Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น

Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น

การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยโดยรวม

เราคาดว่าการจับจ่ายใช้สอยจะเพิ่มเข้ามาในระบบอีกประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาทใน 4Q65 และในปี2566 (Figure 11) คิดเป็น 6% ของมูลค่ารวมตลาดค้าปลีกค้าส่งรายไตรมาส (Figure 12) และ 2% ของมูลค่ารวมตลาดค้าปลีกค้าส่งรายปี (Figure 13) เนื่องจาก i) การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และ ii) การปรับประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติของ KGI

Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น

Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น

ในกรณีของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ: คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 313-336 บาท/วัน เป็น 328-354 บาท/วัน (เพิ่มขึ้นประมาณ 5%) ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 (Figure 5) ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีแรงงาน 6.7 ล้านคนที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่า 10,000 บาท/เดือน ซึ่งเข้าข่ายจะได้อานิสงส์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (Figure 4) ซึ่งหลังจากที่ค่าแรงอัตราใหม่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 จะทำให้การจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นประมาณ 1.05 หมื่นล้านบาทใน 4Q65 และ 4.15 หมื่นล้านบาทในปี 2566 (Figure 6)

Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น      Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น

Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น

 

 

ในกรณีการปรับเพิ่มประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติ: ในบทวิเคราะห์หุ้นกลุ่มโรงแรม “ปรับธีมการลงทุนมาเน้นหุ้น domestic play” เผยแพร่เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 เราได้ปรับเพิ่มประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้จากเดิม 8 ล้านคนเป็น 11 ล้านคน แต่ยังคงประมาณการปีหน้าเอาไว้เท่าเดิมที่ 25 ล้านคน (Figure 7) ซึ่งเมื่ออิงตามการคำนวณของเรา การปรับเพิ่มประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติจะทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นประมาณ 3.15 หมื่นล้านบาทใน 4Q65 (อิงจากสมมติฐานการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวที่ 50,000 บาท/ราย/ทริป ซึ่งคาดว่า 20% ของยอดการจับจ่ายใช้สอยจะเป็นการซื้ออาหารและเครื่องดื่ม ดังแสดงใน Figure 8)

Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น

 

Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น

ผลบวกจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นจะช่วยรองรับผลกระทบทางด้านต้นทุนจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะเป็นแรงกดดันทางด้านต้นทุนต่อหุ้นในกลุ่ม commerce ในระดับที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสัดส่วนของต้นทุนแรงงานต่อยอดขายรวม และอัตรากำไรของแต่ละบริษัท เราพบว่าต้นทุนค่าแรงของบริษัทในกลุ่ม commerce ที่เราศึกษาอยู่ (C.P. All PCL (CPALL.BK/CPALL TB)*, Siam Global House PCL (GLOBAL.BK/GLOBAL TB)*, Home Product Center PCL (HMPRO.BK/HMPRO TB)* และ Siam Makro PCL (MAKRO.BK/MAKRO PCL)) อยู่ในช่วง 4% -8% ของรายได้รวม แต่เนื่องจากอัตรากำไรของแต่ละบริษัทแตกต่างกัน ดังนั้น ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น 5% จะส่งผลกระทบกับอัตรากำไรสุทธิ (net margin) ของบริษัทในกลุ่มอยู่ในช่วง 2% - 10% (Figure 17) เราคาดว่า CPALL จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยนี้มากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม เรายังคาดว่าผลบวกจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นจะช่วยรองรับผลกระทบทางด้านต้นทุนจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น

 

 

ยังมีปัจจัยบวกที่จะช่วยหนุนการบริโภคในปี 2566F อีก

หลังจากที่มีการกลับมาเปิดประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับเข้ามาเที่ยวประเทศไทย เราเชื่อว่าจะมีปัจจัยบวกบางประการที่จะช่วยหนุนการบริโภคในปี 2566 อย่างเช่น อัตราการขยายตัวของ GDP ประเทศไทย, จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ, และการจ้างงาน (Figure 18) ซึ่งหากอิงจาก scenario ในกรณีที่ดีที่สุดซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติถึง 28 ล้านคนในปี 2566F (จากสมมติฐานปัจจุบันที่ 25 ล้านคน) จะทำให้มีการใช้จ่ายเงินเพิ่มเข้ามาในระบบประมาณ 3.15 หมื่นล้านบาทในปี 2566 (Figure 19 - 20)จากสมมติฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น

Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น Commerce Sector การบริโภคกำลังฟื้นตัวขึ้น

Valuation & action

เรายังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่ม Commerce ที่ Overweight โดยเลือก CPALL เป็นหุ้นเด่นของเราในกลุ่มนี้และประเมินราคาเป้าหมายสิ้นปี 2566 ที่ 74 บาท อิงจาก PER ที่ 35.0x (ค่าเฉลี่ยในอดีตระหว่าง Siam Makro (MAKRO.BK/MAKRO TB) และ CPALL +1.0 S.D.) เราคาดว่า CPALL จะได้อานิสงส์จากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น (ทั้งจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น) ซึ่งจะช่วยชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการขึ้นค่าแรงไปได้บางส่วน และจะหนุนให้กำไรสุทธิในปี 2566F โต 32% YoY

 

Risks

เศรษฐกิจชะลอตัวลง, เกิด disruption จากเทคโนโลยีใหม่, ความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของทางการ,พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป, ขยายสาขาได้น้อยกว่าที่คาดไว้, การหาทำเลที่ตั้งสาขาใหม่