เวสต์เทกซัส 81.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 85.95 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 81.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 85.95 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (21 มี.ค. 67) ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงที่ระดับ 5.25% - 5.50% ต่อไป

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา 

- ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25% - 5.50% จากการประชุมเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 67 อย่างไรก็ตาม เฟดพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด 3 ครั้งในปี 2567 โดยจะปรับลดครั้งละ 0.25% รวมเป็น 0.75% หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง ซึ่งนักวิเคราะห์จาก Lipow Oil Associates ให้ความเห็นว่า การตัดสินใจของเฟดเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ 

-/+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สหรัฐฯ ส่งออกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 1.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 4.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่โรงกลั่นสหรัฐฯ ยังคงผลิตเพิ่มขึ้นหลังจากมีการปิดซ่อมบำรุง ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 15 มี.ค. 67 ปรับลดลง 2 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 445 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 13,000 บาร์เรล 

-/+ นักลงทุนมีแรงเทขายทำกำไร หลังราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมากจากความกังวลอุปทานน้ำมันตึงตัวจากความไม่สงบในตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงหนุนจากสถานการณ์ในบริเวณดังกล่าวที่ทวีความรุนแรงขึ้น หลังกองกำลังยูเครนเดินหน้าโจมตีโรงกลั่นน้ำมัน 7 แห่งของรัสเซียในช่วงที่ผ่านมา
 

 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังการส่งออกน้ำมันเบนซินของจีนในเดือน ก.พ. 67 ปรับลดลง 13.1% นอกจากนี้ สต็อกน้ำมันเบนซินของซาอุดีอาระเบียในเดือน ม.ค. 67 ปรับลดลง 3.7% จากเดือนก่อนหน้า


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ หลัง            สต็อกน้ำมันดีเซลของสิงคโปร์ในเดือน มี.ค. 67 ปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เกาหลีใต้มีแนวโน้มส่งออกน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า 
 

เวสต์เทกซัส 81.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 85.95 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล