ปี 66 “ภาระหนี้แรงงาน” ทะยานขึ้น ผลกระทบรายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย

ปี 66 “ภาระหนี้แรงงาน” ทะยานขึ้น ผลกระทบรายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานแรงงานไทยฯ ปี 2566 พบแรงงานเผชิญปัญหาหนี้เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้ไม่พอกับการใช้จ่าย ทำแรงงานส่วนใหญ่ไร้แผนการออม วอนรัฐบาลใหม่ดูแลราคาสินค้า สร้างงานและสร้างความเท่าเทียมในสังคม

อีกไม่กี่วันจะถึง 1พฤษภาคม  ซึ่งเป็นวันแรงงานแห่งชาติ ที่จะมีการเฉลิมฉลองของแรงงานทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก นับเป็นสัญลักษณ์ของกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งแรงงานทุกภาคส่วนและทุกระดับได้มีส่วนในบทบาทที่สำคัญนี้ Chamber Bussiness Poll โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและหอการค้าไทย จัดทำการสำรวจ“สถานภาพแรงงานไทย : กรณีศึกษาผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท” จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 1,300 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 18-24 เม.ย. 2566 

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า แรงงานส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาในเรื่องของรายได้ไม่พอกับรายจ่ายจึงทำให้มีภาระหนี้ที่สูงขึ้นเนื่องจากค่าครองชีพที่สูงโดยมีการกู้เงินเพิ่มเพื่อใช้ชำระหนี้ จึงก่อให้เกิดหนี้สะสม โดยภาระหนี้ครัวเรือนของแรงงานไทยปีนี้ขยายตัว 25.05% คิดเป็นมูลค่าหนี้ 272,528 บาทต่อครัวเรือน แต่สัดส่วนหนี้นอกระบบ ลดลงต่ำสุดในรอบ 14 ปี

นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า ในปีนี้แรงงานมีการวางแผนทำกิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลายและบางส่วนมองเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวส่งผลทำให้มีการใช้จ่ายในช่วงวันแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่ 2,500 บาทต่อคน ทำให้วันแรงงานปีนี้ยอดเงินสะพัดอยู่ที่ 2,067 ล้านบาท ขยายตัว 29.8%  หนี้

สำหรับข้อเสนอของแรงงานไทยที่มีต่อรัฐบาลใหม่ คืออยากให้สร้างความเท่าเทียมกันในสังคม เพิ่มสวัสดิการที่ดี ทำให้เศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ฟื้นตัวเกิดการสร้างงานโดยไม่ต้องเดินทางเข้าทำงานในเมือง ดูแลราคาสินค้าและค่าครองชีพให้สอดคล้องกับรายได้ รวมถึงการปรับค่าแรงตามความเหมาะสมของอัตราเงินเฟ้อและรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น

แรงงานไร้แผนออมเพื่ออนาคต

ทั้งนี้ ผลสำรวจด้านการเก็บออมในปัจจุบันของแรงงานพบว่า 73.5%ไม่มีแผนการออม ขณะที่ 26.5% มีแผนการออม ซึ่งในจำนวนนี้คือเป็นสัดส่วนการออมต่อรายได้เพียง 9.9% สามารถจำเเนกเป็นตัวเงินได้ตั้งแต่500-1,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นสัดส่วนแผนการออมที่กลุ่มตัวอย่างตอบมากที่สุดคือ 45.2%รองลงมาคือ 1,001-2,500 บาท สัดส่วน36.4% และ ต่ำกว่า 500 บาทสัดส่วน 13% 

“สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานภาพทางการเงินของแรงงาน ที่พบว่ามีปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายในปัจจุบัน โดยผลสำรวจระบุว่า สัดส่วนมากถึง 77.2% มีปัญหาดังกล่าว ซึ่งสาเหตุมาจากภาระหนี้มากขึ้น ราคาสินค้าแพงขึ้น รายได้ไม่เพิ่มแต่ราคาของเพิ่มขึ้น ดังนั้น การแก้ปัญหาส่วนใหญ่จึงใช้วิธีกู้ยืมในะรบบ รองลงมาก็หาอาชีพเสริม และกู้ยืมนอกระบบ”

