‘คลื่นความร้อน’ เตรียมถล่ม ‘ยุโรป’ หายนะแน่ หากรับมือไม่ทัน

‘คลื่นความร้อน’ เตรียมถล่ม ‘ยุโรป’ หายนะแน่ หากรับมือไม่ทัน

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” กำลังทำชีวิตผู้คนใน “ยุโรป” ปั่นป่วนอย่างหนัก รายงานล่าสุดระบุว่า “คลื่นความร้อน” จะทำให้ชาวยุโรปเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และจะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 1 ล้านล้านยูโรต่อปี หากแก้ไขปัญหานี้ไม่ทัน

KEY

POINTS

  • สำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป หรือ EEA ระบุ “อียู” ยังไม่มีความพร้อมในการ รับมือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ หากไม้มีมาตรการที่เข้มงวด จะเกิด “หายนะ” ได้ทันที 
  • EEA คาดว่า จะมีผู้คนหลายแสนคนจะเสียชีวิตจาก “คลื่นความร้อน”  และหากเกิดอุทกภัยตามแนวชายฝั่งเพียงครั้งเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจได้มากถึง 1 ล้านล้านยูโรต่อปี
  • ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมาก รวมถึงการเสียชีวิตของสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก และบริการจากระบบนิเวศ

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” กำลังทำชีวิตผู้คนใน “ยุโรป” ปั่นป่วนอย่างหนัก รายงานล่าสุดระบุว่า “คลื่นความร้อน” จะทำให้ชาวยุโรปเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และจะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 1 ล้านล้านยูโรต่อปี หากแก้ไขปัญหานี้ไม่ทัน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” กำลังทำชีวิตผู้คนใน “ยุโรป” ปั่นป่วนอย่างหนัก รายงานล่าสุดระบุว่า “คลื่นความร้อน” จะทำให้ชาวยุโรปเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และจะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 1 ล้านล้านยูโรต่อปี หากแก้ไขปัญหานี้ไม่ทัน

สำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป หรือ EEA เผยแพร่รายงานการประเมินความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศของยุโรป ฉบับแรกของปี 2024 ระบุว่า “สหภาพยุโรป” หรือ “อียู” ยังไม่มีความพร้อมในการ รับมือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยระบุว่าอียูต้องมีมาตรการที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพื่อลดผลกระทบและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในฐานะ “ทวีปที่ร้อนขึ้นรวดเร็วที่สุดในโลก

รายงานระบุว่าอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ไฟไหม้ การขาดแคลนน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตร ในขณะที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลที่อยู่ต่ำต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากน้ำท่วม การกัดเซาะ และการรุกล้ำของน้ำเค็ม พร้อมระบุว่าความเสี่ยงเหล่านี้อยู่ในระดับวิกฤตแล้ว และอาจกลายเป็น “หายนะ” ได้ทันที หากยังไม่มีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและเด็ดขาด

“ผู้คนหลายแสนคนจะเสียชีวิตจากคลื่นความร้อน และหากเกิดอุทกภัยตามแนวชายฝั่งเพียงครั้งเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจได้มากถึง 1 ล้านล้านยูโรต่อปี” รายงานระบุ

EEA เสนอให้อียูจำเป็นต้องมีนโยบายเร่งด่วนสำหรับดูแลระบบการดูแลสุขภาพ เกษตรกรรม และโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าปัจจุบันยุโรปเกิดสภาพอากาศร้อนจัดและความแห้งแล้งเกิดขึ้นบ่อยมากกว่าเดิม ทั้งที่ในอดีตแทบไม่เคยเกิดขึ้นเลย

ในรายการกล่าวเน้นย้ำว่า หากไม่ดำเนินการอย่างเด็ดขาดในตอนนี้ ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ในยุโรป อาจถึงระดับวิกฤติหรือหายนะได้ภายในสิ้นศตวรรษนี้ พร้อมเรียกร้องให้อียูจัดสรรงบประมาณและนโยบายด้านความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ

“เหตุการณ์เหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติใหม่ และเป็นสัญญาณเตือนครั้งสุดท้าย” ลีนา อีลา-โมโนเนน ผู้อำนวยการ EEA กล่าวในการแถลงข่าวก่อนเผยแพร่รายงาน

 

“โลกร้อน” ทำลายเศรษฐกิจ “ยุโรป”

จากข้อมูลของ EEA ระบุว่าช่วง 40 ปีที่ผ่านมา สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 85,000-145,000 ราย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยุโรปเผชิญกับเหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงอย่างมาก 

