มีความไม่แน่นอนอะไรบ้างที่ตลาดกังวล?

มีความไม่แน่นอนอะไรบ้างที่ตลาดกังวล?

หุ้นไทยปรับลดลงหลังการเลือกตั้ง หุ้นไทยปรับลดลง 20 จุด ทั้งนี้ เราประเมินการปรับลงแรงมาจาก 1) ผลการเลือกตั้งที่ผิดคาดก้าวไกล มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล แม้จะได้รับความนิยมสูงแต่นักลงทุนยังตั้งคำถามถึงความสามารถของทีมเศรษฐกิจ ทำให้ขาดความมั่นใจ

2) การอภิปรายในอดีตของก้าวไกล ต่อหุ้นในธุรกิจไฟฟ้า, สัมปทานดาวเทียม และการควบรวมของหุ้นสื่อสาร ที่อาจกระทบต่อภาวะการแข่งขัน รวมถึงด้านลบของทุนนิยม 3) แนวคิดของพรรคก้าวไกลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีกำไรจากการลงทุน (Capital gain tax) และ 4) ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่อาจหายไป อย่างเช่น นโยบาย Digital Wallet (คนละ 10,000 บาท สำหรับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป) ของพรรคเพื่อไทย // ทั้งนี้เรามองการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจริงอาจไม่ง่ายและไม่น่ากังวลอย่างที่ตลาดมีปฏิกิริยา โดยเฉพาะการแก้สัญญาที่เกิดขึ้นไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เรามองช่วงสั้นตลาดจะติดตามความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาล เพื่อประเมินนโยบายและผลกระทบของอุตสาหกรรมต่างๆจากรัฐบาลใหม่อีกครั้ง

ผลประกอบการไตรมาส 1/66 หุ้นไทย ประกาศผลประกอบการแล้ว 765 บริษัท มีกำไรรวม 261,205 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.3% YoY ทั้งนี้บริษัทที่ทีกำไรเพิ่มขึ้น 248 แห่ง (32.4%), ลดลง 344 แห่ง (45.0%), ทรงตัว 173 แห่ง (22.6%) โดยมีบริษัทที่รายงานมีผลกำไร 585 แห่ง (76.5%) และขาดทุน 180 แห่ง (23.5%) ทั้งนี้ภาพการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในช่วงท้ายออกมาในทิศทางที่ชะลอตัวลงซึ่งเป็นปัจจัยกดดันในระยะสั้น โดยภาพรวม กลุ่มที่รายงานผลประกอบการดี อยู่ที่กลุ่มธนาคาร, กลุ่มค้าปลีก กลุ่มท่องเที่ยวและเปิดเมือง ดังนั้นการอ่อนตัวลงของหุ้นในกลุ่มข้างต้น เรามองเป็นโอกาสในการทยอยสะสม

 

 

 

ภาพรวมกลยุทธ์: ผันผวนทางลงระหว่างรอความชัดเจนตั้งรัฐบาล เน้น selective buy กลุ่มที่น่าจะเห็นการฟื้นตัวได้ชัดเจนในปี 2566 และยังมีการถือครองที่ต่ำ (Underowned)  อย่างไรก็ตาม ในทางกลยุทธ์ อาจต้องระวังการปรับลดลงต่ำกว่า 1,540 จุด จะทำให้มีความเสี่ยงทางลงในระดับต่ำกว่า 1,520 จุด 

หุ้นแนะนำ: OR*, BJC, SAMTEL*, SAMART*

แนวรับ: 1,529 / แนวต้าน : 1,550-1,560 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%

 

ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ

เฟดนิวยอร์คเผยดัชนีภาคการผลิตต่ำกว่าคาดในเดือนพ.ค. – ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Index) ดิ่งลงสู่ระดับ -31.8 ในเดือนพ.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ -3.75 หลังจากแตะระดับ +10.8 ในเดือนเม.ย. โดยได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ที่ซบเซา ส่งผลให้คำสั่งซื้อใหม่ดิ่งลง ส่วนการจ้างงานชะลอตัว 

สภาพัฒน์ เผย GDP 1Q23 โตดีกว่าตลาดคาด – โดยขยายตัว 2.7% จากตลาดคาดขยายตัว 2.3-2.4% แลและต่อเนื่องจากการขยายตัว 1.4% ใน 4Q23 โดยมีปัจจัยมาจากการขยายตัวของภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวและการผลิตในภาคเกษตร ขณะที่การอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน และรายรับจากบริการต่างประเทศยังคงขยายตัวต่อเนี่อง
 

ACE เซ็น PPA 2 โรงไฟฟ้าขยะชุมชน กำลังการผลิตติดตั้ง – โดยเป็นโรงไฟฟ้าขยะชุมชน 2 โครงการในพื้นที่ อบต.เชียงหวาง จ.อุดรธานี กำลังการผลิตติดตั้ง 9.0 เมกะวัตต์ และ อบต.โชคชัย จ.นครราชสีมา กำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ พร้อมเร่งเดินหน้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าและมองหาโอกาสลงทุนใหม่ๆ ด้านพลังงานสะอาดทุกประเภทต่อยอดเติบโต

JMART ยอมรับแรงกดดัน SINGER-SGC ลุ้นผลปรับโครงสร้างครึ่งปีหลัง – JMART คาดว่าใน 2Q23 จะยังมีแรงกดดันจาก SINGER และ SGC ที่ยังคงมีผลกระทบจากทิศทางของ NPL ที่อยู่ในระดับสูง และมีการไหลของ NPL ที่ยังเห็นต่อเนื่องใน 2Q23 แต่มองว่าจะเริ่มเห็นผลกระทบลดลงหลังจากปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ และปรับแผนการทำธุรกิจในการที่ควบคุมคุณภาพลูกหนี้ และลดต้นทุนมากขึ้น 

 

ประเด็นติดตาม: 16 พ.ค. – US Retail Sales / 17 พ.ค. – US Building Permits, EU CPI / 18 พ.ค. – US Existing Home Sales / 23 พ.ค. – US Services PMI, New Home Sales 

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)