สทนช. เร่งทำ แพลตฟอร์ม รับมือภัยพิบัติด้านน้ำ หวังลดผลกระทบน้อยที่สุด

สทนช. เร่งทำ แพลตฟอร์ม รับมือภัยพิบัติด้านน้ำ หวังลดผลกระทบน้อยที่สุด

สทนช. ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แนวทางการบริหารจัดการน้ำ และการรับมือบูรณาการจัดทำแพลตฟอร์มรู้รับปรับตัวจากภัยพิบัติ เร่งสร้างความตระหนักรู้ให้กับหน่วยงาน ภาคประชาชน ลดความเสี่ยง และผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการจัดทำแพลตฟอร์มรู้รับปรับตัวจากภัยพิบัติด้านน้ำ ในประเทศไทย ครั้งที่ 1 (The 1st Plenary Meeting of Platform on Water Resilience and Disasters in Thailand ว่า ปัจจุบันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้แนวโน้มภัยพิบัติด้านน้ำเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และอาจทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้การวิเคราะห์คาดการณ์สถานการณ์น้ำจะต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง และต้องมีความรอบคอบรัดกุม เพื่อความแม่นยำในการคาดการณ์ ที่จะทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 ดังนั้น การมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สามารถส่งต่อให้ประชาชนทุกภาคส่วน และผู้ประกอบการต่างๆ ได้เข้าถึงอย่างรวดเร็ว จะช่วยให้ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จะสามารถเตรียมการรับมือ และมีการปรับตัวด้านภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินได้เป็นอย่างมาก

สทนช. เร่งทำ แพลตฟอร์ม รับมือภัยพิบัติด้านน้ำ หวังลดผลกระทบน้อยที่สุด

 

 สทนช. ในฐานะหน่วยงานด้านนโยบายที่กำกับดูแลเรื่องนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ได้ร่วมเป็นองค์ประกอบคณะผู้แทนประเทศไทย ในคณะทำงานด้านอุทกวิทยา ซึ่งเป็นคณะทำงานด้านที่ 2 ใน 4 ด้าน ภายใต้คณะกรรมการไต้ฝุ่น ร่วมกับหน่วยงานกรมอุตุนิยมวิทยา และกรมชลประทาน โดยศูนย์จัดการอุทกภัย และบริหารความเสี่ยงระหว่างประเทศ จากประเทศญี่ปุ่น (The International Centre for Water Hazard and Risk Management : ICHARM) ที่เป็นองค์กรริเริ่มดำเนินโครงการจัดทำแพลตฟอร์มรู้รับปรับตัวจากภัยพิบัติด้านน้ำในประเทศไทย

 

 

 

สำหรับคณะกรรมการไต้ฝุ่น (The Typhoon Committee ;TC) ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 14 ประเทศ โดยมี Dr.Duan Yihong ประธานสถาบันอุตุนิยมวิทยาศาสตร์ ภายใต้กรมอุตุนิยมวิทยา สาธารณรัฐประชาชนจีน (China Meteorological Administration: CMA) เป็นเลขาธิการคณะกรรมการไต้ฝุ่น (ปี 2566 - 2569) ภายใต้คณะกรรมการฯ  โดยประเทศสมาชิกได้ร่วมเป็นคณะทำงาน ประกอบด้วยคณะทำงาน 4 คณะ ได้แก่ คณะทำงานด้านอุตุนิยมวิทยา (WGM) ด้านการฝึกอบรมและวิจัย (TRCG) ด้านอุทกวิทยา (WGH) และด้านการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ (WGDRR)