ปี 2021 เกิดน้ำท่วมหนักทั้งในเบลเยียม เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ ทำให้เกิดความเสียหายมูลค่า 44,000 ล้านยูโร ส่วนอิตาลีเกิดไฟป่ากินพื้นที่ไปมากกว่า 150,000 เอเคอร์ ซึ่งมากที่สุดในรอบอย่างน้อยหนึ่งทศวรรษ 

ขณะที่ ปัญหาคลื่นความร้อนจัดในปี 2022 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 60,000 รายในทวีปยุโรป ส่วนปี 2023 น้ำท่วมฉับพลันในสโลวีเนียทำให้เกิดความเสียหายมากกว่า 10% ของ จีดีพีในประเทศ 

ตั้งแต่ปี 1980-2022 ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในกลุ่มประเทศอียูมีมูลค่ามากกว่า 650,000 ล้านยูโร

ผลกระทบจาก “ภาวะโลกร้อน” จะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และไม่มีที่ท่าจะลดลง แม้ว่าโลกจะสามารถรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสก่อนยุคอุตสาหกรรม ตามข้อตกลงปารีส ปี 2015 ก็ตาม แต่ ปี 2023 กลายเป็นปีแรกที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งปีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ไม่สามารถสรุปได้ได้ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรมได้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ไปแล้ว ยังต้องอาศัยการวัดผลข้อมูลเพิ่มเติม

 

“คลื่นความร้อน” ภัยพิบัติสำคัญที่ “ยุโรป” ต้องเจอ

รายงานระบุความเสี่ยง 36 ข้อที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศในยุโรป โดย 21 ข้อจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน และอีก 8 เป็น “เรื่องเร่งด่วนเป็นพิเศษ” ซึ่งเกี่ยวกับพันกับความเสี่ยงต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะชายฝั่งและทะเล ที่เกิดขึ้นจาก “คลื่นความร้อน” เช่น การรวมกันของคลื่นความร้อน สภาวะทะเลเป็นกรดและสูญเสียออกซิเจน 

รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การประมงไม่ยั่งยืนที่ทำลายระบบนิเวศทางทะเล ตลอดจนปัญหามลภาวะทางทะเลยและ “ปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง” (Eutrophication) เป็นปรากฏการณ์ที่มักเกิดจากการความไม่สมดุลของทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ในระบบนิเวศแหล่งน้ำ

สิ่งนี้อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมาก รวมถึงการเสียชีวิตของสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก และบริการจากระบบนิเวศ (Ecosystem Services)

ฮานส์-มาร์ติน ฟุสเซล ผู้เชี่ยวชาญด้านผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของ EEA ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของคลื่นความร้อนถี่ขึ้น อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพโดยตรงและเป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศ

“คลื่นความร้อนและภัยแล้งเกิดขึ้นบ่อยในยุโรป ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดหาน้ำ” ฟุสเซลกล่าว

ในตอนนี้ทางตอนใต้ของยุโรปกำลังประสบปัญหาการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยเงินอุดหนุนด้านการเกษตรของสหภาพยุโรปประมาณ 2% ถูกนำไปใช้ช่วยเหลือเกษตรกรในการบริหารจัดการและป้องกันความเสียหายทางการเกษตร

รายงานยังแนะนำให้สหภาพยุโรปกำหนดมาตรการปกป้องแรงงานที่ทำกลางแจ้งจากปัญหาความร้อนสูง หรือน้ำท่วมฉับพลัน ทั้งในภาคเกษตรกรรม การก่อสร้าง และอุตสาหกรรมอื่น ๆ 

อีกทั้งต้องเพิ่มข้อกำหนดมาตรฐานยุโรปสิบสำหรับออกแบบโครงสร้าง หรือ “ยูโรโค้ด” (Eurocode) เกี่ยวกับความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นกับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ถนนที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม หรือรางรถไฟที่บิดเบี้ยวด้วยความร้อนจัด เพื่อรวมข้อมูลสภาพภูมิอากาศที่เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับความเสี่ยงเหล่านี้จะพัฒนาไปอย่างไร

EEA ยังเรียกร้องให้อียูออกแบบความช่วยเหลือทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถเตรียมระบบการรักษาพยาบาลให้พร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เปราะบางและผู้สูงอายุ

“การไม่คำนึงถึงสถานการณ์เลวร้ายที่สุดทำให้สหภาพยุโรปตกอยู่ในอันตรายจากผลกระทบร้ายแรงและไม่คาดคิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” รายงานกล่าวสรุป

 

ที่มา: AljazeeraJapan TimesReuters