บิทคับ ชี้กลไก'บล็อกเชน' พัฒนา'โทเคนคาร์บอนเครดิต' สู่เป้าหมาย Net Zero

บิทคับ ชี้กลไก'บล็อกเชน' พัฒนา'โทเคนคาร์บอนเครดิต' สู่เป้าหมาย Net Zero

บิทคับ ฉายภาพตลอด 10ปีข้างหน้า เส้นทางสู่เป้าหมาย Net Zero ทุกอุตสากรรม ต้องใช้กลไก สร้างแรงจูงใจทางบวก-ลบ และให้รางวัล-ลงโทษ พร้อมขับเคลื่อนด้วย Digital Economy ทั้ง Climate Tech-Digital Money ย้ำ 'บล็อกเชน' ช่วยพัฒนาโทเคนคาร์บอนเครดิต ต่อยอดสู่ธุรกิจอื่น และเมตาเวิร์ส

นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวในงานสัมมนา GO GREEN 2023 Business Goal to the Next Era หัวข้อ Carbon Market : New Economy จัดโดย กรุงเทพธุรกิจ ว่า หลังจากนี้ในอีก10ปีข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงเรื่อง GREEN จะเป็นสิ่งที่เรียกว่า Carrot and Stick approach ( การใช้แรงจูงใจทางบวกและทางลบ ) และ reward and punishment mechanism (กลไกการให้รางวัลและการลงโทษ) จะเกิดขึ้นในทุกอุตสาหกรรม

และมองว่า เป็นโอกาสอย่างมหาศาล เพราะทุกประเทศกำลังจะขับเคลื่อน Carbon Net Zeroไปด้วยกัน ไม่อย่างนั้นโลกของเราอยู่ไม่รอด

โดยทุกประเทศจะขับเคลื่อนไปสู่ทางฝั่ง Digital Economy มากยิ่งขึ้น เพราะจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค และเปลี่ยนวิธีการทำงาน โดยที่ไม่ใช่ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองในอนาคต

"เชื่อว่า ทุกอุตสาหกรรมทุกกระบวนการผลิตต้องเป็นดิจิทัล ถ้าหากธุรกิจการเงินต้องยังตัดต้นไม้ หรือนำพลาสติก เพื่อนำมาเป็นกระดาษ เป็นเงิน จะไม่เป็นทางไปสู่ Carbon Net Zero ได้เลย"

สำหรับ “บิทคับ” จึงต้องสร้างเป็นแอพพลิเคชั่นเรเยอร์ ด้วน เทคโนโลยีบล็อกเชน บนโปรโทคอลใหม่ ที่เรียกว่า Digital Money ไม่เฉพาะคริปโทเคอร์เรนซี่ แต่สามารถนำไปสู่การ tokenization คาร์บอนเครดิต หรือแม้แต่ ตราสารหนี้ หุ้น แลกเปลี่ยนเงิน ซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงขยายไปสู่ธุรกิจอื่นๆได้ และในโลกของเมตาเวิร์ส

“หากวันนี้ทางรัฐบาลและทุกคนอนุญาตให้บิทคับทำ ขอเวลาเพียง 1วัน ทำtokenization กระบวนการสร้างตัวแทนของคาร์บอนเครดิต ให้ทุกคนเทรดได้เลย เพียงแต่เราต้องสร้างมาตรฐานและแก้ไขกฎหมาย เชื่อว่าโลกในอนาคตขับเคลื่อนไปในทิศทางนี้แน่นอน ”

นายจิรายุส กล่าวด้วยว่า เชื่อหรือไม่ว่า นักธุรกิจระดับโลกส่วนใหญ่ยังตัดสินใจ เลือกลงทุนในบริษัทที่ทำร้ายโลก แต่ได้กำไรในกระเป๋าเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับบริษัทที่รักษ์โลก ที่ให้กำไรน้อยกว่า 1% แต่ไม่ขาดทุน 

สะท้อนชัดเจนว่า  ทำไมโลกที่ผ่านมาจึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่Net Zeroเลยซักครั้ง เพราะว่าการขับเคลื่อน Net Zero ที่ผ่านมาเป็นแค่เรื่องภาพลักษณ์ หรือCSR ขณะเดียวกันในตลาดเสรี มนุษย์ยังจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองเสมอ

พร้อมกับยกตัวอย่าง ในช่วงโควิด สนามบินว่างเปล่า คนเดินทางไม่ได้ ลดการบริโภคไปมหาศาล แต่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 50 พันล้านเมตริกตันต่อปี  หรือลดลงเพียง 2 พันล้านเมตริกตันต่อปีเท่านั้น จากปกติอยู่ที่ 52 พันล้านเมตริกตันต่อปี หากยังเป็นเช่นนี้จะไปถึงNet Zeroได้อย่างไร

ขณะเดียวกัน ประชากรจีนจะลดลง แต่ประชากรโลกที่จะเกิดในอีก10 ปีข้างหน้าราว1,000 พันล้านคน ในอินเดียและแอฟริกา ดังนั้นการ ไม่มีทางที่การบริโภคจะลดลงเพื่อไปสู่เป้าหมาย Net Zero ได้

ดังนั้น จึงต้องมี Climate Tech หรือ เทคโนโลยีที่ควบคุมหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่จะเข้ามาเปลี่ยนกระบวนผลผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่ปล่อยสารคาร์บอนอีกต่อไป และยังสามารถมีการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย 

"เส้นทางที่จะไปสู่เป้า Net Zero ได้ ไปร่วมกับแนวคิดบิวเกตส์ ไม่ไปทำร้านโลก ใช้สินค้าสีเขียว เช่น ซื้อน้ำมันสีเขียว สายการบินสีเขียว ซีเมนต์สีเขียว ซึ่งต้องใช้การสร้างแรงจูงใจหรือลงโทษ เพื่อให้ราคาสินค้าสีเขียวถูกกว่าสินค้าปกติให้ได้ เพื่อดึงต้นทุนให้ถูกลงและทำให้เกิดการใช้กันแพร่หลาย ขณะที่ที่ธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไปอยู่บนโลกดิจิทัลมากขึ้น เมตาเวิร์สจะมาถึงจุดเปลี่ยนในวันที่ เทคโนโลโยี Web 3.0 มีความพร้อม จะเข้ามาเปลี่ยนการสื่อสารของมนุษย์และวิถีการเดินทาง ผมยังเชื่อว่า พฤติกรรมของคนต้องเปลี่ยน เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย ศเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2050 และ Net Zero ภายในปี 2065"