จริงหรือไม่ที่ตระกูลรอธส์ไชลด์ควบคุมเงินทั้งโลก?
ตระกูลรอธส์ไชลด์ (Rothschild family) เป็นชาวยิวที่มีชื่อเสียงในวงสังคมชั้นสูง ปัจจุบันแตกออกเป็นหลายสาย เช่น สายขุนนางอังกฤษที่มีชื่อเสียงในฐานะนักการเมืองระดับโลกและสายนายทุนฝรั่งเศส ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องการผลิตไวน์หรูชั้นเลิศ
แต่จริงๆ แล้วตระกูลรอธส์ไชลด์มาจากแฟรงก์เฟิร์ตในเยอรมนี ทำธุรกิจการเงินมาตั้งแต่ยุคโบราณ เพราะการทำธุรกิจการเงินเช่นการปล่อยเงินกู้เป็นอาชีพที่ชาวยิวถนัดและผูกขาดมาตั้งแต่ยุคโบราณของยุโรป เนื่องจากชาวคริสต์ยุคโบราณ (รวมถึงคนมุสลิม) จะไม่ปล่อยเงินกู้ที่คิดดอกเบี้ยเพราะถือว่าขัดต่อหลักศาสนา แต่ชาวยิวจะปล่อยเงินกู้คิดดอกเบี้ย เพราะเป็นเพียงไม่กี่อาชีพที่จะเลี้ยงตัวเองได้ในยุคที่ชาวยิวถูกควบคุมอย่างหนักจากชาวคริสต์ไม่ให้ทำอาชีพตามใจชอบและต้องอยู่ในเกตโต Ghetto หรือสลัม ชุมชนแออัดของชาวยิว ที่มีการจำกัดการเข้าออก การคิดดอกเบี้ยทำให้ชาวยิวถูกดูหมิ่นแต่ก็ทำให้พวกเขาร่ำรวยอย่างมาก ตระกูลรอธส์ไชลด์ก็เป็นหนึ่งในคนกลุ่มนั้นให้กู้เงิน เลยเก่งบัญชีโคดๆ ยักย้ายถ่ายเงินเป็น เก่งการเงินมาก เชี่ยวชาญความเป็นนายธนาคารจำเป็น กับราชวงศ์
ผู้นำของตระกูลรอธส์ไชลด์ในแฟรงค์เฟิร์ท คือ เมเยอร์ อัมเชล รอธส์ไชลด์(Mayer Amschel Rothschild) เป็นหนึ่งในชาวยิวเพียงไม่กี่คนที่ใกล้ชิดกับราชวงศ์เยอรมันเพราะเขาจัดการเงินส่วนใหญ่ให้ชนชั้นสูง ทำให้เขาและลูกชายทั้ง 5 คนจึงสามารถได้รับสิทธิพิเศษทางสังคม เช่น อาศัยอยู่ที่ราชสำนักต่างๆหรือนอกเกตโต (สลัมของชาวยิว) จากนั้น เขาก็ส่งลูกของเขาทั้ง 5 คนไปวางรากฐานธุรกิจการธนาคารในเมืองหลวงสำคัญของยุโรปในเวลานั้นและสร้างความใกล้ชิดกับชนชั้นสูงในเมืองเหล่านั้น กลายเป็นที่มาของตระกูลรอธส์ไชลด์สายลอนดอน, ปารีส, เวียนนา, และเนเปิลส์ และมีลูกคนโตควบคุมกิจการที่แฟรงค์เฟิร์ท (ต่อมาลูกคนโตที่แฟรงค์เฟิร์ทตายไปโดยไม่มีทายาท ทำให้ทรัพย์สินโอนไปยังสายเวียนนา)
จนกระทั่งศตวรรษที่ 18 คนในตระกูลรอธส์ไชลด์ก็เป็นนายธนาคารที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่งทำให้พวกเขาเป็นหนึ่งในตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 19 พวกเขาเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีส่วนร่วมในตลาดการเงินเกือบทุกแห่งในยุโรป ทำให้แม้ว่าจะเป็นชาวยิวแต่สมาชิกในครอบครัวบางคนก็ได้รับการยกระดับสถานะให้เป็นขุนนาง เช่น ตระกูลรอธส์ไชลด์ในอังกฤษและในฝรั่งเศส