Sideways Up ซื้อเก็งกำไรเป็นรายตัวในหุ้น Domestic Play

Sideways Up ซื้อเก็งกำไรเป็นรายตัวในหุ้น Domestic Play

คาดดัชนีฯ เคลื่อนไหวในทิศทาง Sideways Up แนวรับ 1,612/1,600 จุด แนวต้าน 1,630/1,640 จุด ปัจจัยบวก ยังคงเป็นปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ รายงานเงินเฟ้อเดือน พ.ย. ต่ำกว่าที่ตลาดคาด ลดแรงกดดันกนง. ในการเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไทย

เช่นเดียวกับแรงกดต่อการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ นอกจากนี้ Valuation ของตลาดหุ้นไทยและค่าเงินบาทยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการไหลเข้าของนักลงทุนต่างชาติ สะท้อนจาก Earnings Yield Gap ที่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย 12 เดือน ขณะที่เครื่องมือ KTX USDTHB Carry Trade ของเรายังคงอยู่ห่างจากภาวะ Overbought บ่งชี้ถึงโอกาสในการแข็งค่าของค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยลบ คือ การปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดสูงกว่าที่คาด หลังจากตัวเลขการจ้างงานและ ISM Services PMI ดีกว่าคาด จนกระทั่งนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ด้านสัญญาณทางเทคนิค ดัชนีฯ กลับสู่ภาวะการพักฐานอีกครั้งหลังจากวานนี้ปิดต่ำกว่า 1,630 จุด โดยมีแนวรับสำคัญที่ 1,612 จุด ซึ่งหากหลุดบริเวณดังกล่าวจะเป็นสัญญาณขาย และสัญญาณการจบรอบขาขึ้น คำแนะนำ ซื้อเก็งกำไรเป็นรายตัวในหุ้น Domestic Play หุ้นแนะนำวันนี้ M MINT RBF

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ

+ KTX Portfolio: พอร์ต Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC CK TCAP CENTEL BEM CPALL AOT EA PTG CPN MINT KTB TTB BDMS PLANB (ซื้อ BH)

+ Daily Recommendations: M MINT RBF (ได้ประโยชน์จากต้นทุนวัตถุดิบอาหารที่มีแนวโน้มลดลง หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูกคลี่คลาย หนุน GPM สูงขึ้น)

+ หุ้นที่ได้ประโยชน์จากต้นทุนอาหารสดที่ลดลง: M MINT RBF

+ หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการเปิดตัวรถ Tesla ในไทย: KKP TISCO TCAP

+ หุ้นได้ประโยชน์จากมาตรการรัฐ: ERW CENTEL AWC AOT AAV BA BAFS CPALL CRC SNNP

 

ปัจจัยบวก

+ Thailand: เงินเฟ้อเดือน พ.ย. อยู่ที่ 5.55% YoY ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 5.89% YoY จากการชะลอตัวของราคาอาหารสด หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เพาะปลูกคลี่คลาย ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารมีแนวโน้มลดลง เป็นบวกต่อกำไรของหุ้นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม

 

 

 

 

ปัจจัยลบ

- US: ความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ซึ่งจะกระทบอุปสงค์พลังงานและสินค้าส่งออกของไทย เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และปิโตรเคมี ส่งผลให้เกิดแรงขายในหุ้นกลุ่มดังกล่าว ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อดัชนีฯ สูง ทำให้ SET Index ปรับตัวลดลง กดดัน Sentiment การลงทุนในตลาดหุ้นไทย

 

ประเด็นสำคัญ

     - Thailand: Opportunity Day: MAKRO THANA WINMED AMR TRU ACE

     - EU: สุนทรพจน์ของประธาน ECB นางคริสตีน ลาการ์ด

     - US: จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดา คาด 2.3 แสนราย (vs สัปดาห์ก่อนหน้า 2.25 แสนราย)

 

Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

- ตลาดหุ้นไทยปิดลบต่อเนื่องเป็นวันที่ 3: SET Index แกว่งตัวในกรอบ 1,629–1,636 จุด ในตลาดภาคเช้าก่อนจะร่วงหนักตั้งแต่เปิดตลาดภาคบ่าย ทำจุดต่ำสุดที่ 1,621 จุด ก่อนจะปิดที่ 1,622.28 จุด -10.69 จุด วอลุ่มซื้อขาย 5.5 หมื่นล้านบาท นำลบโดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -5.37% กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค -1.27% กลุ่มวัสดุก่อสร้าง -0.34 และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -0.31% หุ้นบวก >4% UBA MTW A5 PRI RBF NCAP BRR Q-CON CPANEL NATION หุ้นลบ >4% DELTA TEAM TC NUSA RS III BA PIMO STP UPA

 

+/- หุ้นสหรัฐฯ ปิดคละ ส่วนหุ้นยุโรปปิดลบ: DJIA +0.00% S&P500 -0.19% NASDAQ -0.51% ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่าการใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินของเฟด จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน นำลงโดยหุ้นกลุ่มเทคฯ กลุ่มพลังงาน และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ส่วนหุ้นยุโรป CAC40 -0.41% DAX -0.57% FTSE -0.43% นำลบโดยหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มธนาคารร่วงลง เนื่องจาก นักลงทุนมีความวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย แต่การปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มเฮลท์แคร์ได้ช่วยพยุงตลาด

+/- ราคาน้ำมันดิบปิดลบ ส่วนทองคำปิดบวก: WTI -USD2.24 ปิดที่ USD72.01/บาร์เรล Brent -USD2.18 ปิดที่ USD77.17/บาร์เรล โดยตลาดถูกกดดันจาก ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของอุปสงค์เชื้อเพลิงในสหรัฐฯ หลังจากตัวเลขสต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในสัปดาห์ที่แล้ว (+5.32 ล้านบาร์เรล vs คาด +2.70 ล้านบาร์เรล) ส่วนราคาทองคำ +USD15.60 ปิดที่ USD1,798.00/ออนซ์

 

ประเด็นสำคัญ

+ Thailand: กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ย. 2022 อยู่ที่ 107.92 เพิ่มขึ้น 5.55% จำกช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 11 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ย.) เพิ่มขึ้น 6.10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย. ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะผักสด ผลไม้สด เนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหาร

+ Thailand: กกร. คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2023 มีแนวโน้มขยายตัวที่ 3.0-3.5% ซึ่งจะเป็นอัตราการเติบโตที่น้อยกว่าประเทศ คู่เทียบในภูมิภาคอาเซียนอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ขณะที่การส่งออกประเมินว่าจะชะลอตัวตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอลง ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวในกรอบ 1.0-2.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในกรอบ 2.7-3.2%

+ US: EIA เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ลดลง 5.2 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลงเพียง 2.6 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 5.3 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรล

- China: สำนักงานศุลกากรจีน (GAC) รายงานในวันนี้ว่า ยอดส่งออกเดือน พ.ย. หดตัวลง -8.7%YoY ซึ่งย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ว่าอาจลดลง -3.5% หลังจากที่ขยับลง 0.3% ในเดือน ต.ค. โดยยอดส่งออกของจีนได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัวลง

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: CPN CPALL MINT

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: M MINT RBF

Derivatives: ถือ Short S50Z22 รอทำกำไรตามเป้า