‘ปะการัง’ ทั่วโลกรอวันตาย ไร้ทางรอด หากไม่ลดการปล่อย ‘ก๊าซเรือนกระจก’

‘ปะการัง’ ทั่วโลกรอวันตาย ไร้ทางรอด หากไม่ลดการปล่อย ‘ก๊าซเรือนกระจก’

“ปะการัง” ทั่วโลกใกล้ตาย โดยปะการังในอ่าวเม็กซิโกยังคงอ่อนแอแม้จะผ่านเหตุการณ์น้ำมันรั่วมา 13 ปี ขณะที่แนวปะการังในออสเตรเลียระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตรกำลัง “ฟอกขาว” เนื่องจากอุณหภูมิน้ำเพิ่มสูงขึ้น นักวิจัยเผย “ภาวะโลกร้อน” เป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของปะการัง 

KEY

POINTS

  • ปะการัง” ทั่วโลกกำลังอ่อนแอและฟอกขาวอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น ปะการังในอ่าวเม็กซิโกยังคงอ่อนแอแม้จะผ่านเหตุการณ์น้ำมันรั่วมา 13 ปี ขณะที่แนวปะการังในออสเตรเลียระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตรกำลัง “ฟอกขาว” เนื่องจากอุณหภูมิน้ำเพิ่มสูงขึ้น
  • นักวิทยาศาสตร์กำลังหาทางช่วยเหลือสัตว์ที่บอบบางสายพันธุ์นี้อยากสุดกำลัง ด้วยการศึกษา “ปะการังโขด” ที่มีอายุหลายร้อยปี ว่าปัจจัยใดที่ทำให้มันผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน
  • ภาวะโลกร้อน” เป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของปะการัง หากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงรุนแรงมากยิ่งขึ้น จนค่าความเป็นกรดของมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น หรืออุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปะการังอาจไม่สามารถเอาชีวิตรอดได้

“ปะการัง” ทั่วโลกใกล้ตาย โดยปะการังในอ่าวเม็กซิโกยังคงอ่อนแอแม้จะผ่านเหตุการณ์น้ำมันรั่วมา 13 ปี ขณะที่แนวปะการังในออสเตรเลียระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตรกำลัง “ฟอกขาว” เนื่องจากอุณหภูมิน้ำเพิ่มสูงขึ้น นักวิจัยเผย “ภาวะโลกร้อน” เป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของปะการัง 

ปะการัง” ทั่วโลกกำลังจะตาย โดยปะการังในอ่าวเม็กซิโกยังคงอ่อนแอแม้จะผ่านเหตุการณ์น้ำมันรั่วมา 13 ปีแล้วก็ตาม ขณะที่แนวปะการังในออสเตรเลียระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตรกำลัง “ฟอกขาว” เนื่องจากอุณหภูมิน้ำเพิ่มสูงขึ้น นักวิทยาศาสตร์เผย “ภาวะโลกร้อน” และ “ก๊าซเรือนกระจก” เป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของปะการัง 

ปี 2024 ยังคงเป็นปีที่อันตรายสำหรับ “ปะการัง” สิ่งมีชีวิตที่สวยงาม และเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล เนื่องจากปะการังทั่วโลกกำลังอ่อนแอและฟอกขาวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กำลังหาทางช่วยเหลือสัตว์ที่บอบบางสายพันธุ์นี้อยากสุดกำลัง

 

“ปะการัง” ในอ่าวเม็กซิโกกำลังอ่อนแอ

การรั่วไหลของน้ำมันดิบจากแท่นขุดเจาะดีพวอเทอร์ฮอไรซัน (Deepwater Horizon) ในอ่าวเม็กซิโก เมื่อปี 2010 ยังคงสร้างบาดแผลให้แก่ “ปะการัง” ที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้น แม้ว่าเวลาจะผ่านมาถึง 13 ปีแล้วก็ตาม

นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยในการประชุม Ocean Sciences ที่เมืองนิวออร์ลีนส์ ในสหรัฐ โดยจากการติดตามปะการังมากกว่า 300 ตัวตลอดช่วง 13 ปีหลังจากเกิดน้ำมันดิบรั่วไหลครั้งใหญ่ที่กินเวลานานถึง 87 วัน มีน้ำมันดิบ 134 ล้านแกลลอนรั่วไหลลงในมหาสมุทร

พบว่า ปะการังน้ำลึกยังคงได้รับความเสียหายตลอดมา ปะการังบางส่วนฟื้นตัวได้ไม่มาก แต่บางส่วนไม่สามารถฟื้นตัวได้เลย จนตายลงอย่างช้า ๆ

“เรารู้อยู่เสมอว่าสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลลึกใช้เวลานานในการฟื้นตัว แต่การศึกษานี้แสดงให้เห็นจริง ๆ ว่ามันต้องใช้เวลายาวนานเพียงใด แม้ว่าปะการังบางตัวจะแข็งแรงขึ้น แต่ก็น่าเศร้าปะการังที่ได้รับผลกระทบหนักยังคงพยายามเอาตัวรอด และบางตัวกลับทรุดโทรมลงแม้ผ่านมากว่า 10 ปีแล้วก็ตาม” แฟนนี จิราร์ด นักชีววิทยาทางทะเลและนักอนุรักษ์จากมหาวิทยาลัยฮาวาย ผู้นำการศึกษานี้กล่าว

ปะการังในอ่าวเม็กซิโกที่ได้รับผลกระทบจากน้ำมันดิบรั่วไหล ปะการังในอ่าวเม็กซิโกกำลังอ่อนแอ

หลังจากสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลคลี่คลายไม่กี่เดือน นักวิจัยลงพื้นที่สำรวจพื้นที่โดยรอบ พวกเขาเจอกับปะการังพารามูริเซียที่มีลักษณะคล้ายต้นไม้ ถูกปกคลุมไปด้วยสารสีน้ำตาล และอยู่ในสภาพที่ไม่สู้ดีนัก

นักวิจัยกล่าวว่าปะการังใต้ทะเลลึกเป็นสัตว์กินอาหารที่แขวนลอยในน้ำ ทำให้อาจมีสารเคมีที่เป็นพิษและส่วนผสมของน้ำมันปนเปื้อนเข้าไปในร่างกาย ส่งผลให้เนื้อเยื่อปะการังเสียหาย และกระทบต่อสุขภาพจนสังเกตได้

ตั้งแต่ปี 2010-2023 นักวิทยาศาสตร์ได้ไปเยี่ยมชมสถานที่ทั้งสามแห่งนี้เพื่อติดตามความเสียหาย วัดอัตราการเติบโต และจดบันทึกการฟื้นตัวของปะการังมากกว่า 300 ตัว เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของน้ำมันที่มีต่อระบบนิเวศให้ดีขึ้น และหาทางแก้ไขที่ดียิ่งขึ้นเมื่อเกิดน้ำมันรั่วในอนาคต

ในปี 2022 ปะการังที่ได้รับความเสียหายจากน้ำมันดิบยังคงแสดงสัญญาณของความเครียด แม้ว่าสารสีน้ำตาลที่เคยเคลือบตัวพวกมันจะจางหายไปนานแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ทำให้เห็นว่าปะการังอ่อนแอและมีแนวโน้มจะแตกหัก 

อีกทั้งยังพบ “มูกทะเล” บริเวณกิ่งก้านของปะการังที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งมูกทะเลจะ​​ดึงดูดแบคทีเรียและไวรัสเข้ามา รวมถึงอาจห่อหุ้มสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลทำให้หายใจไม่ออก นอกจากนี้ยังพบกลุ่มปะการังปรสิตอาศัยอยู่บนตัวของปะการังอีกด้วย

“ปะการังเหล่านี้อ่อนแอลงมาก บางส่วนไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้แล้ว บางตัวก็แย่ลงไปกว่าเดิม” จิราร์ดกล่าว 

