'จานบิน' เกาะลัดอีแท่น แก้ปัญหา 'ผักตบชวา' ยกระดับชุมชน

'จานบิน' เกาะลัดอีแท่น แก้ปัญหา 'ผักตบชวา' ยกระดับชุมชน

ชุมชน 'เกาะลัดอีแท่น' จ.นครปฐม จับมือ ทีวีโอ เดินหน้า โครงการจานบิน Eco Flying นำ 'ใบ' ผักตบชวา มาแปรรูปเป็นภาชนะรักษ์โลกสำหรับใส่อาหาร สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้ชุมชน หนุน Green Concept พัฒนาการท่องเที่ยว สู่การพัฒนาเมือง

Key Point :

  • ผักตบชวา นับเป็นหนึ่งในปัญหาของชุมชนริมน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสัญจรทางน้ำ และทำให้ทัศนียภาพไม่สวยงาม 
  • 'เกาะลัดอีแท่น' เรียกว่าเป็นหนึ่งในชุมชนท่องเที่ยว ที่พบปัญหาดังกล่าว จึงร่วมมือกับ 'ทีวีโอ' เกิดเป็นโครงการ จานบิน แปรรูปผักตบชวา สู่จานจากธรรมชาติ 100%
  • การแปรรูปดังกล่าว นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาผักตบชวาแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว นำไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน 

 

 

'เกาะลัดอีแท่น' กว่า 6,000 ไร่ เป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร บริเวณแม่น้ำท่าจีน ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม ภายหลังฟื้นตัวจากวิกฤติน้ำท่วมในปี 2554 มีการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว ในปี 2557 กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะความเชื่อที่ว่าการพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นหนึ่งในการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน

 

ที่นี่เรียกว่าเป็นเกาะแห่งส้มโอ ดังนั้น นอกจากกิจกรรมท่องเที่ยว ไม่ว่าจะล่องแพเก็บส้มโอ เวิร์กชอปทำยาดม และตลาดคลองผีเสื้อ ที่รวมผลิตภัณฑ์เด็ดๆ ของเกาะลัดอีแท่น และชุมชนข้างเคียงมาไว้ในที่เดียวแล้ว ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปหลากหลาย อาทิ ชาส้มโอ กาแฟส้มโอ เค้กส้มโอ ผลไม้แช่อิ่ม เมี่ยงคำ น้ำพริก เป็นต้น อีกทั้ง เมนูยำส้มโอ จ.นครปฐม ยังได้รางวัลหนึ่งจังหวัด หนึ่งเมนู จาก กระทรวงวัฒนธรรม อีกด้วย

 

\'จานบิน\' เกาะลัดอีแท่น แก้ปัญหา \'ผักตบชวา\' ยกระดับชุมชน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

จานบิน แก้ปัญหาผักตบชวา

อย่างไรก็ตาม หนึ่งใน Pain Point สำคัญของชุมชนริมน้ำคือ ปัญหาผักตบชวาที่มีมากว่า 10 ปี 'เอกวิทย์ นวเศรษฐ เลขานุการ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว เกาะลัดอีแท่น จ.นครปฐม ให้สัมภาษณ์กับ 'กรุงเทพธุรกิจ' ว่า ปัญหาผักตบชวาส่งผลต่อการสัญจรเรือ และทัศนียภาพ จึงเกิดเป็น โครงการจานบิน Eco Flying ร่วมกับ บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันถั่วเหลือง ตรา 'องุ่น' และวัตถุดิบอาหารสัตว์ ภายใต้ชื่อ 'ทีวีโอ' ซึ่งพบปัญหาเดียวกัน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้การสัญจรทางน้ำ

 

\'จานบิน\' เกาะลัดอีแท่น แก้ปัญหา \'ผักตบชวา\' ยกระดับชุมชน

 

โครงการจานบิน Eco Flying เป็นโครงการแปรรูปผักตบชวาเป็นภาชนะ ที่ได้ศึกษาวิธีการ และขั้นตอนจากศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์บริหารจัดการ ผักตบชวาแบบครบวงจร ผ่านแนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG (Bio-Circular-Green Economy) เน้นสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นจากการนำวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ โดยนำ 'ใบ' ผักตบชวามาแปรรูปเป็นภาชนะรักษ์โลกสำหรับใส่อาหาร เพื่อใช้ในชุมชน และจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งภาชนะชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติหลังการใช้งาน

 

ขั้นตอนการทำคือ นำผักตบชวามาล้างทำความสะอาด ผึ่งให้คลายน้ำ และนำมาปั๊มเป็นจานใช้ครั้งเดียวทิ้ง และไม่ใช่แค่ผักตบชวาเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ใบไม้อื่นๆ เช่น กาบหมาก กาบกล้วย กาบไผ่ วัสดุในชุมชนมาพัฒนาเป็นจานจากธรรมชาติ 100% นอกจากนี้ ยังต้องทำการตรวจสอบแหล่งน้ำก่อนเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยไร้สิ่งปนเปื้อน

 

\'จานบิน\' เกาะลัดอีแท่น แก้ปัญหา \'ผักตบชวา\' ยกระดับชุมชน

 

 

“คอนเซปต์แรกคือ รวมตัวกันผลิตจานโดยให้คนในชุมชนเป็นคนผลิต และขายให้คาเฟในเกาะลัดอีแท่น คาเฟในนครปฐม และขยายไปยังพ่อค้าแม่ค้าในตลาดคลองผีเสื้อ ซึ่งมีตลาดออร์แกนิกในวันเสาร์-อาทิตย์ ส่งเสริมการเป็น Green Concept ในชุมชน พร้อมกับเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาดูงานได้ คาดว่าจะสามารถผลิตได้ในเดือนธันวาคม โดยตั้งใจจะผลิตให้ราคาไม่แพง เพราะ 'จานบิน' คือ จานจะสามารถบินไปทั่วนครปฐม และคาเฟอื่นๆ หากราคาแพง จะบินไม่ได้ ต้องราคาถูก และคุณภาพดี”

 

\'จานบิน\' เกาะลัดอีแท่น แก้ปัญหา \'ผักตบชวา\' ยกระดับชุมชน

 

การท่องเที่ยว สู่การพัฒนาเมือง

เอกวิทย์ กล่าวถึงเป้าหมายของโครงการว่า อันดับแรก คือ เพิ่มรายได้ชุมชน เกิดการจ้างงาน กระจายรายได้ ถัดมาคือ การพัฒนาที่ยั่งยืน เรามองถึงการพัฒนาการท่องเที่ยว เพราะเราเป็นชุมชนท่องเที่ยว การใส่ใจสิ่งแวดล้อมจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน คอนเซปต์นี้จะยังอยู่คู่กับโลกไปอีกร้อยปี

 

“โครงการจานบิน เป็นหนึ่งในการพัฒนาท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวจะนำไปสู่การพัฒนาเมือง เช่น ถนนหนทาง สาธารณูปโภค เพราะฉะนั้น สิ่งนี้สามารถเป็นโมเดลของประเทศได้ หากเราไม่วาดให้ใหญ่ มันจะไม่ถูกนำไปถึงจุดนั้น แต่หากมองให้ใหญ่ แม้จะไปถึงหรือไม่ เชื่อว่าจะอะไรบางอย่างผลักดันเราให้ไปถึงแน่นอน” เอกวิทย์ กล่าว

 

\'จานบิน\' เกาะลัดอีแท่น แก้ปัญหา \'ผักตบชวา\' ยกระดับชุมชน

 

ด้าน 'พาชัย จันทร์พิทักษ์' ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการจานบิน Eco Flying เป็นหนึ่งในโครงการด้านความยั่งยืน โดยยึดโยงระหว่างการแก้ปัญหา สร้างรายได้ และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ด้วยการเพิ่มมูลค่าให้ผักตบชวา พร้อมเข้าไปสนับสนุน และถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสร้างชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง มีศักยภาพ และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

“การเดินเคียงข้างชุมชน และสังคม พร้อมส่งเสริมและดูแลในเรื่องของสุขอนามัย รวมถึงสนับสนุนด้านการศึกษาให้แก่เยาวชน ผลักดันให้เกิดการจ้างงานให้กับคนในพื้นที่ ควบคู่กับการใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม สะท้อนนโยบายด้านความยั่งยืนของ 'ทีวีโอ' ที่ถ่ายทอดผ่านการดำเนินงานของบริษัทมาอย่างยาวนาน เพื่อเป้าหมาย สร้างสังคมที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตอย่างสมดุล และยั่งยืนในทุกมิติ” พาชัย กล่าวทิ้งท้าย

 

 

\'จานบิน\' เกาะลัดอีแท่น แก้ปัญหา \'ผักตบชวา\' ยกระดับชุมชน

 

เติบโตบนรากฐานแห่งความยั่งยืน

ทีวีโอ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีบนรากฐานแห่งความยั่งยืน ที่ผสานเข้ากับการดำเนินงานทุกด้าน ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามหลัก ESG (Environment, Social and Corporate Governance) พร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ทุกกลุ่ม ตั้งแต่ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ชุมชน พันธมิตรทางธุรกิจ และผู้บริโภค เพื่อตอกย้ำความตั้งใจในการสร้างการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม

 

สนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งสร้างสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อม บนเส้นทางแห่งรอยยิ้มและความสุข สร้างพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิดการสร้างคุณค่าสู่ชุมชน ผ่านการดำเนินงานตามแนวทางความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม

 

\'จานบิน\' เกาะลัดอีแท่น แก้ปัญหา \'ผักตบชวา\' ยกระดับชุมชน

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์