เวสต์เทกซัส 70.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 75.89 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

เวสต์เทกซัส 70.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 75.89 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (3 ม.ค. 67) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังตลาดลดความกังวลจากสถานการณ์ตึงเครียดในทะเลแดง

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (3 ม.ค. 67) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมัน

- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส และ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ปรับลด หลังตลาดคาดอุปทานน้ำมันดิบจะไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์บริเวณทะเลแดง ซึ่งมีความตึงเครียดมากขึ้น ภายหลังอิหร่านส่งเรือพิฆาตอัลบอร์ซเข้ามาในพื้นที่ขัดแย้งดังกล่าว เพื่อตอบโต้ที่กองทัพเรือสหรัฐฯ โจมตีเรือของกลุ่มกบฏฮูตี

- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. 66 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 47.9 ซึ่งถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 66 ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตของจีน เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 49.0 ตัวเลขซึ่งต่ำกว่า 50 แสดงถึงกิจกรรมในภาคอุตสาหกกรรมที่ซบเซาลง และคาดว่าจะส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและปริมาณการใช้น้ำมันของโลก

+ Reuters poll คาดราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในปี 2567 จะอยู่ที่ระดับ 82.56 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สูงกว่าปีก่อนหน้าที่ระดับ 82.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์จะเป็นปัจจัยที่หนุนราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงในเขตเศรษฐกิจหลักของโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันให้มีการเจริญเติบโตในอัตราที่ลดลง

 

เวสต์เทกซัส 70.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 75.89 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากการประกาศโควต้าการส่งออกรอบใหม่ของจีน อย่างไรก็ตาม ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการนำเข้าของอินโดนีเซียที่เพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. 66

 

ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นจากอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการประกาศตัวเลขการส่งออกรอบใหม่ของจีนในปี 2567
 

เวสต์เทกซัส 70.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล เบรนท์ 75.89 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล