เทคโนโลยี Web 3.0 กับ Soft power ของไทย

แต่ละประเทศในตอนนี้อยู่ในช่วงที่ต้องปรับตัวให้ทันกับกระแสโลกที่เปลี่ยนไปทุกวัน การปรับสมดุลกันระหว่าง การสร้างรายได้แบบดั้งเดิมให้แข็งแรงมากขึ้น และการสร้างรายได้ทางใหม่ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเป็นสิ่งที่จำเป็น

Soft power ถูกพูดถึงอย่างเป็นวงกว้าง ที่เห็นได้ชัดคือกระแส Kpop ของประเทศเกาหลีใต้ ที่เรียกได้ว่า สร้างผลงานได้อย่างประจักษ์ชัด ไม่เพียงนำเม็ดเงินเข้าประเทศได้อย่างมหาศาล ยังได้ฝังรากวัฒนธรรมเข้าไปยังประเทศต่างๆได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามเราสามารถมองว่าสิ่งนี้ คือโอกาสได้ ประเทศไทยเต็มไปด้วยบุคลากรที่มีความสามารถและเรียกได้ว่าเป็นผู้มีพรสวรรค์มากมาย เพราะด้วยข้อจำกัดหลายอย่างในอดีต เรายังสามารถสร้างผลงานอันทรงคุณค่าได้มากมาย เราเก็บซ่อนเพชรเม็ดงามไว้ในวงการต่างๆ โดยยังไม่มีโอกาสได้เปิดเผยสู่สายตาชาวโลกอย่างเต็มที่

การเข้ามาของเทคโนโลยี Web 3.0 ทำลายขีดจำกัดบางประการของการนำเสนอผลงานออกสู่ผู้ชม

จากเดิมที่อำนาจการตัดสินใจอยู่ในมือของคนกลาง เทคโนโลยี Web3.0 จะถ่ายโอนอำนาจสู่คนดู และสู่ผู้สร้างผลงาน สร้างช่องทางเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างคนสองฝั่ง เพิ่มรายได้จากส่วนที่เคยหายไป และเพิ่มโอกาส และช่องทางสู่ผู้รับชมรายใหม่ๆ

สิ่งหนึ่งที่เราพบว่า เป็นปัจจัยสำคัญของ Soft power คือ ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีจำนานมหาศาล และเป็นปัจจัยหลักในการเชื่อมต่อผู้คน และประสานเรื่องราวนำพา Soft power เหล่านั้นสู่จุดที่เป็นกระแสในสังคมโลกได้

นอกจากนี้การรวมกลุ่มของผู้คนที่ชื่นชอบใน Sub culture ต่างๆ ยังเป็นแรงขับเคลื่อน ที่ทำให้เกิดกระแสที่ขยายวงกว้างออกไป

เทคโนโลยีที่เป็นทั้งตัวสร้างมูลค่าให้กับทรัพย์สินทางปัญญาและยังสามารถเป็นตัวรวมกลุ่มผู้คนได้ในปัจจุบัน เห็นจะหนีไม่พ้น NFT ด้วยความที่มีชิ้นเดียวในโลก และการส่งต่อให้กันทำได้อย่างรวดเร็ว และไม่จำกัด ทำให้ NFT ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย

จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ใหญ่ๆ หรือผู้ที่จับประโยชน์ของ NFT ได้ ต่างมองเห็นขุมทรัพย์มหาศาลที่สามารถต่อยอดได้อย่างไม่รู้จบ

ในประเทศเกาหลีใต้ เราเริ่มเห็นการจับมือกันของบริษัทด้านเทคโนโลยี และบริษัทด้านอุตสาหกรรมบันเทิงที่มีทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเหลือเฟือ หรือแม้กระทั่งการฝังความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีเข้าไปในบทเพลง MV หรือซีรี่ย์เรื่องดังอย่างแยบยล

ไม่เพียงแต่ NFT แต่เทคโนโลยีบล็อคเชน ยังทำให้เกิดช่องทางธุรกิจแบบใหม่ เช่น ความสามารถของการ Micropayment ทำให้ User ที่เคยถูกมองว่าเป็นคนตัวเล็ก มีอำนาจรวมกลุ่มและชี้แนวทางที่อยากให้เกิดได้

เทคโนโลยีบล็อคเชนยังนำมาซึ่งความโปร่งใส และการยืนยันชิ้นงานว่าเป็นของแท้หรือไม่

ยกตัวอย่างง่ายๆ ผลงานศิลปะภาพวาดที่ขายเป็นหน้าปกของนิยายออนไลน์ สามารถใช้เทคโนโลยี NFT เพื่อใช้ยืนยันความเป็นเจ้าของ และไม่ใช่รูปที่ไปเซฟแอสมาโพสต์เอง

หรือช่องทางของอินฟลูเอนเซอร์ปัจจุบัน ที่อดีตจำเป็นต้องรับงานโฆษณาเพื่อสร้างรายได้ ปัจจุบัน สามารถใช้ NFT ทดแทนโมเดล Subscriptions ที่ต้องถูกหักเงินให้แพลตฟอร์ม มาเป็นรายได้เพื่อสนับสนุนความฝันของตัวเองอย่างยั่งยืน

ระบบการสตรีมมิ่งบน Web3.0 ทำให้ผู้ชมจ่ายรายได้ให้กับศิลปินโดยตรง

ไม่เพียงแต่ในมุมผู้ใช้งาน สินค้าหรือเอเจนซี่สามารถ เลือกพรีเซนเตอร์หรืออินฟลูเอนเซอร์ ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และยังเพิ่ม ความเหนียวแน่นในกลุ่มผู้สนับสนุนสินค้าเหล่านั้น

เทคโนเลยเหล่านี้ยังนับว่าเป็นสิ่งที่ใหม่และต้องอาศัยการสร้างความตระหนักและความเข้าใจอีกมาก แต่หากรอเรียนรู้จากเคสที่ประสบความสำเร็จ เราจะกลายเป็นผู้ตามในเกมส์ที่คนอื่นสร้างขึ้นเสมอ

เราสามารถที่จะเริ่มจากสิ่งที่เรามี เช่น ฟุตเตจที่ตัดใจทิ้งไม่ได้ รูปภาพสำคัญที่ทรงคุณค่าเกินกว่าจะทิ้ง ของเหล่าที่สามารถนำกลับมาสร้างมูลค่าได้ไม่รู้จบ ถ้ารู้วิธิใช้

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็น NFTหรือ web3.0 Streaming platform ก็เป็นเทคโนโลยีหนึ่ง การจะนำมาใช้อย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรค์ และความพร้อมของการก้าวเข้ามาในโลกที่ผู้มองเห็นอนาคตเป็นผู้ก้าวนำและอาจจะเป็นผู้ชนะในตลาดอนาคตนั่นเอง