ในขณะที่ตระกูลรอธส์ไชลด์สายอื่นใกล้ชิดกับชนชั้นสูงของยุโรปมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะนายทุนที่สนับสนุนระบบกษัตริย์ เช่นตระกูลรอธส์ไชลด์สายเนเปิลส์ ซึ่งควบคุมกิจการธนาคารในอิตาลีตอนใต้ ให้การสนับสนุนกษัตริย์แห่งเนเปิลส์และซิซิลี (หรือราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง) ในการต่อต้านการปฏิวัติอิตาลี จนในศตวรรษที่ 19 กล่าวกันว่าไม่มีประเทศใดในยุโรปที่สามารถสนับสนุนการทำสงครามโดยปราศจากตระกูลรอธส์ไชลด์ที่ควบคุมพื้นที่นั้นๆ
เช่น ตัวอย่างของตระกูลรอธส์ไชลด์สายเนเปิลส์ที่เคยมีอิทธิพลอยางมากในการสนับสนุนราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสองและยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางเหมือนกับสายอังกฤษด้วย ในเวลานั้น อิตาลียังไม่ได้เป็นประเทศ แต่แตกแยกเป็นอาณาจักร, สาธารณรัฐ, และรัฐดยุคต่างๆ จนกระทั่งมีความพยายามที่จะรวมอิตาลีเป็นหนึ่งเดียวโดยนักปฏิบัติผู้ยิ่งใหญ่ คือ จูเซปเป การิบัลดี ตอนนั้น ตระกูลรอธส์ไชลด์สายเนเปิลส์เลือกที่จะเข้าข้างราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสองในการต่อต้านการวมชาติ แต่ปรากฏว่าราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสองพ่ายแพ้ กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์นี้ถูกโค่นล้ม ตระกูลรอธส์ไชลด์สายเนเปิลส์จึงเดิมพันผิดข้างนอกจากนี้ รอทไชลด์สายลอนดอน, ปารีส และเวียนนา ก็ยังไม่ช่วยเหลือเพราะไม่เห็นประโยชน์ที่จะสนับสนุนทางการเงินแก่กษัตริย์ที่ถูกโค่นล้ม ดังนั้น ตระกูลรอธส์ไชลด์สายเนเปิลส์จึงล่มสลายไปด้วย
ตัวอย่างของตระกูลรอธส์ไชลด์สายเนเปิลส์เป็นการเดิมพันที่ผิดพลาด แต่แสดงให้เห็นว่าพวกเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองโลกอย่างไร ยังมีกรณีตัวอยางที่โด่งดังมากและเป็นความสำเร็จของตระกูลรอธส์ไชลด์ในการแทรกแซงตลาดการเงินด้วยอิทธิพลทางการเมือง
เริ่มจากการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งโค่นล้มกษัตริย์ฝรั่งเศสราชวงศ์บูร์บง ทำให้ราชอาณาจักรอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ กังวลจนต้องทำสงครามกับฝรั่งเศส เช่น จักรวรรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ออสเตรีย แต่ตระกูลรอธส์ไชลด์ใช้โอกาสนี้เป็นนายทุนจัดหาอาวุธให้ ต่อมา เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสเอาชนะการรุกรานของอาณาจักรต่างๆ ได้สิ่งที่ตามมาคือการก้าวขึ้นมาสู่อำนาจของนายทหารชื่อ นโปเลียน ที่เป็นแม่ทัพฝ่ายปฏิวัติฝรั่งเศส แต่ต่อมาเขายกตัวเองเป็นจักรพรรดิและทำการรุกรานดินแดนต่างๆ ในยุโรป จนเป็นภัยคุกคามร้ายแรงกวาการปฏิวัติฝรั่งเศสเสียอีก ถึงตอนนี้มีข่าวลือที่ว่าตระกูลรอธส์ไชลด์ต้องการโค่นล้มจักรพรรดินโปเลียนของฝรั่งเศสที่ทำการรุกรานประเทศต่างๆ ในยุโรป รอธส์ไชลด์สายอังกฤษและสายพันธมิตรจึงดำเนินการจัดหาเงินทุนให้กับฝ่ายศัตรูของนโปเลียน