สทนช. เร่งทำ แพลตฟอร์ม รับมือภัยพิบัติด้านน้ำ หวังลดผลกระทบน้อยที่สุด

โดย สทนช. เป็นคณะทำงานด้านอุทกวิทยาของประเทศไทย ร่วมกับกรมชลประทานและกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งจะต้องนำร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ และแผนปฏิบัติการประจำปี (AOPs) ภายใต้คณะกรรมการไต้ฝุ่น ไปปรับหรือประยุกต์ เพื่อประสานการปฏิบัติงาน เชื่อมโยงเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือบริหารจัดการน้ำและสถานการณ์อุทกภัยเนื่องจากสถานการณ์พายุร่วมกันระหว่างคณะทำงานต่างๆ ของประเทศไทย เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุด แต่ละประเทศสมาชิกจะต้องรวบรวมข้อมูลสถานการณ์พายุ และการรับมือ และจัดทำเป็นรายงานประจำปี (Members’ Reports) ซึ่งมีการประชุมคณะกรรมการฯ ทุกๆ ปี สมาชิกจะต้องเสนอรายงานประจำปี และร่วมกันพิจารณาทบทวนกิจกรรมของคณะทำงาน และติดตามความก้าวหน้าแผนปฏิบัติการ ในปีที่ผ่านมา รวมทั้งวางแผนปฏิบัติการสำหรับในรอบปีถัดไป

 

 

ทั้งนี้ คณะกรรมการไต้ฝุ่นได้เห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ และแผนปฏิบัติการประจำปี (พ.ศ.2566-2569) จำนวน 7 แผน ในการประชุมสมัยที่ 54 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และเห็นชอบ 5 โครงการใหม่เพิ่มเติม ตามที่คณะทำงานด้านอุทกวิทยาเสนอ ในการประชุมสมัยที่ 55 เมื่อเดือนมีนาคม 2566 โดย ICHARM เสนอโครงการ “Flood resilience enhancement through Platform on Water Resilience and Disasters” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือด้านน้ำกับประเทศไทย ตามแผนปฏิบัติการ ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) เพื่อพัฒนา และปรับปรุงระบบสังเคราะห์แบบออนไลน์สำหรับรับมือ และให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งจะบูรณาการองค์ความรู้ เทคโนโลยี และประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติน้ำท่วม นำมาพัฒนาขีดความสามารถ และส่งเสริม อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์ รวมทั้งร่วมมือกันเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับน้ำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

 

 

 

“การประชุมโครงการจัดทำแพลตฟอร์มรู้รับปรับตัวจากภัยพิบัติด้านน้ำในประเทศไทยที่จัดขึ้นในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถาบันการศึกษาของประเทศไทย ได้รับทราบข้อมูลความเป็นมา และประโยชน์จากโครงการ รวมทั้งได้รับโอกาสจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น และผู้แทนหน่วยงานจากประเทศไทย มาร่วมแบ่งปันข้อมูล และแนวทางการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรม สำหรับการคาดการณ์ ประเมินความเสี่ยง แจ้งเตือน

จนถึงสร้างความตระหนักรู้ ให้แก่หน่วยงานปฏิบัติด้านการรับมือ และประชาชนในพื้นที่เสี่ยง รวมถึงการร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการรู้รับปรับตัวจากภัยพิบัติด้านน้ำในอนาคต ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจะเป็นบันไดขั้นสำคัญที่มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

สทนช. เร่งทำ แพลตฟอร์ม รับมือภัยพิบัติด้านน้ำ หวังลดผลกระทบน้อยที่สุด

สำหรับผู้ร่วมประชุมจัดทำแพลตฟอร์มรู้รับปรับตัวจากภัยพิบัติด้านน้ำในประเทศไทย ประกอบด้วย โดยมี Mr.Suzuki Kazuya, Chief Representative, Japan International Cooperation Agency: JICA Thailand office (หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ประจำประเทศไทย)Mr.Maruichi Daisuke, Economic Affairs Officer of Disaster Risk Reduction, United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific : ESCAP (เจ้าหน้าที่ฝ่ายเศรษฐกิจ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก) นางสาวพะเยาว์ เมืองงาม รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ดร.ศรเทพ วรรณรัตน์ นักบริหารนโยบายวิจัยและพัฒนา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์