KTB - โตดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (20 มี.ค. 2566)

KTB - โตดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (20 มี.ค. 2566)

ผู้บริหารเปิดเผยกลยุทธ์ธุรกิจและเป้าหมายทางการเงินปี FY23 โดยเป้าหมายทางการเงินส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่ดีในเชิงบวกและส่วนมากเป็นไปตามประมาณการของเรา

โดยคาดว่าสินเชื่อจะขยายตัวได้ต่อและ NIM จะปรับตัวดีขึ้น เราคงคำแนะนำซื้อ KTB ประเมินราคาเป้าหมายใหม่ที่ 23 บาท มองผลประกอบการมีแนวโน้มการเติบโตได้ดี ในขณะที่ราคาหุ้นยังมี upside อีกมากและให้เงินปันผลในระดับสูง

         

สินเชื่อมีแนวโน้มเติบโตแข็งแกร่งและมีโครงสร้างพอร์ตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

KTB คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่องได้ในปี 2023 ที่อัตราการขยายตัวราว 3.4% โดยจะได้แรงขับเคลื่อนหลักจากภาคการท่องเที่ยว ในขณะที่มี downside risk จากการชะลอตัวของการส่งออก ทั้งนี้ ผู้บริหารตั้งเป้าอัตราการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อปีนี้ที่ 3-5% โดยเฉพาะในส่วนของสินเชื่อ yield สูงในกลุ่มรายย่อย แต่จะยังระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อในกลุ่ม SMEs นอกจากนี้การปล่อยกู้สินเชื่อ yield ต่ำให้กับภาครัฐและรัฐวิสาหกิจน่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องจากที่เคยแตะระดับถึง 25% ของพอร์ตในปี 2021 ก่อนที่จะลดลงเหลือ 17% ในปี 2022 โดยคาดว่าปีนี้จะลดลงต่อเนื่องอยู่ในกรอบราว 10-15% ดังนั้น NIM ของธนาคารจึงน่าจะปรับตัวดีขึ้นได้จาก 2.6% ในปี 2022 เป็น >2.8% ในปี 2023 เนื่องจากผลของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กอปรกับพอร์ตสินเชื่อมีโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

มุ่งสู่วิถีดิจิทัลอย่างชัดเจน

KTB แสดงความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนที่จะมุ่งสู่วิถีดิจิทัล โดยมองว่า COVID-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ถึงแม้ว่าการปล่อยกู้ผ่านช่องทางดิจิทัลจะถูกมองว่าเป็นสินเชื่อกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง แต่พอร์ตสินเชื่อดิจิทัลของ KTB ทำผลงานได้ค่อนข้างน่าประทับใจ โดยสินเชื่อดิจิทัลสามารถปล่อยได้ถึง 5 พันล้านบาท หลังจากที่เพิ่งเปิดดำเนินการได้เพียงไม่กี่เดือนและสามารถบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ดี โดยมีสัดส่วน NPL อยู่ที่เพียง 2% นอกจากนี้ KTB ถือว่าแตกต่างจากธนาคารใหญ่อื่น ๆ ที่มีการประกาศพันธกิจอย่างชัดเจนที่จะยื่นขอใบอนุญาติทำธุรกิจ virtual banking ร่วมกับ AIS แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารชี้แจ้งว่ายังต้องรอข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงเกณฑ์และข้อกำหนดต่างๆจากทางธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนที่จะทำการยืนสมัครซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นขอใบอนุญาตืใน 3Q23

บริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ได้อย่างเหนือชั้น

แม้ว่า KTB จะใช้กลยุทธ์ขยายสินเชื่อเชิงรุก โดยเฉพาะสินเชื่อ yield สูงในกลุ่มลูกค้ารายย่อย แต่ผู้บริหารคาดว่าสัดส่วน NPL จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย จาก 3.3% ในปีก่อนเป็น <3.5% ในปี 2023 โดยมอง credit cost จะยังทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากประมาณ 90bps ในปีที่แล้ว เนื่องจากสัดส่วน loss coverage สูงถึง 180% ซึ่งสูงกว่าเป้าของธนาคารที่ประมาณ 170% นอกจากนี้ KTB ยังมีแผนจะใช้ข้อมูลจาก platform ดิจิทัล “Krungthai Next” และ แอพฯ “เป๋าตัง” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพอร์ต นอกจากนั้น ผู้บริหารยังเผยว่า KTB กำลังมองหาทางเลือกต่างๆ ในการจัดการกับ NPLs ซึ่งรวมถึงการตั้ง JV AMC ด้วย ถึงแม้ว่า KTB จะเป็นสถาบันการเงินของรัฐ แต่ก็ไม่มีข้อจำกัดในการจัดตั้ง JV AMC โดยผู้บริหารมองว่าแนวทางนี้ถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่จะเร่งจัดการกับ NPL ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธนาคาร และหนุนการฟื้นตัวของ ROE ซึ่งลดลงต่ำกว่า 5% ในปี 2020 จากสถานการณ์โรคระบาดก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นมาเป็น 9% ได้ในปีที่แล้ว