ภาพเปรียบเทียบสภาพของปะการังในอ่าวเม็กซิโกตั้งแต่ปี 2011-2023

ภาพเปรียบเทียบสภาพของปะการังในอ่าวเม็กซิโกตั้งแต่ปี 2011-2023

“ปะการัง” ความยาวเป็นพันกิโลเมตรกำลังฟอกขาว

ข้ามฟากมาอีกที่ซีกโลก ณ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ในออสเตรเลีย ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังเผชิญกับปัญหา “ปะการังฟอกขาว” และกำลังจะตายจากอุณหภูมิมหาสมุทรที่สูงขึ้นตลอดบริเวณดังกล่าว

สำนักข่าว The Guardian รายงานว่า ปะการังที่ทอดยาวมาจากบริเวณทางตอนเหนือของเกาะลิซาร์ด จนถึงทางตอนใต้ของเกาะเฮรอน ด้วยระยะทางมากกว่า 1,100 กม. กำลังเกิดการฟอกขาวครั้งใหญ่ โดยอุทยานทางทะเลเกรตแบร์ริเออร์รีฟและสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งออสเตรเลีย กำลังเตรียมการสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น

ทางด้าน ดร.มายา ศรีนิวาสัน นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยน้ำร้อนและระบบนิเวศทางน้ำ มหาวิทยาลัยเจมส์ คุก ได้ทำการสำรวจสถานที่ 27 แห่งบริเวณเกาะเคปเปล นอกเมืองร็อคแฮมป์ตันในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา พื้นที่ส่วนใหญ่มีปะการังฟอกขาว

“ฉันเห็นปะการังที่ตายแล้วและกำลังจะตายซึ่งเริ่มมีสาหร่ายปกคลุมมากเกินไป แต่ส่วนใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นจึงยังมีโอกาสที่ปะการังจะฟื้นตัวได้” เธอกล่าว

ก่อนหน้านี้ แนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลกเคยผ่านเหตุการณ์การฟอกขาวครั้งใหญ่มาแล้ว 6 ครั้ง เป็นผลมาจาก “ภาวะโลกร้อน” ทำให้ความร้อนในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น โดยครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้น คือในปี 2022 ทั้งที่เป็นช่วงปีลานีญา ที่มีอากาศเย็นกว่าปกติ

ดร.แอนน์ ฮอกเก็ตต์ ผู้อำนวยการสถานีวิจัยเกาะลิซาร์ดของพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลียน กล่าวว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ปะการังมีการฟอกขาวเป็นประจำ แต่โชคดีที่สภาพอากาศกลับมาเย็นได้ “ทันเวลา

“มันเกิดขึ้นอีกแล้ว แต่ตอนนี้ยังแย่กว่าเดิม ปะการังจำนวนมากกำลังเครียด บางส่วนก็ฟอกขาวแล้ว วันนี้เราเห็นบางตัวตาย เราได้แต่หวังว่าสภาพอากาศจะกลับมาเย็นได้ทันเวลาอีกครั้ง” ฮอกเก็ตต์กล่าว 

ปะการังฟอกขาวในออสเตรเลีย ปะการังฟอกขาวในออสเตรเลีย
 

 

ตามข้อมูลจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ NOAA ระบุว่า ปะการังเป็นสัตว์ที่บอบบางมาก พวกมันไม่สามารถอาศัยในน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียสได้ หลายชนิดเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสมในอุณหภูมิของน้ำระหว่าง 23–29องศาเซลเซียส แต่บางชนิดสามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงถึง 40 องศาเซลเซียสในช่วงเวลาสั้น ๆ

อีกทั้งแนวปะการังส่วนใหญ่ยังต้องการน้ำเค็ม โดยมีปริมาณความเค็มตั้งแต่ 32-42 ส่วนในพันส่วน แถมต้องการน้ำใสเพื่อให้แสงส่องผ่านได้ในปริมาณมากที่สุด เพราะปะการังต้องอาศัยสาหร่ายสังเคราะห์แสงที่เรียกว่า “ซูแซนเทลลี” ซึ่งอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของพวกมัน ในการจัดหาอาหารให้แก่ปะการัง

