กฟน. เผยผล 60+ Earth Hour 23 มี.ค. 67 คนกทม. ช่วยปิดไฟ 1 ชม. ลดก๊าซคาร์บอนได้ 11 ตัน

กฟน. เผยผล 60+ Earth Hour 23 มี.ค. 67 คนกทม. ช่วยปิดไฟ 1 ชม. ลดก๊าซคาร์บอนได้ 11 ตัน

กฟน. เผยผล โครงการ "ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน 60+ Earth Hour 2024" เมื่อคืนวันที่ 23 มี.ค.67 ที่ผ่านมา โดยจากการร่วมมือกันปิดไฟ ระหว่างเวลา 20.30 - 21.30 น. ในพื้นที่กทม. พบว่า ลดความต้องการการใช้ไฟฟ้าลงได้ 24.65 เมกะวัตต์ และยังลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 11.0 ตัน

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ร่วมกิจกรรมการปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน ประจำปี 2567 (60+ Earth hour 2024) โดยจากการร่วมมือกันปิดไฟ 1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 20.30 - 21.30 น. ในพื้นที่กรก

  • พบว่าสามารถลดความต้องการการใช้ไฟฟ้าลงได้ 24.65 เมกะวัตต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2567 ระหว่างเวลา 20.30 - 21.30 น. 

โครงการดังกล่าวยังสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงได้ถึง 11.0 ตัน และสามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ 130,182 บาท

กฟน. เผยผล 60+ Earth Hour 23 มี.ค. 67 คนกทม. ช่วยปิดไฟ 1 ชม. ลดก๊าซคาร์บอนได้ 11 ตัน

สำหรับกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour 2024)” ในปีนี้ ถือเป็นการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 18 โดย การไฟฟ้านครหลวงร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (FEED) องค์กร WWF ประเทศไทย พร้อมหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน

ร่วมรณรงค์ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทั้งการปิดไฟ ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ เตารีด เครื่องซักผ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลมตั้งพื้น
กฟน. เผยผล 60+ Earth Hour 23 มี.ค. 67 คนกทม. ช่วยปิดไฟ 1 ชม. ลดก๊าซคาร์บอนได้ 11 ตัน

กฟน. เผยผล 60+ Earth Hour 23 มี.ค. 67 คนกทม. ช่วยปิดไฟ 1 ชม. ลดก๊าซคาร์บอนได้ 11 ตัน

การไฟฟ้านครหลวงยังมีส่วนร่วมกับโครงการ ด้วยการร่วมปิดไฟ ณ อาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ คลองเตย การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานย่อยเพลินจิต และอีก 17 เขตที่ทำการของการไฟฟ้านครหลวง 

นอกจากนี้ยังสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานภายในองค์กร ให้มีจิตสำนึกเป็นหนึ่งเดียวกันที่จะช่วยกันประหยัดพลังงานแก้ไขและบรรเทาสาเหตุที่จะนำไปสู่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และวิกฤตการณ์อันเกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ให้เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม 

จากความสำเร็จของโครงการปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60+ Earth Hour) ตลอด 18 ปี ถือเป็นการจุดประกายให้ผู้ใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นและร่วมกันแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

 

อ้างอิง : การไฟฟ้านครหลวง