การประเมินมูลค่าธุรกิจมิติ Climate Change บทบาท“ภาคการเงิน”สู่ความยั่งยืน

การประเมินมูลค่าธุรกิจมิติ Climate Change บทบาท“ภาคการเงิน”สู่ความยั่งยืน

ตอนนี้เรากำลังเผชิญผลกระทบจากภาวะโลกร้อน”คำพูดนี้พิสูจน์ได้ด้วยการสังเกตว่าสภาพอากาศปัจจุบันหากจะร้อนก็ร้อนจัดเหมือนเม.ย.ที่ผ่าน หากฝนจะตกก็ตกหนักแบบไม่ลืมหูลืมตา

แม้ไม่เกี่ยวโดยตรงกับน้ำที่ท่วมกทม.อยู่ตอนนี้ แต่ก็น่าจะมีส่วนอยู่มาก  สถานการณ์เหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้ทุกคนต้องตระหนักถึง“ปัญหาโลกร้อนและร่วมกันแก้ไข”

ในส่วนภาคธุรกิจผู้มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ แม้จะมีปัจจัยกำไร-ขาดทุนเป็นเป้าหมายหลักของการทำธุรกิจแต่ก็สามารถมีส่วนร่วมแก้ปัญหาโลกร้อนได้ ด้วยการสนับสนุนจากภาคการเงิน

ธารฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในหัวข้อ “เปิดโลกการเงินแห่งอนาคตตองอยู่ได้อย่างยั่งยืน การเงินสีเขียวธนาคารเพื่อความยั่งยืน” ในงานการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวระดับสูง ประจำปี 2566 จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่า ปัญหาโลกร้อนนำไปสู่ความเสี่ยงด้านกายภาพ (Physical Risks) ที่จะส่งผลกระทบให้ 1 ใน 3 ของแรงงานไทยที่อยู่ในภาคเกษตร ที่จะได้รับผลกระทบจาก Climate Change จนทำให้สัดส่วน จีดีพี ไทยลดลง 2.​​43%ใน ปี 2050 ไทยจะสูญเสียมูลค่าทาง เศรษฐกิจมหาศาล หากนิ่งเฉย ซึ่งไทยมีขีดความสามารถในการรับมือกับภัยทางธรรมชาติอยู่ในอันดับที่ 39 จาก 48 ประเทศ แต่ไทยติดลำดับที่ 9 ของประเทศที่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ดังนั้น จึงเกิดแนวนโยบายภาคการเงินไทยเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจไปสู่ความยั่งยืนขณะเดียวกันก็ต้องพร้อมรับมือกับโอกาสและความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดสรรเงินทุนให้เพียงพอกับภาคธุรกิจที่ต้องการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่าน

การประเมินมูลค่าธุรกิจมิติ Climate Change บทบาท“ภาคการเงิน”สู่ความยั่งยืน

หลักการภาคการเงินนั้นสามารถประเมินผลกระทบ (ความเสี่ยงและโอกาส) ด้านสิ่งแวดล้อม ให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตัดสินใจ และการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ และมีผลิตภัณฑ์ หรือบริการทางการเงินที่จำเป็น และเพียงพอให้สามารถกระตุ้น หรือส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถปรับตัวได้”

แนวนโยบายสถาบันการเงินโดยคำนึงถึงมติด้านสิ่งแวดล้อมได้มีการประกาศเจตนารมณ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG Declaration) เพื่อกำหนดทิศทางที่ชัดเจนร่วมกันของอุตสาหกรรมธนาคาร ด้วยมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย (Thailand Taxonomy) 

ทั้งนี้ กำหนดจัดกลุ่มด้วยระบบ“สัญญาณไฟฟ้าจราจร” โดย สีเขียว คือ กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับ เป้าหมายความตกลงปารีส เช่น การผลิต พลังงานจากแสงอาทิตย์ สีเหลือง คือ กิจกรรมที่ลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกยังไม่ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าศูนย์ และสามารถปรับปรุง เป็นกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สีแดง คือ กิจกรรมที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้อง ทยอยลดกิจกรรมเหล่านี้ ลงอย่างต่อเนื่อง เช่น พลังงานไฟฟ้าจากถ่านหิน

อย่างไรก็ตาม ต้องหลีกเลี่ยง Greenwashing  หรือ การฟอกเขียว เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทประเทศและสากล ซึ่งใช้หลักการ“Science-based Targets (SBT)” ว่าด้วยการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับเป้าหมายของข้อตกลงปารีส บนพื้นฐานทาง Climate Science ซึ่งมีเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไว้ให้ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส และมุ่งสู่การจำกัดอุณหภูมิฯ ไว้ให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

        “การจัดระบบการจัดสรรเงินทุนผ่านกลไก Sustainable finance โดยเป้าหมายระยะยาวสัดส่วนกิจกรรมสีเขียวสูงขึ้นลดสัดส่วนกิจกรรมสีเหลือง และแดงอย่างเป็นระบบ โดยไม่เกิดการสะดุด ชะงักงันของระบบเศรษฐกิจการเงิน”

จากเป้าหมายดังกล่าว นำไปสู่การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูลสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดทั้ง Value Chain สามมรถประเมินความเสี่ยงจาก Climate change ที่กระทบต่อมูลค่าของบริษัทแต่เนิ่น ๆ เป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ความเสี่ยงได้อย่างเป็นระบบ

นอกจากนี้ ยังมีการผลักดันให้มีโครงสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม ให้สถาบันการเงินมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย กระตุ้นและลดภาระต้นทุนให้ภาคธุรกิจในช่วงการปรับตัว โดยมีกลไกหรือมาตรการทั้งในรูปแบบ sticksหรือ การลงโทษและcarrotsหรือการให้รางวัลให้กับสถาบันการเงินและภาคธุรกิจที่ไม่นำไปสู่การบิดเบือน กลไกตลาดในระยะยาว

เป้าหมายลดความร้อนของโลก เพื่อไม่ให้โลกร้อนจนกลายเป็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาคธุรกิจเอง แต่การจะเปลี่ยนผ่านเป็นเรื่องยากทั้งการปรับตัวและปัจจัยสนับสนุนทางการเงินซึ่งเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน