วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector วัฏจักรการเติบโตมาร์จิ้นใกล้จบแล้ว

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector วัฏจักรการเติบโตมาร์จิ้นใกล้จบแล้ว

มีหลายปัจจัยที่บ่งชี้ว่าความคาดหวังในเชิงบวกของหลาย ๆ ธนาคารว่า NIM จะดีขึ้นใน 2H66 อาจจะเป็นการมองในแง่ดีมากเกินไป เพราะอัตราการขยายตัวของ GDP ที่ชะลอตัวลงใน 2Q66 และยังมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงไปอีกใน 3Q66

เพราะการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศลดลงไปอย่างมากจะหนุนให้ ธปท. หยุดขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราว นอกจากนี้ ความเห็นของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่อยากเห็นธนาคารชะลอการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ก็เป็นอีกปัจจัยที่น่าจะจำกัดการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคาร โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อผู้บริโภครายย่อย

 

…..KBANK และ SCB มีความเสี่ยง

ในภาวะตลาดเช่นนี้ เราคิดว่าธนาคารที่มีการปล่อยกู้ในระดับสูงใน 1.) สินเชื่อ SME ที่อิงกับ MRR 2.) สินเชื่อรายย่อย (โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย) และ 3.) สินเชื่อในโครงการปรับโครงสร้างหนี้ จะมีความเสี่ยงด้านมาร์จิ้น ทั้งนี้ KBANK มีสัดส่วนสินเชื่อ SME และสินเชื่อที่อยู่อาศัยรวมกันประมาณ 60% ของพอร์ตสินเชื่อ ในขณะที่ของ SCB อยู่ที่ 47% และของ KTB อยู่ที่ 40% อย่างไรก็ตาม สัดส่วนดังกล่าวของ BBL ต่ำเพียง 26% ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า BBL มีแรงกดดันทางด้าน margin น้อยกว่าธนาคารใหญ่อื่น ๆ

 

 

ความเสี่ยงด้าน NPL – แรงกดดันที่แตกต่างกันไปในแต่ละธนาคาร

จากการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ไม่ทั่วถึง และสัญญาณการชะลอตัวของ GDP ใน 2H66 ทำให้ความเสี่ยงของหนี้จะสูงขึ้นใน 2H66 แต่อยู่ในระดับที่แตกต่างกันในแต่ละธนาคาร โดยธนาคารที่มีการปล่อยกู้สูงในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ (อย่างเช่น BBL และ KTB จะประคองตัวได้ดีกว่าในแง่การเติบโตของธุรกิจที่ไม่สะดุด และค่าใช้จ่ายสำรองฯไม่เพิ่มขึ้น) ซึ่งจะสวนทางกับธนาคารที่มีการปล่อยกู้สูงในกลุ่ม SME และรายย่อย เช่น KBANK SCB KKP TTB จะมีมากกว่า นอกจากนี้การตั้งสำรองฯพิเศษของ KBANK ในหนี้เสียของ STARK ทำให้สำรองฯส่วนเกินายไป และธนาคารต้องตั้งฯเพิ่มเป็นความเสี่ยงเฉพะของ KBANK

 

คงคำแนะนำซื้อเพียงแค่ BBL

จากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ และทิศทางดอกเบี้ย เราคิดว่า BBL ยังประคองตัวได้ดีในแง่ของแนวโน้มการเติบโตตามการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจ และความสามารถในการส่งผ่านผลของดอกเบี้ยไปให้ธุรกิจขนาดใหญ่ในกรณีที่มีการขึ้นดอกเบี้ยเหนือความคาดหมาย ทั้งนี้ หลังจากที่สินเชื่อแสดงสัญญาณการฟื้นตัว +2% QoQ และ +0.6% YTD เราคาดว่าโมเมนตัมสินเชื่อจะโตต่อเนื่องในงวด 2H66F

 

Risks

NPLs เพิ่มขึ้น และตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน 

 

 

 

วิเคราะห์หุ้น : บล.เคจีไอฯ Bank Sector วัฏจักรการเติบโตมาร์จิ้นใกล้จบแล้ว