วิเคราะห์หุ้น : บล.กรุงศรี Industrial Estate Sector - ปัจจัยต่างๆ ชี้นำยอดขายที่ดิน

วิเคราะห์หุ้น : บล.กรุงศรี Industrial Estate Sector - ปัจจัยต่างๆ ชี้นำยอดขายที่ดิน

อุปสงค์ที่ดินอุตสาหกรรมได้รับการสนับสนุนจากยอดขอส่งเสริม BoI (+70% yoy) อุปสงค์รถ EV ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และห่วงโซ่อุปทานแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ดึงดูให้ผู้ผลิตรถ EV ระดับโลกมาลงทุนในไทย ผู้ผลิตรถ EV อย่างน้อยเจ็ดรายประกาศแผนลงทุนในไทย 

นอกจากนี้ มาตรการคว่ำบาตรทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนย้ายฐานการผลิตออกจากสองประเทศนี้ ซึ่งไทยและเวียดนามจะได้ประโยชน์ เราคงประมาณการยอดขายที่ดินรวมปีนี้  5,200 ไร่ (ทำได้ 39% ใน 1H23) ซึ่งจะสูงที่สุดตั้งแต่ปี 2013 เราเลือก AMATA และ WHA เป็นหุ้นเด่นในกลุ่ม

 

ยอดขอส่งเสริม BoI (+70% yoy เป็น 3.644 แสนลบ.ใน 1H23)

คิดเป็น 61-73% ของเป้าหมายปี FY23F ของ BoI สนับสนุนโดยยอด FDI ที่เพิ่มขึ้นก้าวกระโดด 141% yoy เป็น 3.04 แสนลบ. ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ (+700% yoy; PCB, IC และ wafer testing และ smart electronics) กลุ่มอาหารแปรรูป และ EV & อุตสาหกรรมสนับสนุน (ยางรถยนต์, เพลา, hybrid transmission system และสถานีชาร์จไฟ) นักลงทุนหลักได้แก่ จีน (6.15 หมื่นลบ. ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์), สิงคโปร์ (5.911 หมื่นลบ.) และญี่ปุ่น (3.533 หมื่นลบ. เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว yoy จากโครงการขนาดใหญ่ในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอะไหล่ยานยนต์)  ยอดยื่นขอส่งเสริม BoI ใน EEC เพิ่มขึ้น 64% เป็น 1.715 แสนลบ. ทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนจากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของไทย (เศรษฐกิจขยายตัวและอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยขยับขึ้นเป็นอันดับ 30 จาก 33 จัดโดย IMD

 

 

 

ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตรถ EV

รายงานของ BloombergNEF (BNEF) ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล EV โตเฉลี่ย 46% ต่อปีในปี 2019-2022 เป็น 21,000 คันในปี 2022 และมีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดใน ASEAN ที่ 41% BNEF คาดยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล EV ใน ASEAN จะเพิ่มขึ้นจาก 51,000 คันในปี 2022 เป็น 500,000 คันในปี 2030 และ 2.9 ล้านคันในปี 2040  ค่ายรถจีนได้ขยายธุรกิจไปต่างประเทศเพื่อหาประโยชน์จากการเติบโต,  ลดการแข่งขันในจีนจากทั้งผู้ผลิตในประเทศและการนำเข้า และหลีกเลี่ยงการกีดกันการค้า  BoI ได้อนุมัติโครงการรถ EV ของ BYD, Great Wall, SAIC, Mercedes Benz และ HorizonPlus และยังมีผู้ผลิตอีกหลายรายที่มีแผนจะเข้ามาลงทุนในไทยได้แก่ Changan, GAC AION, Geely, VI Primus, JAC, JMC และ Hyundai

 

การกีดกันทางการค้า และ CPTPP

การคว่ำบาตรทางการค้าที่เข็มงวดขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน (Fig. 15) บ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการทำธุรกิจในทั้งสองประเทศ ทำให้เกิดนโยบาย “Made by China” แทน “Made in China” ซึ่งประเทศหลัก ๆ ที่จะได้ประโยชน์คือ ไทยและเวียดนาม วันที่ 16 ก.ค. อังกฤษได้ลงนามใน CPTPP โดยประเทศไทยสนใจที่จะเข้าร่วม แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ ทั้งนี้ มีการศึกษาที่แสดงว่า  GDP ของไทยจะเพิ่มขึ้น 0.12% หากเข้าร่วม CPTPP โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์คือ ยานยนต์&อะไหล่, เครื่องจักร, อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อาหารแปรรูป, เฟอร์นิเจอร์ และสิ่งทอ หากไม่เข้าร่วม GDP จะลดลง 0.25% เนื่องจากไม่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน  เวียดนามและมาเลเซียจะเป็นประเทศหลักที่ได้ประโยชน์จาก CPTPP

 

ยอดขายที่ดินมีแนวโน้มเป็นไปตามประมาณการ

ยอดขายที่ดินรวมใน 1H23 อยู่ที่ 2,002 ไร่ เพิ่มขึ้นถึง 109% yoy คิดเป็น 39% ของประมาณการปี FY23F ของเรา  หากรวม MOU และ LOI คาดจะอยู่ที่ 2,855 ไร่ หรือ 55% ของประมาณการปี FY23F ของเรา เราเชื่อว่ายอดขายที่ดินจะเป็นไปตามประมาณการของเราที่ 5,200 ไร่ปีนี้