ดังนั้น ภาวะโลกร้อนจึงเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของปะการัง เพราะปะการังจะสูญเสียสาหร่ายที่ให้สีและสารอาหารจำนวนมากหากอุณหภูมิของน้ำสูงเกินไป และหากเกิดการฟอกขาวรุนแรงอาจทำให้ปะการังตายได้ ถึงแม้ว่าปะการังจะรอดจากการฟอกขาวและได้สีกลับคืนมา ก็มีเสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ มากขึ้น และไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้อีก


“ปะการัง” พยายามปรับตัวอยู่รอดในโลกที่ร้อนขึ้น

แน่นอนว่าแนวทางการแก้ไขระยะยาวที่ดีที่สุดในการปกป้องแนวปะการัง คือ “การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ให้ได้มากที่สุด แต่ในระหว่างนี้เหล่านักอนุรักษ์และนักวิทยาศาสตร์ต่างกำลังเร่งรักษาชีวิตของปะการังที่บอบบางเหล่านี้อยู่ ด้วยการศึกษาวิธีการเอาตัวรอดจาก “ปะการังโขด” 

ปะการังบางส่วนกำลังปรับตัวเพื่ออยู่รอดในโลกที่ร้อนขึ้นโดยเฉพาะปะการังโขด ปะการังที่สามารถเติบโตได้สูงกว่า 10 เมตร และมีอายุยืนยาวกว่า 600 ปี อีกทั้งยังเป็นอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลหลากหลายสายพันธุ์ 

จากบทความในปี 2021 พบว่ามีปะการังโขดขนาดยักษ์ที่ในแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ที่มีอายุมากกว่า 400 ปี เอาชีวิตรอดจากพายุไซโคลนใหญ่มาแล้ว 80 ครั้ง ผ่านเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวหลายครั้ง และเผชิญกับภัยคุกคามอื่น ๆ มานานหลายศตวรรษ

ปะการังโขดอายุเก่าแก่ในออสเตรเลีย ปะการังโขดก่าแก่ในออสเตรเลีย

 

คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเจมส์คุก ในออสเตรเลีย กำลังศึกษาปะการังโขดนอกชายฝั่งออสเตรเลียตะวันตก ด้วยการใช้เทคโนโลยีจีโนมิกส์เข้ามาช่วยหาข้อมูลการวิวัฒนาการ การจัดลำดับดีเอ็นเอ หาค่าความทนทานต่อความร้อน และพยายามคาดการณ์ช่วงระยะเวลาการสืบพันธุ์ 

รวมถีงตรวจหาความสัมพันธ์ระหว่างปะการังและสาหร่ายซูแซนเทลลี  เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสาหร่ายอาจจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ปะการังโขดสามารถทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้นได้ ทั้งคู่ยังมีรูปแบบความสัมพันธ์แบบภาวะพึ่งพาอาศัย โดยปะการังให้ที่อยู่อาศัยแก่สาหร่าย ขณะเดียวกันสาหร่ายก็ช่วยให้ปะการังมีสี และทั้งสองยังได้รับสารอาหารร่วมกันอีกด้วย

“จนถึงตอนนี้ เราพบความหลากหลายมากกว่าที่คาดไว้ในตอนแรก ซึ่งอาจเป็นสัญญาณการรู้ถึงประสิทธิภพาความทนทานในปะการังที่ต่อความเครียดและภัยธรรมชาติต่าง ๆ แต่งานวิจัยนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น” เคท มารี ควิกลีย์ หนึ่งในทีมวิจัยกล่าว

อย่างไรก็ตาม จิราร์ดกล่าวว่า หากเกิดผลกระทบที่รุนแรงกับปะการัง เฉกเช่นเหตุการณ์น้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโก และหากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงรุนแรงมากยิ่งขึ้น จนค่าความเป็นกรดของมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้น หรืออุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบนิเวศอาศไม่สามารถฟื้นตัวให้กลับมาเหมือนเดิมได้อีก


ที่มา: NASANOAAPhysThe ConversationThe Guardian