'บีไอจี' ชู Climate Technology สร้าง 'อีโคซิสเต็ม' ดันประเทศสู่เป้า Net Zero

'บีไอจี' ชู Climate Technology สร้าง 'อีโคซิสเต็ม' ดันประเทศสู่เป้า Net Zero

"บีไอจี" ชูนวัตกรรม Climate Technology เน้นความร่วมมือทุกภาคส่วนเกิดเป็น “อีโคซิสเต็ม” เพื่อหนุนเป้าหมายธุรกิจ-ประเทศ สู่ความยั่งยืน

กรุงเทพธุรกิจ” ร่วมกับ "บีไอจี" ผู้นำนวัตกรรมก๊าซอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสภาพภูมิอากาศ (Climate Technology Company) จัดเวทีสัมมนา Climate Tech Forum : Infinite Innovation...Connecting Business to Net Zero เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2566

เวทีสัมมนาครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านสภาพภูมิอากาศ พร้อมสร้างพลังขับเคลื่อนร่วมกันทั้งจากภาครัฐ และเอกชน เพื่อย้ำความตั้งใจของ บีไอจี ในการผลักดันเทคโนโลยีการลดผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ที่สอดรับเป้าหมายของไทย และทั่วโลก

นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บีไอจี กล่าวว่า บีไอจี ในบริบทใหม่จะเน้นการลงมือทำเพื่อสร้างความยั่งยืน เพราะปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาที่เกิดจากความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นทั่วโลก และจะเห็นว่าแม้แต่กรุงเทพมหานคร ก็ตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยงของน้ำทะเลที่สูงขึ้นทุกปี รวมถึงปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในเดือนมิ.ย.2566 แต่ฝนยังตกน้อย

\'บีไอจี\' ชู Climate Technology สร้าง \'อีโคซิสเต็ม\' ดันประเทศสู่เป้า Net Zero

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้สาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีปริมาณก๊าซมากมายถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมาจากการผลิตสินค้า และบริการให้ประชาชน ทั้งภาคพลังงาน ขนส่ง อุตสาหกรรม และการเกษตร

“ธุรกิจเรามาจากการเอาก๊าซต่างๆ ทั้งไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน เพื่อเป็นธุรกิจที่เป็นรากฐานเพื่อผลิตสินค้าให้กับคนไทย ซึ่งเราเติบโตมาพร้อมกับช่วงปีที่ถือว่าเป็นปีที่โชติช่วงชัชวาลกว่า 35 ปี ทำให้อุตสาหกรรมมีเติบโต วันนี้เราได้รับความไว้วางใจจนก้าวเป็นผู้นำด้านก๊าซอุตสาหกรรม และได้รับการยอมรับจากเวทีโลกในเรื่องของความยั่งยืน”

สำหรับหลักความยั่งยืนของบีไอจี และแอร์โปรดักต์ ที่เป็นบริษัทแม่ในสหรัฐได้เน้นหลักความยั่งยืนคือ ดูแลทั้งแวดล้อมและสังคม เพื่อให้มีคุณภาพที่ดี ซึ่งการใช้ไฮโดรเจนจะช่วยดึงกำมะถันให้ต่ำลงเพื่อให้รถยนต์ปลอดภัย และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยในยามวิกฤติที่ผ่านมา พบว่าผลิตภัณฑ์ของ บีไอจี ช่วยชีวิตทีมหมูป่า และช่วยให้ประเทศไทยก้าวผ่านโควิด-19 จากการขาดออกซิเจน รวมถึงช่วยบำบัดบึงน้ำให้สะอาดขึ้นจากความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 50%

\'บีไอจี\' ชู Climate Technology สร้าง \'อีโคซิสเต็ม\' ดันประเทศสู่เป้า Net Zero

ทั้งนี้ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งมองว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องลุกขึ้นมาลงมือทำเพื่อสร้างความแตกต่างที่หลากหลายจากความมุ่งมั่นที่ไม่ได้แค่ผลิต แต่จะนำความเชี่ยวชาญที่มีมาแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรม อาทิ การผลิตให้คุ้มค่ามีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืนมากขึ้น

