วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง แรงขายต่างชาติคาดชะลอตัว จากเทศกาลหยุดยาวคริสต์มาส

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง แรงขายต่างชาติคาดชะลอตัว จากเทศกาลหยุดยาวคริสต์มาส

ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Up แนวต้าน 1,415/1,423 จุด แนวรับ 1,398/1,393 จุด (EMA 25 วัน) โดยดัชนีฯ อยู่ในช่วงของการแรลลี่ Sideways Up หลังจากดัชนีฯ พุ่งขึ้นแรงจาก 1,354.73 จุด เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. โดยมีแนวต้านสำหรับการทดสอบอยู่ที่ 1,415/1,423 จุด

ในทางตรงกันข้าม ดัชนีฯ จะเปลี่ยนเป็นสัญญาณอ่อนตัว หากดัชนีฯ หลุดแนวรับ 1,395 จุด

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง แรงขายต่างชาติคาดชะลอตัว จากเทศกาลหยุดยาวคริสต์มาส

ประเด็น Event สำคัญ วันนี้ 

+ Holiday: แรงหนุนจาก Foreign Fund Flows คาดชะลอลง เนื่องจากตลาดหุ้นโลกส่วนใหญ่ ฝั่งสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชียบางประเทศ (เกาหลีใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย) ออสเตรเลีย ปิดทำการวันนี้ เนื่องในเทศกาลคริสต์มาส 25 ธ.ค. ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรปจะปิดต่อเนื่องจนถึงวันที่ 26 ธ.ค. (Boxing Day) คาดส่งผลกระทบเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย ในฐานะที่นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิรายใหญ่ในตลาดหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมา

มุมมองต่อ SET Index: ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของไทยที่สะท้อนเข้ามาใน Yield curve ของตลาดพันธบัตรที่เคลื่อนไหวอยู่ในภาวะ Bull flattening อย่างต่อเนื่อง (Long bond yield ปรับลดลงแรงกว่า Short bond yield) โดยส่วนต่างระหว่าง TH 10Y–2Y Bond yield ปรับลดลงต่อเนื่องจากจุดสูงสุดของ 4Q23 ที่ 0.78% ลงมาเหลือ 0.38% KTX จึงแนะนำการลงทุนตลาดหุ้นไทยในภาวะดังกล่าว ต้องเรียก Market risk premium สูงกว่าระดับปกติ โดยแนะนำ “ซื้อ” เมื่อ MRP อยู่สูงกว่าระดับ 2 S.D. ของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 90 วัน (อิง MRP ที่ 4.33% ณ SET Index 1385 จุด) แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยการฟื้นตัวของดัชนี SET (+3.3% จากระดับต่ำสุดของเดือน ธ.ค. ที่ 1,358 จุด) ขึ้นมาที่ 1,405 จุด ทำให้ MRP ปรับตัวลดลงมาที่ 4.24% ต่ำกว่าระดับ 2 S.D. ของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 90 วัน เราจึงปรับคำแนะนำลงจาก “ซื้อ” เป็น “เก็งกำไร” ในกรอบ 1,385-1,508 จุด โดยแนะนำ ซื้อเก็งกำไร หากดัชนีต่ำกว่า 1,447 จุด (อิง MRP 4.04%) และทยอยขายหากดัชนีฯ เกินระดับดังกล่าว (Figure 2)

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญวันนี้

-Japan: รายงานชี้นำทางเศรษฐกิจ 1-2 เดือนข้างหน้า โดย Consensus คาด Leading Economic Index เดือน ต.ค. (ครั้งสุดท้าย) วัดจากข้อมูล Job Data, Consumer Sentiment ฯลฯ คาดลดลงเป็น 108.7 (Vs เดือน ก.ย. 109.3) เนื่องจากภาคการผลิตที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ในเดือน ต.ค. และภาคบริการหดตัวสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2022 (Figure 1)

+Japan: รายงาน Coincident Index เดือน ต.ค. (ครั้งสุดท้าย) ซึ่งวัดจากข้อมูล Factory Output, employment, retail sales ฯลฯ คาดดีขึ้นเป็น 115.9 (Vs เดือน ก.ย. 115.7) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2023 จากเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวตามลำดับ หลังจาก COVID-19 และการส่งสัญญาณคงนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อเนื่องของ BOJ

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นบลูชิพที่มีปัจจัยพื้นฐานดี และปันผลต่อเนื่อง ได้แก่ BCP WHA KTB

 

Strategic daily picks

BCP     ปิด 43.75 บาท/แนวรับ 41.75 บาท แนวต้าน 45.00 บาท

บริษัทตั้งเป้าเพิ่มรายได้กว่า 5 แสนล้านบาท ในปี 2024 (9M23=2.43 แสนล้านบาท) และ EBITDA ราว 1 แสนล้านบาท ภายในปี 2030 นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานผลิต SAF โดยตั้งเป้าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ภายใน 1Q25 ด้วยงบลงทุนรวม 8 พันล้านบาท-1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทได้ขยายสถานีบริการน้ำมันสิ้นปี 2023 จำนวน 2,203 แห่ง พร้อมมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานสีเขียว โรงไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ พลังงานลม น้ำ ก๊าซธรรมชาติ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 9.26 พันล้านบาท (-26.33% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 47.57 บาท

WHA      ปิด 5.25 บาท/แนวรับ 4.90 บาท แนวต้าน 5.50 บาท

บริษัทลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นใน GCL (บริษัทใน GC Group) ในสัดส่วน 50%:50% มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 2.64 พันล้านบาท เพื่อการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันในการให้บริการโลจิสติกส์ ควบคู่กับการแสวงหาโอกาสในการขยายธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ คาดว่าบริษัทร่วมทุนดังกล่าวจะสร้างการเติบโตของกำไรให้บริษัทราว 20% ต่อปี ขณะเดียวกันบริษัทมั่นใจยอดขายที่ดินปี 2023 จะทำได้เกินเป้า 2.75 พันไร่ และยังอยู่ระหว่างเจรจากับลูกค้าในอุตสาหกรรม EV Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 4.32 พันล้านบาท (+6.72% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 5.85 บาท

KTB      ปิด 18.30 บาท/แนวรับ 18.00 บาท แนวต้าน 18.80 บาท

ธนาคารตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อที่ไม่รวมสินเชื่อภาครัฐ จะขยายตัว 3-5% YoY ในปี 2023 (YTD สินเชื่อที่ไม่รวมสินเชื่อภาครัฐได้ขยายตัวแล้ว 3.2% ขณะที่ YTD สินเชื่อรวมเติบโตติดลบอยู่ที่ 1.5% YoY) ทั้งนี้ KTB จะปล่อยสินเชื่อภาครัฐเพิ่มใน 4Q23 และคาดจะสามารถบรรลุเป้าหมาย NIM, สัดส่วน C/I ratio และ NPL ที่กำหนดไว้ พร้อมมีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการปี 2023 จะดีกว่าเป้าหมาย Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 3.97 หมื่นล้านบาท (+17.66% YoY) และมูลค่าเหมาะสมที่ 24.11 บาท

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง แรงขายต่างชาติคาดชะลอตัว จากเทศกาลหยุดยาวคริสต์มาส

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง แรงขายต่างชาติคาดชะลอตัว จากเทศกาลหยุดยาวคริสต์มาส