วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี Industrial Estate Sector - เวียดนามจะเริ่มใช้ GMT ปีหน้า

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี Industrial Estate Sector - เวียดนามจะเริ่มใช้ GMT ปีหน้า

GMT (อย่างน้อย 15%) จะใช้กับบริษัทข้ามชาติ (MNE) ซึ่งมีรายได้ทั่วโลกมากกว่า 750 ล้านยูโรต่อปี เราเชื่อว่าบางประเทศอาจเสนอสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี

เช่น การผ่อนปรนให้ง่ายต่อการทำธุรกิจ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ลงนามเขตการค้าเสรีเพิ่มเติม ให้กรรมสิทธิ์ที่ดิน การยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับเครื่องจักร การยกเว้นค่าธรรมเนียม และวีซ่าระยะยาว สำหรับองค์กรขนาดเล็ก มาตรการยกเว้นภาษีจะยังคงเหมือนเดิม เราเชื่อว่า GMT จะไม่ทำให้ประเทศไทยมีความน่าสนใจน้อยลงสำหรับ FDI เนื่องจากเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซียก็จะใช้ GMT เช่นกัน จึงไม่กระทบต่อ FDI และอุปสงค์ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม หุ้นเด่นของเราในกลุ่มนี้คือ WHA และ AMATA

รัฐสภาเวียดนามเตรียมอนุมัติภาษีขั้นต่ำทั่วโลก (GMT) ในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้

เวียดนามจะขึ้นภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำเป็นอย่างน้อย 15% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2024 ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 140 ประเทศที่ได้ตกลงที่จะใช้มาตรการนี้แต่ยังไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอน

GMT คืออะไร?

ประมาณ 140 ประเทศ (90% ของ GDP โลก) ได้ตกลงที่จะใช้ GMT ที่อย่างน้อย 15% เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีโดย MNE ขนาดใหญ่ บางประเทศจะดำเนินการในปีหน้า เงื่อนไขสำคัญคือ:

(i) ข้อตกลง GMT บังคับใช้เฉพาะบริษัทข้ามชาติที่มีรายได้ทั่วโลกสูงกว่า 750 ล้านยูโรต่อปี

(ii) ประเทศที่ร่วมข้อตกลงสามารถเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากบริษัทข้ามชาติที่มีรายได้ตามเกณฑ์ดังกล่าวที่ตั้งในประเทศในอัตราขั้นต่ำ 15% โดยหากบริษัทลูกของบริษัทข้ามชาติดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ำกว่า
15%ประเทศที่ตั้งของบริษัทแม่สามารถเรียกเก็บส่วนต่างของภาษีที่ต่ำกว่า 15% กับบริษัทดังกล่าวได้

(iii) ข้อตกลง GMT ไม่ยอมรับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในกรณีพิเศษที่เป็นมาตรการจูงใจทางภาษี อาทิ การหักค่าใช้จ่ายบางรายการได้ 2 เท่าของค่าใช้จ่ายจริง เป็นต้น เพื่อป้องกันการใช้มาตรการดังกล่าวในการทำให้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แท้จริงต่ำกว่า 15%

 

 

GMT จะส่งผลกระทบต่อ FDI อย่างไร?

GMT จะส่งผลกระทบต่อ FDI จาก MNC ที่มีรายได้กลุ่มมากกว่า 750 ล้านยูโรต่อปี อย่างไรก็ตาม คู่แข่งสำคัญของ FDI ในอาเซียนทั้งหมดจะใช้ GMT: ประเทศไทย (ไม่มีกำหนดวันที่แน่นอน), เวียดนาม (2024), มาเลเซีย (2025) และอินโดนีเซีย (2023) ดังนั้น ประเทศเหล่านี้จึงไม่มีความได้เปรียบเสียเปรียบกัน อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าบางประเทศอาจเสนอสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี เช่น การผ่อนปรนกฎต่างๆ ให้ง่ายต่อการทำธุรกิจ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ลงนามเขตการค้าเสรีเพิ่มเติม การถือครองที่ดิน การยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับเครื่องจักร การยกเว้นค่าธรรมเนียม และวีซ่าระยะยาว ประเทศไทยได้จัดตั้งกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้บริษัทที่ทำตามเงื่อนไข เพื่อลดผลกระทบของภาษีส่วนเพิ่มสำหรับบริษัทข้ามชาติขนาดเล็ก (ห่วงโซ่อุปทาน) การยกเว้นภาษียังคงเป็นแม่เหล็กดึงดูดการลงทุน ดังนั้น เราจึงเชื่อว่า GMT จะไม่ทำให้ FDI และความต้องการที่ดินนิคมฯ ในประเทศไทยได้รับผลกระทบ

 

วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.กรุงศรี Industrial Estate Sector - เวียดนามจะเริ่มใช้ GMT ปีหน้า