DC Fast Charger สัญชาติไทย EGAT เติมเต็มนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้า

DC Fast Charger สัญชาติไทย EGAT เติมเต็มนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้า

ประเภทของยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ประกอบด้วย 1. ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle–HEV) กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

ระบุว่า ม.ค.- พ.ค. 2566 มียานยนต์ไฟฟ้า HEV จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 38,647 คัน เพิ่มขึ้น 42.65% (AoA) และมีจำนวนการจดทะเบียนสะสม ณ วันที่ 31 พ.ค.2566  รวม  297,955 คัน เพิ่มขึ้น 33.39%  

2. ยานยนต์ไฟฟ้า ปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle–PHEV) ยอดจดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 38,647 คัน เพิ่มขึ้น 42.65%  และมีจำนวนการจดทะเบียนสะสม  297,955คัน เพิ่มขึ้น 33.39% 

3. ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle–BEV) ยอดจดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 33,365 คัน เพิ่มขึ้น 485.15%  และจำนวนการจดทะเบียนสะสม 65,333 คัน เพิ่มขึ้น 283.72%  ส่วน 4. ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle–FCEV) ยังไม่มีข้อมูลจดทะเบียน 

จากสถิติการใช้ EV ในประเทศไทย กำลังเป็นเครื่องชี้วัดว่า อนาคตพาหนะหลักจะใช้พลังงาน“ไฟฟ้า” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ทำให้ระบบนิเวศน์ EV ที่สมบูรณ์เป็นสิ่งจำเป็น

เมื่อเร็วๆ นี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือ EGAT พร้อมด้วย บริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด  (EDS)  และ บริษัท Mitsubishi Power Asia Pacific จำกัด (MPW-AP)ทำการเปิดใช้งานเครื่องอัดประจุไฟฟ้าDC Fast Chargerที่ผลิตโดยบริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด ณ สถานีอัดประจุไฟฟ้า EleX by EGATโรงไฟฟ้าวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โดย กฟผ. ในฐานะผู้พัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าภายใต้แบรนด์ EleX by EGATได้เล็งเห็นถึงโอกาสในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบนิเวศน์ยานยนต์ไฟฟ้าในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดของประเทศไทย อีกทั้ง EDS ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม กฟผ. มีประสบการณ์ด้านธุรกิจดูแลอุปกรณ์เครื่องจักร อะไหล่ของโรงไฟฟ้า ได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าทั้งใน และต่างประเทศ ซึ่งนอกจากความเชี่ยวชาญดังกล่าวบริษัท ยังมีศักยภาพในการต่อยอดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ เช่น การพัฒนาเครื่องอัดประจุไฟฟ้าDC Fast Charger ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการด้านการให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า และผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้ารวมถึงส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของผู้ผลิตเครื่องอัดประจุไฟฟ้าภายในประเทศ และเกิดประโยชน์ด้านธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า นำไปสู่การสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมแก่ประเทศไทยในอนาคต

 

 

 

ทั้งนี้ EDSได้พัฒนาเครื่องอัดประจุไฟฟ้าDCFast Chargerที่ผลิต และรับรองมาตรฐาน โดยคนไทยรายแรกโดยมีความเสถียร มั่นคง จ่ายกระแสไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ สามารถสื่อสาร และเชื่อมโยงการใช้งานผ่านระบบแอปพลิเคชัน รองรับการชาร์จกับรถยนต์ไฟฟ้าหลากหลายรุ่นในปัจจุบัน รวมทั้งผ่านการทดสอบมาตรฐาน International Electrotechnical Commission(IEC) จากศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเป็นเจ้าของเครื่องอัดประจุไฟฟ้ามาตรฐานสากล ในราคาที่เหมาะสม และเข้าถึงการบริการหลังการขายได้สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

สำหรับเครื่องอัดประจุไฟฟ้า DC Fast Chargerที่ผลิตโดย บริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด มีกำลังไฟสูงสุดถึง 150kWสามารถชาร์จไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว นำร่องติดตั้งเป็นแห่งแรกที่โรงไฟฟ้าวังน้อยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ EDSได้ร่วมกับEleX by EGATเตรียมพร้อมที่จะขยายเครือข่ายการใช้งานเครื่องอัดประจุไฟฟ้าDC Fast Chargerเชิงพาณิชย์ให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ต่อยอดจากปัจจุบันที่ กฟผ.เปิดให้บริการสถานีชาร์จ EleX by EGATพร้อมสถานีพันธมิตรในเครือข่ายEleXAแล้ว 120 สถานีทั่วประเทศ และตั้งเป้าขยายสถานีชาร์จในเครือข่ายให้มีจำนวนรวมกว่า 180 สถานี ภายในสิ้นปี 2566 เพื่อสร้างความมั่นใจ และประหยัดเวลาในการเดินทางแก่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ควบคู่ไปกับการสร้างอากาศที่ดีลดมลพิษบนท้องถนน 

ในส่วนของบริษัทEDS เกิดจากการร่วมทุนของ กฟผ. 45%Mitsubishi Power Asia Pacific(MPW-AP)30%Mitsubishi Corporation(MC)15% และRATCH Group 10%

การพัฒนาการขนส่ง ต้องควบคู่กับการพัฒนาพลังงานซึ่ง EV มีจุดอ่อนคือ สถานีชาร์จไฟฟ้า ที่ไม่แพร่หลายเท่าปั๊มน้ำมันสำหรับเครื่องยนต์สันดาปทั่วไป แต่เมื่อระบบนิเวศน์ EV ได้รับการเติมเต็มการขับเคลื่อนระบบขนส่งด้วยไฟฟ้าที่ไม่ปล่อยมลพิษจะเป็นอนาคตที่สดใสของคนไทย

 

 


พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์