ในช่วงสงครามนโปเลียน ตระกูลรอธส์ไชลด์สายลอนดอนมีบทบาทเป็นพิเศษเพราะอังกฤษเป็นแกนนำสำคัญในการต่อต้านนโปเลียนและยังเป็นประเทศเดียวที่นโปเลียนยังไม่ส่งกองทัพไปรุกราน จนในที่สุด สงครามกับนโปเลียนมาถึงจุดชี้ขาดที่สมรภูมิวอเตอร์ลู ในเวลานั้น นอกจากตระกูลรอธส์ไชลด์จะเป็นนายทุนให้กับอาณาจักรต่างๆ ต่อสู้กับนโปเลียนแล้ว โดยเฉพาะการเป็นนายทุนให้กับกองทัพอังกฤาแบบผูกขาด ซึ่งถือเป็นการเดิมพันทางการเมืองอย่างหนึ่ง (หากชนะพวกเขาก็จะยิ่งใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจการเมืองและทำให้ควบคุมการเงินการคลังของประเทศต่างๆ ได้มากขึ้น) พวกเขายังหาเเงินด้วยการเดิมพันกับตลาดทุนด้วยเพราะตลาดการเงินโลกเคลื่อนไหวไปมาตามข่าวการเมืองตั้งแต่ยุคปฏิวัติฝรั่งเศสแล้ว พันธบัตรและหุ้นจะขึ้นๆ ลงๆ ตามข่าวการแพ้ชนะของสงคราม ดัวนั้น แม้ว่ารอทไลด์สายต่างๆ จะเป็นที่ปรึกษาการเงินให้ประเทศที่เป็นศัตรูกัน แต่พวกเขาทำงานร่วมกัน และหาโอกาสจากชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ของประเทศที่พวกเขารับใช้อยู่
ผู้นำรอธส์ไชลด์สายอังกฤษ คือ นาทาน รอธส์ไชลด์ (Nathan MayerRothschild) สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในการบงการตลาดทุน ด้วยการใช้ข่าววงในที่จะส่งผลต่อราคาหุ้นและพันธบัตร เขาส่งคนไปติดตามการรบที่สมรภูมิวอเตอร์ลูสายข่าวที่เขาส่งไปติดตามการรบได้ข่าวมาก่อนใครว่านโปเลียนพ่ายแพ้ สายข่าวของเขาต้องเร่งเดินทางไม่หยุดจากเบลเยียมแล้วข้ามมาอังกฤษแยยนันสต็อปทำให้เขาบงการตลาดหุ้นในลอนดอนได้ก่อนใครหลายวัน ข้อมูลตรงนี้ยังไม่มีการยืนยัน แต่เล่ากันว่า นาทาน รอธส์ไชลด์ ได้ข่าวมาแล้วว่านโปเลียนแพ้ และมันจะทำให้หุ้นของรัฐบาลอังกฤษและพันธมิตรพุ่งขึ้นมา เขาก็จัดการปล่อยข่าวก่อนว่านโปเลียนชนะ (บางข้อมูลบอกว่าเขาทำช็อตด้วยการขายหันธบัตรรัฐบาลเพื่อตบตานักลงทุนคนอื่น ทำให้พคนอื่นคิดว่าเขาได้ว่ามาว่าอังกฤษแพ้) ทำให้ราคาพันธบัตรและหุ้นตกลงมา จากนั้นก็ทำการช้อนซื้อ กว่าที่ข่าวการรบจะมาถึงตลาดเขาก็เป็นเจ้าของหุ้นที่ทำราคามหาศาลไปเรียบร้อยแล้วเมื่อข่าวจริงมาถึงแล้วประกาศว่าพันธมิตรอังกฤษเอาชนะนโปเลียนได้
