วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ตัวเลขภาคบริการ US CH และเงินเฟ้อ EU

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ตัวเลขภาคบริการ US CH และเงินเฟ้อ EU

ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways แนวต้าน 1,384/1,392 จุด (EMA 50/75 วัน) แนวรับอยู่ที่ 1,374/1,365 จุด ภาพใหญ่ของ ดัชนีฯ ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ Down Channel 1,330-1,396 จุด

ส่วนภาพระยะสั้น อยู่ระหว่างเลือกข้างว่าจะเป็น Uptrend เพื่อขึ้นไปทดสอบแนวต้านของกรอบที่ 1,395 จุด และ 1,405/1,416 จุดตามลำดับ  หรือจะเลือกเป็น Downtrend ลงมา ทดสอบแนวรับของกรอบ โดยมีแนวรับย่อยที่ 1,365/1,356 จุด ตามลำดับ ทั้งนี้สัญญาณยืนยันขาขึ้น (หรือขาลง) คือ ทะลุ 1,396 จุด (หรือร่วงต่ำกว่า 1,350 จุด)

ประเด็น Event สำคัญ วันนี้ 

US สุนทรพจน์ประธานเฟด Powell ที่ Stanford และสุนทรพจน์ Fed Atlanta Goolsbee (Non-Voter) จับตาสัญญาณดอกเบี้ย หลังตัวเลขภาคการผลิตเดือน มี.ค. ของสหรัฐฯ (ISM) ออกมาอยู่ในสภาวะขยายตัวครั้งแรกรอบ 16 เดือน

OPEC Plus Meeting คาดคงการผลิตน้ำมันที่ระดับเดิม เป็น Positive Sentiment ต่อราคาน้ำมันดิบโลก

EU Margrethe Vestager พูดในสภายุโรปเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย Digital Market Act

TH สภาฯ ประชุมญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล แบบไม่ลงมติ (เริ่มวันแรก จากกำหนด 2 วัน) คาดส่งผลกระทบเชิงลบต่อการดิสเครดิตรัฐบาล

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ตัวเลขภาคบริการ US CH และเงินเฟ้อ EU

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ตัวเลขภาคบริการ US CH และเงินเฟ้อ EU

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ:

US รายงานภาคบริการเดือน มี.ค. ส่งสัญญาณ Mix: สถาบัน ISM คาดภาคบริการเดือน มี.ค. ทรงตัวที่ 52.6 (Vs เดือน ก.พ. 52.6) แต่ ตรงข้ามกับสถาบัน S&P Global ที่คาดว่าปรับลดลงเป็น 51.7 (Vs เดือน ก.พ. 52.3) อย่างไรก็ดี สัญญาณที่ยังคงขยายตัว (>50) ถือว่าเป็น โมเมนตัมบวกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ

China: Caixin คาดรายงานภาคบริการเดือน มี.ค. ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ 52.7 (Vs เดือน ก.พ. 52.5) ส่วน Caixin Composite PMI เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นเป็น 52.7 (Vs เดือน ก.พ. 52.5) สะท้อนเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว อย่างไรก็ดี เราคงมุมมองว่าทางการจีนจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม อาทิ การปรับลดดอกเบี้ย ฯลฯ เพื่อช่วยสนับสนุนการเติบโตปีนี้ให้ได้ตามเป้าหมาย 5%

 

EU รายงานเงินเฟ้อเดือน มี.ค.: เบื้องต้นหากเทียบรายเดือน Inflation ปรับสูงขึ้นเป็น +0.9% (Vs เดือน ก.พ. +0.6% MoM) แต่หากเทียบแบบ YoY พบว่าทรงตัวที่ 2.6% YoY (Vs เดือน ก.พ. 2.6% YoY) ส่วน Core Inflation Rate เดือน มี.ค. คาดลดลงเป็น 3.0% YoY (Vs เดือน ก.พ. 3.1% YoY) เพิ่มโอกาสที่ ECB มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยลงปีนี้ โดยตลาดคาดว่าจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่เดือน มิ.ย. และปรับลดประมาณ 3-4 ครั้ง ในปีนี้

US รายงานจ้างงาน ADP Employment Change เดือน มี.ค.: Consensus คาดจ้างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย +148k (Vs เดือน ก.พ. +140k) สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดย Fed Atlanta คาด 1Q24E GDP Growth +2.8% QoQ

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นข่าวเชิงบวกจากรายงานผลประกอบการ 1Q24E ได้แก่ ITC BGRIM KBANK

 

Strategic daily picks

ITC    ปิด 20.60 บาท/แนวรับ 19.80 บาท แนวต้าน 21.20 บาท

ทิศทางผลการดำเนินงาน 1Q24 จะออกมาค่อนข้างดี เมื่อเทียบ YoY เนื่องจากปริมาณการขายสูงขึ้นในช่วง 2M24 ตามคำสั่งซื้อที่ฟื้นตัวขึ้นมา สอดคล้องกับภาคส่งออก (อาหารสัตว์เลี้ยง) ที่มีการขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ ITC ตั้งเป้าหมายยอดขายเติบโต 15% ในปี 2024 และอัตรากำไรขั้นต้นในกรอบ 21-22% ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิใน 1Q24 ที่ 722.4 ล้านบาท (+69.92% YoY) และมูลค่าเหมาะสม 23.86 บาท

BGRIM   ปิด 27.25 บาท/แนวรับ 25.75 บาท แนวต้าน 29.25 บาท

KTX คาดตลาดมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มกำไรของ BGRIM มากขึ้น จากต้นทุนก๊าซฯ ที่ลดลง และเป็นเกราะกันต่อ IU margin รวมทั้งการเติบโตของกำลังผลิตไฟฟ้า-สัดส่วนโรงไฟฟ้า RE ที่ทำให้เราปรับประมาณการกำไรขึ้น และ 12M FV ขึ้นเป็น 35 บาท (จากเดิม 33 บาท) โดย Valuation Metrics บ่งชี้มุมมองเชิงบวกต่อมูลค่าประเมินปัจจุบัน และการเติบโตระยะยาว (คาด 2024-26E EPS โตเฉลี่ย 26% CAGR) ขณะเดียวกันคงคำแนะนำ “Outperform” และมูลค่าเหมาะสมที่ 35.00 บาท

KBANK  ปิด 122.50 บาท/แนวรับ 118.50 บาท แนวต้าน 126.00 บาท

ปี 2024 ตั้งเป้าสินเชื่อโต 3-5%, สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ต่ำกว่า 3.25% และส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ทรงตัวในระดับ 3.66% พร้อมตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ Net Zero ไว้ที่ 1-2 แสนล้านบาท ภายในปี 2030 (จากปัจจุบันปล่อยสินเชื่อแล้ว 7.3 หมื่นล้านบาท) ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิใน 1Q24 ที่ 1.14 หมื่นล้านบาท (+6.26% YoY) และมูลค่าเหมาะสม 141.09 บาท

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ตัวเลขภาคบริการ US CH และเงินเฟ้อ EU วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ตัวเลขภาคบริการ US CH และเงินเฟ้อ EU