วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ PFund-REITs-IFF กองทุนที่ให้ dividend yield ค่อนข้างสูงดูปลอดภัยกว่า

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ PFund-REITs-IFF กองทุนที่ให้ dividend yield ค่อนข้างสูงดูปลอดภัยกว่า

กลยุทธ์การลงทุนใน PFund-REITs-IFF ในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น

อัตราดอกเบี้ยนโยบายขยับขึ้นมาอยู่ที่ 2.50%

เมื่อวันที่ 27 กันยายน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps เป็น 2.50% โดยมีผลทันที ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 นอกจากนี้ คุณปิติ ดิษยทัต เลขานุการ กนง. ยังกล่าวว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในปีนี้ แม้ว่าจะฟื้นในอัตราที่ชะลอลงเพราะอุปสงค์ในต่างประเทศแผ่ว ซึ่งหากเศรษฐกิจไทยยังเป็นไปตามที่คาด กนง. น่าจะคงดอกเบี้ยเอาไว้ที่ระดับนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ จากภาวะอุปสงค์ที่อ่อนแอ กนง. จึงปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2566 จากเดิม 3.6% เหลือ 2.8% เพราะการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวฟื้นตัวช้าลงจากการที่เศรษฐกิจจีน และเศรษฐกิจโลกชะงักงัน

 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น

นอกจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศที่สูงขึ้นแล้ว อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (10 ปี อยู่ที่ 4.60%) และอัตราผลตอบแทนพันบัตรรัฐบาลไทยยังขยับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามอัตราดอกเบี้ย Fed fund rate ที่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามองว่าประเด็นนี้เป็นลบกับตลาดหุ้น และกองทุนที่อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลค่อนข้างต่ำ

 

 

 

ยังคงใช้เกณฑ์การลงทุนเดิมในการคัดกองทุน

เราคิดว่าในปัจจุบัน เป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนต้องมองหากองทุนที่ดีเพื่อเข้าไปลงทุนในภาวะที่ปัจจัยภายนอกยังดูไม่นิ่ง ดังนั้น เราจึงยังคงยึดเกณฑ์การลงทุนเดิมสำหรับ PFund-REITs-IFF ที่เราคิดว่าน่าสนใจ ได้แก่ i) อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ค่อนข้างสูง ii) ราคามี premium หรือ discount จาก NAV iii) แนวโน้มธุรกิจในระยะยาว และ iv) ได้รับผลกระทบด้านลบน้อยกว่าจากปัจจัยลบภายนอก  นอกจากนี้ เราคิดว่าทางเลือกที่น่าสนใจในสถานการณ์ปัจจุบันน่าจะเป็นกองทุนที่อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลในปี 2566-2567 สูงเกิน 7%

 

นิคมอุตสาหกรรมยังคงเป็นกลุ่มที่เราเน้นสำหรับรัฐบาลใหม่


เราคาดว่าประเทศไทยจะออกชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพิ่มอีก เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจในอีกสองสามปีข้างหน้า ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากของรัฐบาลใหม่ที่จะต้องเข็นมาตรการออกมาเพิ่มเติมในปีนี้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากศักยภาพการเติบโตของประเทศไทยในระยะยาว เราคาดว่านิคมอุตสาหกรรมจะเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจผ่านกระแสเงินทุนจากนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดกลยุทธ์ 20 ปีสำหรับประเทศไทย โดยตั้งเป้าจะเปลี่ยนสถานะเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2579 ซึ่งภายใต้กลยุทธ์นี้ประกอบด้วยความริเริ่มแบบ top-down จำนวนมาก โดยเฉพาะในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาคน เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้กับประเทศที่ร่ำรวยกว่า และมีเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนฐานของความรู้ (knowledge-based economies) มากกว่า

 

 

นอกจากนี้ โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ยังมีแนวโน้มเป็นบวกต่อเนื่องในอีกสองสามปีข้างหน้า ซึ่งกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมน่าจะได้อานิสงส์จากการพัฒนาโครงการนี้ในอนาคต เพราะเราคาดว่ารัฐบาลน่าจะผลักดันโครงการนี้ให้เดินหน้าต่อไป

Recommendation

เรายังคงกองเด่นเอาไว้เหมือนเดิม ประกอบด้วย i) กองทุนแถวหน้าที่เราแนะนำ ได้แก่ DIF, WHAIR และ AMATAR และ ii) กองทุนระดับรอง ได้แก่ ALLY, GROREIT, CPNREIT และ BTSGIF

 

Risks

COVID-19 ระบาด, เศรษฐกิจชะลอตัวลง, การเมืองขาดเสถียรภาพ