จากเหตุการณ์ครั้งนั้น เขาสามารถซื้อพันธบัตรทั้งหมดที่ธนาคารแห่งอังกฤษ(Bank of England) ออกในปีนั้น หลังจากข่าวการชนะสงครามมาถึงมูลค่าพันธบัตรอังกฤษก็สูงขึ้นมากจนนาธานทำกำไรได้ 20% จากการลงทุนในพันธบัตรทั้งหมด และจากเหตุการณ์นี้ที่ทำให้เขาช้อนซื้อพันธบัตรเอาไว้หลังจากผู้คนแห่เทขาย ทำให้ตระกูลรอธส์ไชลด์สายอังกฤษเป็นเจ้าของพันธบัตรทั้งหมดในสหราชอาณาจักร พวกเขาจึงเป็น "เจ้าของ" หรือผู้ที่ควบคุมเศรษฐกิจของอังกฤษและธนาคารแห่งอังกฤษ ซึ่งเป็นธนาคารแห่งชาติ และในเวลาน้นคือศูนย์กลางกำหนดเศรษบกิจโลก เพราะหลังจากนั้นไม่นานโลกจะใช้เงินปอนด์ของอังกฤษเป็นสกุลเงินหลักและกำารกหนดปริมาณเงินและดอกเบี้ยของ Bank ofEngland จึงเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลกด้วย ดังนั้น เมื่อ Bank ofEngland อยู่ในความควบคุมของรอธส์ไชลด์ ก็เท่ากับว่ารอธส์ไชลด์ควบคุมการเงินของโลกไว้ จนกล่าวกันว่า เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 19 ตระกูลรอธส์ไชลด์ได้ควบคุมความมั่งคั่งของโลกเอาไว้ถึงครึ่งหนึ่ง
ในขณะเดียวกัน หลังความพ่ายแพ่ของฝรั่งเศสหรือยุคหลังนโปเลียน แทนที่รอธส์ไชลด์สายฝรั่งเศสจะจบสิ้นลง พวกเขาใช้โอกาสนี้สร้างความมั่งคั่งขึ้นมาได้แบบเหลือเชื่อ โดยหลังจากสงครามนโปเลียน รอธส์ไชลด์สายฝรั่งเศสที่เคยเป็นรัฐมนตรีคลังและที่ปรึกษาการเงินของผู้นำฝรั่งเศสไม่ได้ล่มสลายไปตามผู้นำของพวกเขา แต่กลับมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูประเทศ พวกเขาคือผู้จัดหาเงินทุนสำหรับการก่อสร้างทางรถไฟและธุรกิจเหมืองแร่ที่ช่วยทำให้ฝรั่งเศสกลายเป็นมหาอำนาจทางอุตสาหกรรม นอกจากนี้รอธส์ไชลด์สายฝรั่งเศสยังหันมาลงทุนที่หลากหลายขึ้น เช่น การนำเข้าชาและอุตสาหกรรมไวน์ "Rothschild " อันมีชื่อเสียงโด่งดังจนถึงทุกวันนี้ จนทำให้ผู้นำรอธส์ไชลด์สายฝรั่งเศสกลายเป็นชายที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของโลก และในเวลาต่อมาพวกเขาจะเป็นผู้บริจาคเงินช่วยเหลือขบวนการก่อตั้งรัฐอิสราเอลในดินแดนปาเลสไตน์ โดยมีรอธส์ไชลด์สายอังกฤษเดินเรื่องจัดหาที่ดินให้ชาวยิวอพยพไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ เพราะในเวลาต่อมาอังกฤาจะควบคุมตะวันออกกลางเอาไว้
ย้อนกลับมาที่ "ตำนาน" เรื่องรอธส์ไชลด์สายอังกฤษบงการตลาดทุน จึงทำให้มีเสียงร่ำลือว่าตระกูลรอธส์ไชลด์เข้าควบคุมเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ รวมถึงธนาคารชาติของประเทศต่างๆ ด้วยการหาโอกาสเข้าไปซื้อพันธบัตรมาครอบครองด้วยวิธีการต่างๆ จนกระทั่งมีข่าวลือว่ารอธส์ไชลด์เป็นเจ้าของตัวจริงของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ Federal Reserve ผู้ควบคุมทิศทางเศรษฐกิจของประเทศและของโลกด้วยการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและการปล่อยประแสเงินออกมาหมุนเวียนในระบบโลก ซึ่งก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Federal Reserve ก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมายของรัฐสภาในปี 1913 หรือ Federal Reserve Act และไม่ได้มีบุคคลหรือครอบครัวใดๆ เป็เจ้าของรวมถึง รอธส์ไชลด์ เพราะธนาคารกลางสหรัฐอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการผู้ว่าการที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และการตัดสินใจอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐสภา ดังนั้น มันจึงดูเหมือนเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ Federal Reserve มีทุนสำรองที่อิงกับหุ้นของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่างๆ และทุนเหล่านั้นเชื่อว่าอยู่ในกำมือของรอธส์ไชลด์
ดังนั้นจึงบางมีทฤษฎีบอกว่า นาทาน รอธส์ไชลด์ ผู้ที่ควบคุมการเงินโลกในตอนนั้นผ่าน Bank of England จึงบงการให้มี Federal Reserve เกิดขึ้นมาเพื่อควบคุมการเงินโลกทั้งให้ครอบคลุมมากขึ้น ดังนั้นตัวแทนของรอธส์ไชลด์ในสหรัฐอเมริกา คือบริษัทการเงินที่ทรงอิทธิพล คือ J. P. Morgan Co. และ Kuhn,Loeb & Co. จึงมีบทบาทในการประชุมเกาะเจคิลล์ซึ่งมีการร่างกฎหมาย FederalReserve Act ที่นั่น จากนั้นบริษัทตัวแทนของรอธส์ไชลด์ทั้งสองแห่งก็เคลื่อนไหวจนกฎหมายผ่านออกมาและมีการการตั้ง Federal Reserve ในปี 1913 โดยหนึ่งในข้อกำหนดของการตั้งคือหน่วยงานนี้ต้องมีทุนอิงไว้ ปรากฎว่าในปี 1914บริษัทตัวแทนของรอธส์ไชลด์สามารถซื้อหุ้นใน Federal Reserve Bank of NewYork ในอัตราที่ควบคุมทิศทางของหน่วยงานนี้ได้ และสาขานิวยอร์กของFederal Reserve คือสาขาที่ทรงอิทธิพลที่สุด เพราะนิวยอร์กคือหนึ่งในศูนย์กลางการเงินโลก เก็บทอง
บริษัทของรอธส์ไชลด์เหล่านี้จะส่งเจ้าหน้าไปดำรงตำแหน่งคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐและสภาที่ปรึกษาของรัฐบาลกลางนับตั้งแต่นั้น และซื้อหุ้นในอัตราที่ควบคุม Federal Reserve สาขาต่างๆ เอาไว้ได้ และมีข้อมูลจากรายงานเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการการธนาคารสภาผู้แทนราษฎร เดือนสิงหาคม 1976 รวมถึงรายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันของธนาคารกลางสหรัฐทั้ง 12 แห่งระดับภูมิภาค แสดงให้เห็นการควบคุมแบบครอบครัวเดียวกันนี้ ซึ่งหมายความว่ารอธส์ไชลด์รวมถึงตระกูลอื่นๆ ในเครือข่ายของพวกเขาสามารถควบคุมกระแสเงินของโลกได้ และหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ศูนย์กลางการเงินของโลกย้ายจากลอนดอนมายังสหรัฐฯ หรือนิวยอร์กและวอชิงตันดีซี รวมถึงการให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯกลายเป็นเงินสกุลหลักของโลก ทำให้ Federal Reserve กลายเป็นผู้กำหนดกระแสเงินของโลกมากขึ้น เช่น การขึ้นหรือลงอัตราดอกเบี้ยของ FederalReserve สามารถบงการกระแสเงินของโลกได้
เครือข่ายของรอธส์ไชลด์จะเห็นได้จากโครงสร้างผู้ควบคุม จากรายงานชื่อFederal Reserve Directors: A Study of Corporate and Banking Influence เมื่อปี 1976 โดยชาร์ตการควบคุมเริ่มต้นที่ N.M. Rothschild , London - Bank of England (หรือ นาทาน รอธส์ไชลด์) ผู้ควบคุมสถาบันการเงิน J. Henry Schroder Banking Corp. บริษัทการเงินชั้นนำของอังกฤษ จากนั้นชาร์ตไล่ลงมาเรื่อยๆ โยงบุคคลต่างๆ ใน Bank of England กับตระกูลรอธส์ไชลด์ที่ควบคุมนโยบายการเงินของประเทศและตระกูลชโรเดอร์ที่ควบคุมบริษัทการเงิน จากนั้นชาร์ตก็จะโยงมาถึงบริษัทการเงินในสหรัฐอเมริกา เช่น Lehman Brothers และJ.P. Morgan ในนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเครือข่ายของรอธส์ไชลด์ และควบคุม FederalReserve ในนิวยอร์กอีกต่อหนึ่ง save-a-patriot.org ชาร์ตนี้แสดงให้เห็นว่ารอธส์ไชลด์มีบทบาทในธนาคารกลางอังกฤษและสหรัฐอย่างไร แต่พวกเขาไม่ได้ทำเพียงลำพัง เพราะต้องร่วมมือกับอีกตระกูลการเงินที่มีอิทธิพลมากในอังกฤษ คือ ตระกูลชโรเดอร์ (Schroder)
ตัวอย่างของความร่วมมือนี้ก็คือ เซอร์ กอร์ดอน ริชาร์ดสัน ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ Bank of England (ซึ่งควบคุมโดยรอธส์ไชลด์) ตั้งแต่ปี 1973 - 1983 เขาเคยเป็นประธานของบริษัท J. Henry Schroder Wagg และ Company of London ตั้งแต่ปี 1963-72 และเป็นผู้อำนวยการของ J. Henry Schroder สาขานิวยอร์กและ Schroder Banking Corporation สาขานิวยอร์ก และ Lloyd's Bank of London และแม้ว่า เซอร์ กอร์ดอน ริชาร์ดสัน จะเป็นขุนนางอังกฤษและเป็นผู้ว่าการธนาคารชาติของอังกฤษ นั่นคือ Bank of England แต่เขาอาศัยอยู่ที่ Sutton Place ในนครนิวยอร์ก และในฐานะหัวหน้าของ "The London Connection" ซึ่งเชื่อมโยงโลกการเงินของอังกฤษกับสหรัฐอเมริกาและหมายถึงการควบคุมกระแสเงินของโลกเอาไว้นั่นเอง อาจกล่าวได้ว่าเป็นนายธนาคารที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกคนหนึ่ง แต่สาเหตุนั้นเป็นเพราะเขามีคอนเนกชั่นเบื้องหลังกับตระกูลรอธส์ไชลด์และตระกูลชโรเดอร์นั่นเอง