เวสต์เทกซัส 72.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 77.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 72.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 77.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (18 ม.ค. 67) ราคาน้ำมันดิบผันผวน หลังอากาศหนาวจัดกระทบการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ ท่ามกลางความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีน

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (18 ม.ค. 67) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมัน

+/- ราคาน้ำมันดิบ ผันผวน จากอุปทานที่ตึงตัวขึ้นหลังได้รับแรงหนุนจากสภาพอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาฟาเรนไฮต์ในรัฐนอร์ท ดาโคตา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันขนาดใหญ่อันดับต้นของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อกำลังการผลิตน้ำมันปรับลดลง 650,000 ถึง 700,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งมากกว่า 50% ของกำลังการผลิตในสภาวะปกติ
 
- ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันจากสภาพเศรษฐกิจจีนที่ยังคงชะลอตัว หลังสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวเพียง 5.2% ในไตรมาส 4/66 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 5.3% ทำให้จีนต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในรูปแบบต่างๆ และสร้างความกังวลให้กับตลาดเกี่ยวกับการฟื้นตัวของอุปสงค์ด้านพลังงานของจีนในปีนี้

- หลังตลาดปิด สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานสหรัฐ (API) เผยตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐประจำสัปดาห์ สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ม.ค. 67 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.8 แสนบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 2.4 ล้านบาร์เรล
 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังมีการประกาศตัวเลขการนำเข้าน้ำมันเบนซินของออสเตรเลียในเดือนพ.ย. 66 ปรับลดลง 6.5% จากเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึงอุปสงค์ที่อ่อนตัวก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน อย่างไรก็ตาม ได้รับแรงหนุนจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันเบนซินของอินโดนีเซียในเดือนม.ค. 67 ที่ปรับเพิ่มขึ้น


ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในภูมิภาคหดตัว แม้ว่าอุปทานในอินโดนีเซียมีแนวโน้มปรับลดลงจากการปิดซ่อมบำรุงตามแผนของโรงกลั่นภายในประเทศในช่วงก.พ. ถึงมี.ค. 67 ก็ตาม

เวสต์เทกซัส 72.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 77.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล