SINGER ใช้เวลานานขึ้นกว่าจะกลับมาโตได้อีกครั้ง

SINGER ใช้เวลานานขึ้นกว่าจะกลับมาโตได้อีกครั้ง

เราคิดว่า SINGER จะต้องใช้เวลานานขึ้นในการพลิกฟื้นจากที่มีผลขาดทุนจากการดำเนินงานมาเป็นกำไร และจะต้องใช้เวลานานยิ่งกว่านั้นเพื่อทำให้นักลงทุนกลับมามั่นใจต่อแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจว่าจะแข็งแรง และต่อเนื่องได้ในระยะยาว

ทั้งนี้ ผลขาดทุนสุทธิที่สูงถึง 843 ล้านบาทใน 1Q66 จากผลของการเร่งโตจนทำให้เกิดหนี้เสีย และส่งผลให้บริษัทตั้งขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ 490 ล้านบาทที่เกิดจากสินค้าคงคลัง และมีการตั้งสำรองหนี้เสีย 942 ล้านบาท ทั้งนี้จาก NPL เพิ่มเข้ามาเฉลี่ยประมาณไตรมาสละ 1.1 พันล้านบาทใน 4Q65 และ 1Q66 และยอดคงค้างที่มีความเสี่ยงสูง อีก 1.6-1.7 พันล้านบาท ทำให้ความเสี่ยง NPL ใหม่จะยังทรงตัวในระดับสูง

 

สัดส่วน NPL อาจจะขยับขึ้นไปถึง 20% ใน 2Q66

เมื่อดูจากยอดสินเชื่อที่มีความเสี่ยงประมาณ 1.6-1.7 พันล้านบาทในงบดุล สัดส่วน NPL ของ SINGER อาจจะขยับเพิ่มขึ้นอีก และน่าจะขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ 20% ใน 2Q66 (เพิ่มขึ้นจาก 4.6% ใน 4Q65 เป็น 13.8% ใน 1Q66) ทั้งนี้ เพื่อลด NPL ลง บริษัทตั้งเป้าจะตัดหนี้สูญ (write-off) และขายหนี้เสียออกไปไตรมาสละ ประมาณ 500 ล้านบาทจนถึงสิ้นปีนี้ นอกจากนี้ เพื่อล้างหนี้เสีย บริษัทยังมีแผนจะรับรู้ผลขาดทุนก้อนใหญ่จากการด้อยค่าของสินทรัพย์ในสต็อกเพื่อขายโละสินค้าพวกนี้ออกไปจากสต็อก และทำให้ NPL ratio กลับมาอยู่ที่ประมาณ 5% ซึ่ง SINGER คาดว่าการเร่งล้างหนี้เสียออกไปจะทำให้บริษัทกลับมาเติบโตได้อีกครั้งในปี 2567 อย่างไรก็ตาม เราคิดว่าการดำเนินการจริงอาจจะไม่ง่าย เพราะในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ช่วงปี (2559-2563) SINGER ใช้เวลาถึง 4 ปีในการที่จะกด NPL จาก 20% ลงมาเหลือ <5%

 

 

Set zero – ยกเครื่องแผนกลยุทธ์สร้างการเติบโต
 

JMART เข้ามา takeover ทีมผู้บริหาร และสัญญาว่าจะทำการยกเครื่องกลยุทธ์สร้างการเติบโตของ SINGER ซึ่งในการนี้ กลยุทธ์หลักของ SINGER ในการขายตรงไปให้ผู้ใช้สินค้า (end-user) จะทยอยถูกแทนที่ด้วยการขายผ่านช่องทางดิจิทัล และการคัดสรรสินค้าจะดำเนินการโดย J-Mobile ดังนั้น จึงจะมีการปรับทีมขาย และค่าตอบแทนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลง ทั้งนี้ เรามองว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียในแง่การเติบโตที่จะสะดุดในช่วงเปลี่ยนผ่าน

 

ปรับลดประมาณการปี 2566F เป็นขาดทุนสุทธิ ลดราคาเป้าหมายปี 2566F เหลือ 9.75 บาท

เราปรับลดประมาณการปี 2566F/2567F เป็น -1.5 พันล้านบาท/532 ล้านบาท (จากเดิมที่ 429 ล้านบาท/ 843 ล้านบาท) เนื่องจาก 1) ปรับเพิ่ม credit cost เป็น 14.6%/4.4% (จากเดิม 6%/4%) 2) ใส่สมมติฐานว่าจะมีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ 650 ล้านบาทในปีนี้/ไม่มีรายการนี้ในปีหน้า และ 3) ปรับลดยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็น -28%/+13% (จาก -20%/+5% ) (จาก -5%/+11%) เราใช้ PE จากกำไรเฉลี่ย 2 ปีข้างหน้าที่ 15x ทำให้ได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 9.75 บาท ลดลงจาก 11.60 บาท และเรายังคงคำแนะนำ ขาย SINGER

 

Risks

NPL เพิ่มขึ้น และตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, ยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง