"ทุ่นดักขยะพลาสติก”ไหลลงทะเล สู่ธนาคารชุมชนต้นแบบยั่งยืน

"ทุ่นดักขยะพลาสติก”ไหลลงทะเล  สู่ธนาคารชุมชนต้นแบบยั่งยืน

ปัจจุบัน “ขยะทะเล” เป็นปัญหาที่สร้างวิกฤติให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่มักไม่ได้รับการจัดการ หรือทำลายให้ถูกต้องเหมาะสม

KEY

POINTS

  • ขยะพลาสติกที่ไม่ได้รับการจัดการ หรือทำลายให้ถูกต้องเหมาะสม ประมาณ 10 – 15% ของขยะพลาสติกทั้งหมด มีโอกาสไหลลงสู่ทะเลผ่านทางแม่น้ำลำคลอง
  • ก่อตั้งโครงการธนาคารขยะในชุมชนต้นแบบ ให้ประชาชนและบริษัทรับซื้อ เข้ามาแลกเปลี่ยนซื้อขายขยะในพื้นที่ เพื่อให้จัดการขยะได้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน
  • ติดตั้งทุ่นดักขยะ จุดเริ่มต้นที่ช่วยดักขยะไม่ให้ไหลลงสู่ชายฝั่งและทะเล ที่เป็นหนึ่งในต้นเหตุสำคัญของปัญหา จากนั้นคงต้องช่วยกันฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง

ปัจจุบัน “ขยะทะเล” เป็นปัญหาที่สร้างวิกฤติให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่มักไม่ได้รับการจัดการ หรือทำลายให้ถูกต้องเหมาะสม

ปัจจุบัน “ขยะทะเล” เป็นปัญหาที่สร้างวิกฤติให้กับสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่มักไม่ได้รับการจัดการ หรือทำลายให้ถูกต้องเหมาะสม ประมาณ 10 – 15% ของขยะพลาสติกทั้งหมด มีโอกาสไหลลงสู่ทะเลผ่านทางแม่น้ำลำคลอง ทำให้ขยะพลาสติกที่ตกค้างเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงสัตว์ทะเล

ขยะพลาสติกเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเลมากที่สุด โดยเฉพาะเต่าทะเล โลมา และวาฬ ส่งผลให้สัตว์เหล่านี้เสียชีวิตจากสาเหตุขยะพลาสติกเข้าไปอุดตันในกระเพาะอาหารทำให้ร่างกายของพวกมันทำงานไม่ได้ จนเสียชีวิตในที่สุด

นอกจากขยะพลาสติกจะมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำแล้ว มนุษย์ก็อาจได้รับผลกระทบจากขยะทะเลด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อสัตว์น้ำกินเศษขยะหรือมีเศษขยะขนาดเล็ก ที่เรียกว่า “ไมโครพลาสติก” เข้าไปในร่างกาย เมื่อมนุษย์บริโภคสัตว์น้ำเป็นอาหาร ได้รับปริมาณไมโครพลาสติกที่มากขึ้นในทุกๆ วัน ก็อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้  การติดตั้งทุ่นดักขยะ เพื่อลดปริมาณขยะที่ไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีนและอ่าวไทย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาขยะในทะเล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เช็ก 6 ประเทศอาเซียน สร้าง 'ขยะทะเล' ติด TOP 10 ของโลก

‘ขยะขวดพลาสติก’ ล้นเมือง? ชาวไนจีเรียแก้ด้วยการนำไปสร้างบ้าน

ธ.กรุงเทพ ติดตั้งเครื่องมือดักขยะในทะเล

“กอบศักดิ์ ภูตระกูล” กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารได้เริ่มต้นดำเนินโครงการ ‘Bualuang Save the Earth : รักษ์ท่าจีน’ เพื่อร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะในแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็น 1 ใน 5 แม่น้ำสายหลักที่ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย โดยในปัจจุบันได้เริ่มดำเนินงานในระยะที่ 1 อย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด ได้ร่วมกับหน่วยงานราชการท้องถิ่น ประชาชน และชุมชนในพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร ติดตั้งเครื่องมือดักขยะในพื้นที่นำร่องบริเวณคลองหลวงสหกรณ์ และคลองพิทยากรณ์ ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร หลังจากศึกษาข้อมูลและสำรวจพื้นที่ร่วมกันพบปัญหาขยะจำนวนมากที่ไหลจากชุมชนต่างๆ มารวมบริเวณนี้ก่อนจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกปากแม่น้ำท่าจีนและอ่าวไทย

\"ทุ่นดักขยะพลาสติก”ไหลลงทะเล  สู่ธนาคารชุมชนต้นแบบยั่งยืน

ดักขยะไหลลงแม่น้ำลำคลอง

เครื่องมือดักขยะที่ติดตั้งในครั้งนี้ประกอบด้วย 3 ประเภทเครื่องมือ ได้แก่ ทุ่นดักขยะ (Boom) ผลิตจากพลาสติก HDPE สีเหลือง ขนาด 0.35x0.50 เมตร พร้อมตาข่ายความยาว 15 เมตร และลึกลงไปจากผิวน้ำ 50 เซนติเมตร อายุการใช้งาน 5-7 ปี กระชังไม้ไผ่ดักขยะ เป็นโครงไม้ไผ่ติดอวน ขนาด 3x3 เมตร อายุใช้งาน 3-5 ปี และเครื่องมือดักขยะแบบปักหลัก เป็นโครงไม้ไผ่ผูกอวน ขนาด 5x10 เมตร อายุใช้งาน 3-5 ปี ซึ่งเครื่องมือทั้ง 3 ประเภทเหมาะสมกับสภาพกระแสน้ำ สามารถรองรับกระแสน้ำขึ้นน้ำลงได้ จะเป็นตัวช่วยดักขยะที่ไหลมาตามน้ำไม่ให้ไหลต่อลงสู่แม่น้ำท่าจีนและทะเลอ่าวไทย 

