วิเคราะห์หุ้น : บล.กรุงศรี Healthcare sector - กลับสู่ฤดูกาลปกติ

วิเคราะห์หุ้น : บล.กรุงศรี Healthcare sector - กลับสู่ฤดูกาลปกติ

รายได้โรงพยาบาลจะกลับสู่ฤดูกาลปกติ โดย 2Q จะเป็นไตรมาสที่น้อยที่สุดในรอบปีเพราะการแพร่ระบาดของโรคน้อยในฤดูร้อน และจำนวนผู้ป่วยต่างลดลงในช่วงเทศกาลรอมฎอน รายได้ที่ไม่เกี่ยวกับโรคตามฤดูกาล (เลสิค, เสริมความงาม, ศัลยกรรมพลาสติก)

และโควิด-19 จะช่วยบรรเทาผลกระทบใน 2Q แต่ไม่สามารถชดเชยได้ทั้งหมด  ผลการดำเนินงานใน 3Q จะสูงที่สุด เพราะมีการระบาดหลายโรค, ผู้ป่วยต่างชาติกลับมาใช้บริการ และรับรู้รายได้เต็มไตรมาสจาก SSO ปรับขึ้นค่าเหมาจ่ายรายหัว แพทย์จบใหม่ลาออกจำนวนมากขึ้นสวนทางกับการขยายโรงพยาบาลจะทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแพทย์ และการแข่งขันจะเข้มข้นขึ้นในอนาคต เราเลือก BDMS เป็นหุ้นเด่นของเราในแง่ของการกระจายธุรกิจ และแนวโน้มการเติบโต

 

2Q รายได้จะต่ำที่สุดของปี

เพราะช่วงหน้าร้อนมีการระบาดของโรคน้อย รายได้จากเลสิค และศัลยกรรมเสริมความงาม สนับสนุนจากวันหยุดนักขัตฤกษ์ และรายได้โควิด-19 จะช่วยบรรเทาผลกระทบ แต่ไม่สามารถชดเชยได้ทั้งหมด   จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 สูงสุดที่ 3,085 รายในช่วงสัปดาห์ของวันที่ 28 พ.ค.-3 มิ.ย. และลดลงเหลือ 2,158 รายในช่วงวันที่ 11-17 มิ.ย. ด้วยอาการไม่รุนแรงรายได้/บิล และอัตรากำไรขั้นต้นจะน้อย  นอกจากนี้ รายได้จากผู้ป่วยตะวันออกกลาง (ซึ่งเป็นผู้ป่วยต่างชาติกลุ่มหลัก) ก็ลดลงด้วยเพราะเป็นช่วงเทศกาลรอมฎอน (22 มี.ค.-21 เม.ย.) 

 

3Q รายได้จะสูงสุดของปี

เนื่องจาก (i) การระบาดของหลายๆ โรคในช่วงฤดูฝน (ต่อมทอนซิลอักเสบ, ไข้หวัดใหญ่, มือเท้าปาก, ไข้เลือดออก, ตาแดง) จากสถิติพบว่าจำนวนผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จะต่ำที่สุดใน 2Q และสูงที่สุดใน 3Q (ii) ผู้ป่วยชาวตะวันออกกลาง และตลาดใหม่ ๆ (ซาอุดิ อาระเบีย และลิเบีย) เดินทางมาใช้บริการมากขึ้น รวมถึงลูกค้าจีนมาใช้บริการ IVF เพิ่มขึ้น หลังรัฐบาลเมืองปักกิ่งอนุญาตให้ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยว  IVF รวมในประกันขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. เราเชื่อหุ้นกลุ่มหลักที่จะได้อานิสงส์จากประเด็นนี้คือ EKH, PR9, BDMS ฯลฯ (iii) จะรับรู้รายได้เต็มไตรมาสจากการที่ SSO ขึ้นค่าเหมาจ่ายรายหัว (+10% เป็น 1,808 บาท/คน/ปี เริ่ม 1 พ.ค.) ซึ่ง BCH และ CHG จะได้อานิสงส์มากที่สุด

 

ขยายโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

เราคาดจำนวนเตียงจดทะเบียนของโรงพยาบาลจะเพิ่มขึ้น 2,485 เตียง เป็น 170,048 เตียง (รัฐ:เอกชน 78:21) ภายในปี 2025 และหลังจากนั้นจะเพิ่มอีก 1,529 เตียง นอกจากนี้ โรงพยาบาลต่าง ๆ ยังขยายศูนย์โรคเฉพาะทาง (COE) เพื่อให้ครอบคลุมโรคซับซ้อนซึ่งมีอัตรากำไรขึ้นต้นสูง  และวิถีชีวิต (IVF, wellness, เสริมความงาม, ศัลยกรรมพลาสติก และการดูแลผู้สูงอายุ) นอกจากนี้ จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคไตเพิ่มขึ้น และสปสช.รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ มีส่วนสนับสนุนให้โรงพยาบาลศูนย์โรคเฉพาะทางสองสาขานี้

 

มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนแพทย์

มีรายงานว่าแพทย์จบใหม่ 900 คน (จากทั้งหมด 2,759 คน) ลาออกใน 1H23 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลังที่ 454 คน อาจทำให้แผนการขยายโรงพยาบาลสะดุด  ประเทศไทยมีความต้องการแพทย์ปีละ 2,055 คน แต่มีแพทย์ใหม่เพียง 1,800-1,900 คนเท่านั้น หากแนวโน้มนี้ดำเนินต่อไป จะทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแพทย์ และการแข่งขันเข้มข้นขึ้น

วิเคราะห์หุ้น : บล.กรุงศรี Healthcare sector - กลับสู่ฤดูกาลปกติ