จุดบรรจบดนตรีและภาคอุตสาหกรรม เสียงสะท้อนต่อปัญหาโลกร้อน / Photo & Story

จุดบรรจบดนตรีและภาคอุตสาหกรรม  เสียงสะท้อนต่อปัญหาโลกร้อน / Photo & Story

อุตสาหกรรมเพลงในเอเชียก็ตระหนักถึงบทบาทของตัวเอง งานคอนเสิร์ต สตูดิโอบันทึกเสียง และงานเทศกาลดนตรี จัดขึ้นโดยใช้มาตรการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม งาน“Wonderfruit Festivalเทศกาลไลฟ์สไตล์ของคนรักษ์โลก”

ที่จัดขึ้นในไทยเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกแนวคิดนี้ผ่านการลดปริมาณขยะ การรีไซเคิล และการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในการแสดง เทศกาลดนตรี งานดนตรี“Rainforest World Music Festival”ในมาเลเซียไม่เพียงแต่นำเสนอดนตรีที่หลากหลายแต่ยังส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าฝนและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย

กลุ่ม “IKLIM” ก่อกำเนิดจากการรวมตัวกันของนักดนตรี 13 คนในอินโดนีเซีย จากข้อกังวลเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน โดยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรี เพื่อทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งที่ต้องทำเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการแบ่งปันศิลปะและเสียงดนตรี โดยอัลบั้มรวมเพลง‘sonic/panic’ที่วางจำหน่ายภายใต้ Alarm Records

โดย IKLIM ได้ก่อตั้ง Music Declares Emergency ที่อินโดนีเซีย เป็นก้าวแรกของการเคลื่อนไหวในภูมิภาคเอเชียกับการรวบรวมนักดนตรี ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้รักดนตรีเข้าด้วยกัน เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดของศิลปะและดนตรี และยืนหยัดร่วมกันในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