วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ แกว่งตัว 1,520-1,545 จุด 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ แกว่งตัว 1,520-1,545 จุด 

ติดตามเงินเฟ้อสหรัฐฯ / งบรายตัว / การปรับพอร์ต MSCI คืนนี้ติดตามเงินเฟ้อ ก.ค. สหรัฐฯ คาดการณ์ล่าสุดตลาดประเมินเงินเฟ้อ (CPI) +3.3% (เพิ่มจากมิ.ย. +3.0%) แต่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) +4.7% (ชะลอจาก มิ.ย.ที่ +4.8%)

ซึ่งตัวเลขที่ออกมาในทิศทางดังกล่าว จะยืนยันการชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเงินเฟ้อ และไม่ทำให้ตลาดกังวลต่อภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจเกินไป // สำหรับผลประกอบการหุ้นไทย ส่วนใหญ่อาจไม่ได้เติบโตเด่น แต่ถือว่าค่อนข้างเป็นไปตามคาด ส่งผลให้หุ้นหลายตัวมีโอกาสฟื้นตัวในช่วงสั้น ในช่วง 2-3 สัปดาห์ // ติดตามการปรับหุ้นตาม MSCI วันที่ 10 ส.ค. ซึ่งจะทราบผลประมาณ 11 ส.ค.ที่ไทย

กลุ่มปิโตรเคมี ครึ่งปีหลังยังเหนื่อยจากราคาน้ำมันและก๊าซที่ปรับขึ้น แม้เราจะเห็นตลาดกลับมาผลักดันหุ้นในกลุ่มที่มีการถือครองต่ำ (Under-owned) ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม โรงกลั่น, อิเล็กทรอนิกส์, ไฟแนนซ์ และปิโตรเคมี อย่างไรก็ตามเรายังคงแนะนำให้ระมัดระวังกลุ่มปิโตรเคมีในภาพระยะกลาง เนื่องจาก 1) ภาะอุปทานล้นเกินน่าจะอยู่ไปจนถึงต้นปี 2567 2) การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่เป็นต้นทุนการผลิต ส่งผลลบต่อการฟื้นตัวของผลประกอบการ จึงมองเพียงแค่เก็งกำไรแบบตัดขาดทุน แต่ไม่ถือยาว// 
 

สัญญาล่วงหน้าก๊าซธรรมชาติยุโรป (LNG) เมื่อคืนที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น +28% (ระหว่างวัน +40%) สูงสุดนับจาก มี.ค.65 เนื่องจากข่าวการหยุดงานประท้วงของคนงานในออสเตรเลียที่น่าจะกระทบกับอุปทาน LNG สถานการณ์ดังกล่าวเรามองมีผลกระทบต่อหุ้นรายตัวดังนี้ 1) BANPU (+) อาจได้อานิสงค์จากราคา LNG ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนการ IPO ของบริษัทลูกที่ทำธุรกิจก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ตามมุมมองทางพื้นฐานกำไรจะชะลอแรงจากปีก่อนหน้าที่ธุรกิจดีทั้งถ่านหินและก๊าซ 2) IVL (-) ธุรกิจในยุโรปใช้ก๊าซธรรชาติเป็นต้นทุน ราคาก๊าซที่สูงขึ้นจึงเป็นปัจจัยลบกระทบต่อผลประกอบการและการฟื้นตัว 

ภาพรวมกลยุทธ์: แกว่งตัว 1,520-1,545 จุด โดยเรายังระวังแรงกดดันจากการขายทำกำไรในตลาดหุ้นโลกอาจมากระทบบรรยากาศลงทุนหุ้นไทย กลุ่มที่น่าสนใจช่วงนี้คือ 1) หุ้นขนาดกลางขนาดเล็กที่มีการถือครองต่ำ 2) กลุ่มที่ผลประกอบการจะออกมาดี 3) กลุ่มอิงภายนอกที่ดีต่อในครึ่งหลังมีแค่พลังงานต้นน้ำและโรงกลั่น (แต่ระยะสั้นอาจต้องระวังผลประกอบการ) ขณะที่ปิโตรเคมีจะแย่ยาว ทำให้เหมาะแค่การเก็งกำไร 

หุ้นแนะนำ: SCB*, TU*, CPN*, SAMART*

แนวรับ: 1,520 / แนวต้าน : 1,535-1,545 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
 

ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ

EIA เพิ่มคาดการณ์ศก.สหรัฐปีนี้ – ประกอบกับ ซาอุดีอาระเบียประกาศขยายเวลาในการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจจนถึงสิ้นเดือนก.ย. และอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้สต็อกน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวลง และผลักดันให้ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้น โดยคาดว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนท์โดยเฉลี่ยใน 2H23 จะอยู่ที่ 86 ดอลลาร์/บาร์เรล (เดิม 79 ดอลลาร์/บาร์เรล )

ผู้ว่าฯ ธปท.คาด GDP ปีนี้อาจโตต่ำกว่าคาด – แต่ภาพรวมจะยังเห็นการเติบโตได้ที่ระดับ 3% กลางๆ จากคาดการณ์ล่าสุดที่ 3.6% เนื่องจากยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออก แต่เศรษฐกิจไทยยังมีการฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเพราะเศรษฐกิจไทยถูกขับเคลื่อนจากการบริโภคและลงทุนเอกชน รวมไปถึงการท่องเที่ยว

SNNP กำไรพุ่ง – งบ 2Q23 กำไรสุทธิเพิ่ม 34.3% รับอานิสงส์ยอดขายทั้งในและนอกประเทศที่เพิ่มขึ้น และบริหารจัดการต้นทุนได้ดี พร้อมจ่ายปันผล 0.232 บาท ขึ้น XD วันที่ 22 ส.ค. ส่งสัญญาณ 2H23 เติบโตได้ดี จากการท่องเที่ยวคึกคัก มั่นใจรายได้ทั้งปีแตะ 6,500 ล้านบาท

GPSC เตรียมบุ๊กกำไรอวาด้า – เผยโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์ม อวาด้า ในอินเดีย คาดปีนี้ AEPL มีกำไรราว 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เล็งบุ๊กตามสัดส่วนการลงทุนที่ 42.93% พร้อมลุ้นกลุ่ม ปตท. เพิ่มเป้าพลังงานหมุนเวียนเป็น 15 GW จากเดิมตั้งไว้ 12 GW ในปี 73 เล็งขยายการลงทุนในต่างประเทศเพิ่ม

หุ้นที่น่าสนใจทางเทคนิค: TCAP, DMT, ERW, BCH, BJC

 

ประเด็นติดตาม: 10 ส.ค. – US CPI, Initial Jobless Claims/ 11 ส.ค. – US PPI, TH Consumer Confidence/ 15 ส.ค. – US Retail Sales/ 16 ส.ค. – EU GDP, US Building Permits, Housing Starts

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)