Web 5.0 ก้าวต่อไปแห่งอนาคต

เชื่อว่าในช่วง 1 - 2 ปีมานี้ผู้อ่าน คงจะเคยได้ยินแนวคิดเกี่ยวกับ Web 3.0 กันมาบ้างไม่มากก็น้อย ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต ที่เริ่มจากการอ่านข้อมูลทางเดียว (Static Web) ของ Web 1.0มายังยุคที่ผู้ใช้งานสามารถพูดคุยโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันบนเว็ปได้อย่าง Web 2.0 หรือ Social Webไปจนถึง Web 3.0 หรือ ที่ Tim Berners-Lee ผู้คิดค้น World Wide Web เรียกว่าเป็น Semantic Web

จะเป็นยุคที่ข้อมูลที่เกิดขึ้นบนอินเตอร์เน็ต เป็นลักษณะของ Big Data และมีความพยายามกันข้อมูล ระบุประเภทของข้อมูล รวมไปถึงข้อมูลดังกล่าวอาจจะถูกเก็บไว้บนระบบแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) และมีการเชื่อมโยง ประยุกต์ใช้ระหว่างกัน ผ่านเทคโนโลยีอย่าง Machine Learning, A.I. เป็นต้น เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ ซึ่งปัจจุบัน ผู้เขียนมองว่าตอนนี้เรากำลังเข้าสู่ช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคของ Web 3.0 อย่างเต็มตัว

แล้ว Web 5.0 คือ อะไร

Web 5 หรือ Web 5.0 เป็นแนวคิดที่ถูกนำเสนอโดย Jack Dorsey โดยมีแนวคิดหลักๆผ่านการให้ผู้ใช้งานเป็นผู้ควบคุมข้อมูลและอัตลักษณ์ของตนเองเอง ผ่านการประยุกต์ใช้มาตรฐาน Decentralized Identifiers (DIDs) ของ W3C โดยไม่จำเป็นต้องมีคนกลางมาช่วยในการเก็บ และยืนยันความเป็นเจ้าของข้อมูลผู้ใช้งานดังกล่าวอีกต่อไป 

ตนเองอีกต่อไป เช่น เมื่อเซ็นเซอร์ในโรงเรือนเพาะชำตรวจพบระดับความชื้นและอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงเกินไปสำหรับต้นกล้าในโรงเรือน ก็จะทำการสั่งงานเปิดพัดลมระบายอากาศเพื่อลดความชื้นและอุณหภูมิเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งในหลายๆครั้ง เราจะมองว่าช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่าง Web 3.0 มายัง Web 4.0 อาจจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วผ่านการเติบโตของเทคโนโลยีในปัจจุบัน อย่างที่เราเห็นในการเกิดขึ้นของโครงการต้นแบบ Smart City ในหลายๆประเทศ 

Web 5.0 จะมาเมื่อไหร่ 

กลับมาที่ Web 5.0 ในเมื่อช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านระหว่าง Web 3.0 และ Web 4.0 นั้นอาจจะไม่ได้ยาวนานอย่างการเปลี่ยนผ่านอื่นๆในอดีต ถ้าอย่างนั้น Web 5.0 จะเป็นอย่างนั้นด้วยหรือไม่ ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าการเปลี่ยนผ่านไปยังยุคของ Web 5.0 นั้นจะยังต้องใช้เวลาอีกพอสมควร เนื่องจากทรัพยากรที่มีจำกัดทำให้การเข้ามาของ Web 4.0 ที่จะมีโอกาสทางธุรกิจ (Business Opportunity) ใหม่ๆมากมายเกิดขึ้น จึงอาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การพัฒนาของ Web 5.0 เกิดขึ้นช้าลง รวมไปถึงความท้าทายในแง่ของความพร้อม ความเข้าใจในการใช้งานระบบการยืนยันตัวตนแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Identifiers) ทั้งกับฝั่งผู้ใช้งานและฝั่งผู้ให้บริการ 

จึงจะเป็นโจทย์สำคัญกับทั้งทางฝั่งผู้ใช้งานที่จะต้องทำความเข้าใจระบบ และสิทธิ์ในข้อมูลของตนเอง บนระบบการยืนยันตัวตนแบบกระจายศูนย์มากขึ้น ไปจนถึงกับภาคธุรกิจที่อาจจะต้องปรับตัวทั้งในแง่ของการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ รวมไปถึง Business Model ในรูปแบบใหม่ เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับตัวเข้ากับการเติบโตของเทคโนโลยีใหม่ๆได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงสามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลหรือทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

ดังนั้น Web 5.0 นั้นในปัจจุบันยังเป็นเพียงแนวคิดที่ได้รับการเสนอขึ้นมา ซึ่งก็ยังมีคำถามจากหลายๆฝ่ายถึงความแตกต่างระหว่างแนวคิดของการใช้งานระบบกระจายศูนย์บน Web 3.0 และ Web 5.0 อยู่ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว Web 5.0 เองก็อาจจะหลอมรวมไปกับ Web 3.0 ผ่านการพัฒนาเพื่อบรรลุข้อจำกัดในการยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานระบบ และการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานให้สามารถทำได้ง่ายขึ้นด้วยตนเอง และมีความกระจายศูนย์มากขึ้นก็เป็นได้ 

หากผู้อ่านเกิดความสนใจและอยากหาที่ปรึกษาที่สามารถให้คำปรึกษาในส่วนของการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนและ Tokenization ไม่ว่าจะเป็น Investment Token, Utility Token หรือ NFT มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจของตนเอง สามารถติดต่อ Token X ได้ที่อีเมล [email protected]