ติดตั้ง “น้องจุด” หรือ ฉลามวาฬพี่ใหญ่แห่งท้องทะเล เป็นที่พักขยะแบบถาวร สำหรับพักขยะประเภทขวดพลาสติก ทั้งจากการดักจับบนผิวน้ำและเกิดขึ้นบนบก ซึ่งขวดพลาสติกเครื่องดื่มเป็นหนึ่งในขยะทะเลที่ถูกพบมากในประเทศไทย โดยจะตั้งวาง “น้องจุด” ไว้ 2 จุดในบริเวณลานวัดสหกรณ์โฆสิตาราม ซึ่งเป็นพื้นที่การจัดกิจกรรมและตลาดนัดเป็นประจำ

ทั้งนี้ อุปกรณ์ทุกประเภทดังกล่าวจะมีเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้ามาดูแลเป็นประจำ โดยตักขยะเพื่อนำไปคัดแยกและรีไซเคิล ส่วนขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้แล้ว หรือขยะกำพร้า จะถูกส่งไปทำเชื้อเพลิงทดแทนให้เกิดประโยชน์ต่อไป

กอบศักดิ์ กล่าวว่านอกจากการติดตั้งเครื่องมือดักขยะแล้ว คณะทำงานยังได้เริ่มดำเนินงานตามแผนในระยะ 2 โดยจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และปลูกฝังในเรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือนให้แก่ชุมชน และโรงเรียนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และต่อยอดสู่การเพิ่มมูลค่าและเป็นรายได้ให้แก่ครอบครัว 

 “เมื่อชุมชนเริ่มมีองค์ความรู้และขยะที่คัดแยกออกมาได้มีปริมาณที่มากขึ้น ธนาคารจะเริ่มพัฒนาและต่อยอดสู่การก่อตั้งโครงการธนาคารขยะในชุมชนต้นแบบ ให้ประชาชนและบริษัทรับซื้อ เข้ามาแลกเปลี่ยนซื้อขายขยะในพื้นที่ เพื่อให้จัดการขยะได้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน”

ทั้งนี้แม่น้ำท่าจีน เป็น 1 ใน 5 แม่น้ำสายสำคัญที่จะไหลลงสู่ทะเล และพบปัญหาขยะที่มีมากกว่า 14 ล้านชิ้น หรือประมาณ 148 ตันต่อปี เป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องเร่งกำจัดขยะเหล่านี้ออกให้เร็วที่สุด ควบคู่กันก็คือ ต้องสกัดไม่ให้ขยะใหม่ไหลลงไปสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น อันเป็นที่มาของการติดตั้งเครื่องมือดักขยะ  โดยจะมีการบันทึกข้อมูลเพื่อวัดปริมาณขยะแต่ละประเภทและวิเคราะห์ที่มาของขยะ เพื่อจะได้เข้าใจปัญหาอย่างชัดเจนและแก้ไขไปจนถึงต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหา แก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน

พิทักษ์ธรรมชาติและประชาชน

วสันต์ แก้วจุนันท์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลโคกขาม มากว่า 37 ปี กล่าวว่า การติดตั้งเครื่องมือดักขยะตามแผนงานโครงการ ‘Bualuang Save the Earth : รักษ์ท่าจีน’ จะช่วยแก้ไขปัญหาขยะที่จะไหลลงสู่ทะเลได้เป็นอย่างดีและเห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น

เนื่องจากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พื้นที่เมืองเริ่มขยายตัวมากขึ้น มีหมู่บ้านจัดสรรและโรงงานเพิ่มขึ้น ตามมาด้วยปัญหาขยะและน้ำเสียที่ไหลลงแม่น้ำลำคลอง กระทบต่อสภาพแวดล้อมทั้งส่งผลให้พื้นที่การทำประมงและพื้นที่ธรรมชาติถูกรุกล้ำมากขึ้น ชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงชายฝั่ง หรือการทำวังกุ้ง ก็ทำได้ลำบาก หาลูกกุ้งธรรมชาติได้ยากมากขึ้น หรือแม้แต่การลงเล่นน้ำในคลองก็ทำไม่ได้ เพราะน้ำไม่สะอาด 

“หวังว่าการติดตั้งทุ่นดักขยะ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยดักขยะไม่ให้ไหลลงสู่ชายฝั่งและทะเล ที่เป็นหนึ่งในต้นเหตุสำคัญของปัญหา จากนั้นคงต้องช่วยกันฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง พวกลูกกุ้งธรรมชาติจะได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อมีการส่งเสริมความรู้เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนอย่างต่อเนื่อง ก็เชื่อว่าเมื่อเด็กมีนิสัยที่ดีติดตัว ก็จะช่วยเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นได้ในอนาคต”