประเทศไทยมี Adoption หรือการรับรู้และเข้าถึงตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอันดับที่ 8 ซึ่งอยู่ในระดับสูง และมองว่าประเทศไทย outperform กว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้

 “มองว่าประเทศไทยoutperform กว่าประเทศอื่นๆ ทำให้บิทาซซ่าตั้งใจอยู่ในตลาดนี้ ส่วนตัวมีความหวังในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลประเทศไทยที่สามารถไปต่อได้ และถือเป็น 1 ในประเทศผู้นำ จากอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์ จากทั้งรัฐบาลสนับสนุน การให้ความสนใจจากทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ และ“ผู้ใช้บริการ” ที่ถือเป็นส่วนสำคัญที่สุด”

กวิน ยอมรับว่าปริมาณการซื้อขายตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลของนักลงทุนรายย่อยปรับตัวลงไปค่อนข้างมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา แต่บริการธุรกรรมแบบ Over the Counter (OTC) สำหรับกลุ่มลูกค้าสถาบันยังมีวอลุ่มที่แข็งแกร่งและเติบโตเพิ่มขึ้น นั้นแสดงให้เห็นว่านักลงทุนรายใหญ่ไม่ได้มองสถานการณ์ปัจจุบันในตลาดเป็นวิกฤติและออกจากตลาด แต่ยังเห็นโอกาสที่ยังสามารถอยู่ในโลกคริปโทต่อไปได้

แผนธุรกิจที่สำคัญของบิทาซซ่าท่ามกลางตลาดคริปโท“ขาลง” ยังสามารถ “พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส” คือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภายใต้นโยบาย “รักษาผลประโยชน์ของลูกค้าอย่างปลอดภัย” 

ส่งผลให้ในปีนี้ บิทาซซ่าสามารถขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มจากการมียอดผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันกว่า 1.5 ล้านครั้ง และมีจำนวนแอคเคาท์เพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว จากจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางปริมาณการซื้ขายที่ลดลง ทำให้มีรายได้เข้ามาทดแทนส่วนที่หายไป

“บริษัทตั้งใจเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่มีความแข็งแรงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาด พร้อมกับความสามารถรักษาสินทรัพย์ลูกค้า ขยายฐานลูกค้า ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ และปีนี้บริษัทเตรียมเสริมความแข็งแกร่งด้วยการขยายทีมงานเพิ่มขึ้นแตะ 200 คน ในทุกด้าน ทั้งด้านเทคโนโลยีและการรักษาความปลอดภัยให้กับบริษัท เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในอนาคต”

และเชื่อว่าในอนาคตคริปโทจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต และไม่ควรเป็นเพียงสินทรัพย์สำหรับการซื้อขายเก็งกำไร ซึ่งควรนำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาผลิตภันณ์ทางการเงิน 

จึงเป็นที่มาของ “Freedom Card”  ที่เปรียบสเหมือนกระเป๋าเงินในโลก web3.0 หนึ่งในโปรดักซ์ของบิทาซซ่า ร่วมมือกันกับ บริษัท ทีทูพีจำกัด และวีซ่า ผู้ให้บริการเครือข่ายในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า ซึ่งสามารถรองรับไลฟ์สไตล์ในกลุ่มสินค้าและบริการต่างๆ ช่วยสร้างโอกาสให้กับธุรกิจต่างๆเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ จากโลกคริปโทสู่การใช้งานในโลกของความเป็นจริง ที่เป็นการสร้างพฤติกรรมการใช้งานคริปโทแบบใหม่ที่มากกว่าการเก็งกำไร

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานด้วยกลยุทธ์ต่างๆต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดของ​สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเข้มงวดและเป็นประเทศแรกๆที่ทำให้คริปโทถูกกฏหมาย ซึ่งการที่บริษัทสามารถเติบโตภายใต้กรอบดังกล่าวได้ ทำให้การเข้าไปร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับธุรกิจต่างๆในต่างประเทศที่ต้องทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศนั้นๆได้รับความไว้วางใจมากขึ้น

ถือเป็นเรื่องที่ดีในการมีกรอบการกำกับดูแล เพื่อไม่ให้นักลงทุนถูกหลอกลวง แต่ถ้ามากเกินไปธุรกิจก็จะเติบโตได้ช้า แต่ถ้าน้อยเกินไปจะเกิดความเสี่ยง ธุรกิจในอุตสาหกรรมเองจึงมีหน้าที่ถ่วงดุลให้เกิดความเหมาะสม