เมื่อถามถึงความเป็นอยู่ของแรงงาน พบว่าส่วนใหญ่ 42.9% ตอบว่า แย่ลง รองลงมา 39.2% ตอบว่าไม่ส่งผลกระทบ และ 10.0% ตอบว่าแย่ลงมาก ส่วนการก่อหน้าของแรงงาน ส่วนใหญ่ 47.1%ตอบว่าก่อหนี้เพิ่มขึ้น รองลงมา 25.3% ตอบว่าไม่ส่งผลกระทบ ส่วนการใช้จ่ายของแรงงาน ส่วนใหญ่ 66.5% ตอบว่า ต้องประหยัดมากขึ้น รองลงมา 18.9%ใช้จ่ายได้ตามที่ต้องการ และ 14.6% ไม่ส่งผลกระทบ ส่วนความสามารถรักษาพยาบาล ส่วนใหญ่ 50.3% ตอบว่ายังไม่ได้รับผลกระทบ รองลงมา46.9% ตอบว่าต้องไปหาสถานพยาบาลฟรี 

แรงงานรับผวาหุ่นยนต์แย่งงาน

ส่วนความเห็นต่อค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบันมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่43% ตอบว่าปานกลาง รองลงมา 23.7% ตอบว่าไม่เหมาะสม และ 21.3% ตอบว่าเหมาะสมน้อย โดยกลุ่มที่เห็นว่าไม่เหมาะสมให้เหตุผลว่า มีค่าใช่จ่ายมากขึ้น รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย และผลตอบนี้น้อยเกินไป อีกทั้งไม่เหมาะสมก้ับหน้าที่และความรับผิดชอบ 

 

“จากปัจจัยต่างๆที่แรงงานเผชิญอยู่นำไปสู่ความกังวลในประเด็นต่างๆ ในปัจจุบันที่แรงงานม่ีอยู่ ซึ่งผลสำรวจพบว่า เรื่องการตกงานเป็นความกังวลสูงสุด รองลงมาคือเรื่องหนี้สิน การจ่ายหนี้ ราคาสินค้า รายได้ปัจจุบันและอนาคต รวมไปถึงการใช้หุ่นยนต์มาทดแทนแรงงานคน การใช้เทคโนโลยีเช่นแอพลิเคชั้นมาแทนคน การพักงาน การลดคนงาน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม พบว่า ในส่วนของมุมมองต่อสถานการณ์เศรษฐกิจนั้น ปี 2566 นี้ แรงงานมีความเห็นว่าเศรษฐกิจจะแย่ลงในสัดส่วนที่น้อยกว่าปี 2565 ที่ผ่านมา  เช่นเดียวกับความสามารถการชำระหนี้ ที่พบว่า ปี 2565 กลุ่มตัวอย่างบอกว่าจะมีปัญหาการชำระหนี้ สัดส่วน 31.5% แต่ในปี 2566 มีเพียง 29.5%ที่ตอบว่าจะมีปัญหาการชำระหนี้ สอดคล้องกับคำถามที่ว่า ช่วง 1ปีที่ผ่านมาแรงงานเคยประสบปัญหาผิดนัดการผ่านชำระหรือไม่ ส่วนใหญ่ 58.5% ตอบว่าไม่เคย และ 41.5% ตอบว่าเคย โดยเหตุผลหลักๆมาจาก หมุนเงินไม่ทัน ตกงาน รายได้ไม่พอใช้จ่าย มีค่าใช้จ่ายหลายทาง และช่วงโควิด -19 

ทั้งนี้ มูลค่าหนี้โดยเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนแรงงานไทยที่ต้องรักภาระอยู่ ปี 2566 อยู่ที่ 8,577 บาทต่อเดือน ปี 2565  อยู่ที่ 7,935 บาทต่อเดือน  และปี 2564 อยู่ที่ 8,024 บาทต่อเดือน