“เป้าหมายบีไอจี เชื่อว่าสอดคล้องกับทุกภาคส่วนคือ บรรลุเป้าหมาย Net Zero ที่บางบริษัทวางเป้าไว้สอดคล้องกันปี 2050 ไวกว่าเป้าหมายประเทศ และวันนี้เราลงมือทำไปแล้ว สามารถลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิได้ 20% และในปี 2030 จะได้ลด 30% และปี 2040 และปี 2050 จะสามารถเป็นศูนย์ จากการใช้ Climate Technology”

นายปิยบุตร กล่าวว่า สิ่งที่อยากเน้นย้ำใน 5 เรื่อง คือ 

1.เทคโนโลยีการดักจับการใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) กำลังได้รับแรงขับเคลื่อน และสามารถประยุกต์ใช้ได้ในกระบวนการอุตสาหกรรมหลากหลายที่กำลังปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเทคโนโลยีนี้จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยคาร์บอน และการมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต

\'บีไอจี\' ชู Climate Technology สร้าง \'อีโคซิสเต็ม\' ดันประเทศสู่เป้า Net Zero

2.ไฮโดรเจน โดยบีไอจีเชี่ยวชาญ และเป็นรายใหญ่สุดของโลก บริษัทแม่ลงทุน 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเน้นบลูไฮโดรเจน และกรีน ไฮโดรเจน ซึ่งคืบหน้า 20-30% และพร้อมใช้งานเต็มรูปแบบปี 2026-2027 

3.โซลูชันลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างการเติบโตให้กับเศรษฐกิจประเทศ

4.แพลตฟอร์ม เพื่อตอบโจทย์ภาคธุรกิจที่ตรวจจับว่าภาคอุตสาหกรรมปล่อยคาร์บอนปริมาณเท่าไร รวมถึงการตรวจจับการใช้พลังงาน วิธีการลดคาร์บอนในรูปแบบตามความเหมาะสมของธุรกิจ และซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านแพลตฟอร์มของบีไอจีได้

5. BCG Model  (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว) นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทั้งนี้ เพื่อตอบรับกับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ที่ปัจจุบันใช้ลดการปลดปล่อยกำมะถัน บีไอจี ร่วมกับกลุ่ม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดสถานีนำร่องทดลองใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle: FCEV) แห่งแรกของไทยที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

\'บีไอจี\' ชู Climate Technology สร้าง \'อีโคซิสเต็ม\' ดันประเทศสู่เป้า Net Zero

สำหรับการนำรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง รุ่นมิไร (Mirai) ของโตโยต้า มาทดสอบใช้งานให้บริการรับ-ส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา จ.ชลบุรี สำหรับนักท่องเที่ยว และผู้โดยสารในพัทยา และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อลดการใช้ฟอสซิลฟิลจากภาคไฟฟ้า 30% โดยเฉลี่ยมีคาร์บอนต่ำถึง 60% และสร้างไฮโดรเจน อีโคโนมี โดยนำไปใช้ในตอนกลางคืน รวมถึงภาคผลิตไฟฟ้า และหลายอุตสาหกรรมในมาบตาพุด

นอกจากนี้ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใหญ่เกินกว่าที่จะทำคนเดียวได้จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญที่หลากหลายมาร่วมเป็นอีโคซิสเต็ม และหากนำอีโคซิสเต็มมาจับภาคธุรกิจจะทำให้ระบบนิเวศน์ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมดีขึ้น เพราะปัญหาความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องอาศัยความหลากหลาย ความเป็นมนุษย์ และภาวะผู้นำ จะดึงประโยชน์จากความแตกต่างที่เข้าใจความเป็นมนุษย์มาใช้ปัญหา คิดสร้างสรรค์จากการใช้หัวใจทำงานร่วมกัน

“ต้องการทุกคนที่มีส่วนร่วม และมีเป้าหมายเดียวกัน ไม่อยากให้มองเป็นภัยคุกคาม แต่อยากให้มองปัญหาคือโอกาสธุรกิจ เพื่อให้โลกยั่งยืน จึงทำได้ทันทีเพื่อให้พรุ่งนี้มีอนาคตที่ดีขึ้น”

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์