รู้จัก 'Sustainnovation' นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน For All Well-Being

รู้จัก 'Sustainnovation' นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน For All Well-Being

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ และความเป็นอยู่ของมนุษย์ การแก้ปัญหาแบบเดิมอาจจะไม่ทันต่อการรับมือ Sustainnovation นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน จึงเป็นหนึ่งในแนวทางใหม่ ที่ช่วยให้โลกเข้าใกล้จุดสมดุลได้มากขึ้น

Key Point : 

  • วิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้คนเริ่มตระหนักว่า หากจะ Sustainability วิธีการแบบเดิมอาจจะไม่ทัน ดังนั้น จึงต้อง 'ปรับตัว' ปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ยากลำบากขึ้น 
  • ขณะเดียวกัน นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainnovation) จึงเป็นหนึ่งในแนวทางหรือเทคโนโลยีใหม่ ที่นำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์ ผลักดันให้เกิดความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของทุกสรรพสิ่ง (For All Well-Being)
  • หากประเทศไทยสามารถนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้สำเร็จ จะนำไปสู่ Well-being City และ Well-being Development 

 

เมื่อโลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป้าหมายในการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศา เพื่อลดวิกฤติโลกร้อน และการเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และ Net Zero ที่หลายประเทศได้ให้คำมั่นไว้ อาจไม่ทันหากยังใช้วิธีการแบบเดิมๆ

 

เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่แค่เรื่องของอนาคต แต่เป็นปัจจุบันที่หลายฝ่ายต้องเร่งดำเนินการป้องกันผลกระทบที่จะเกิด World Economic Forum Global Risk ได้คาดการณ์ความเสี่ยงในอนาคตที่จะเกิดขึ้น 3 อันดับแรก ได้แก่

1. ความล้มเหลวในการจัดการสภาพภูมิอากาศ (Climate action failure)

2. สภาวะสุดขั้วของลมฟ้าอากาศ (Extreme weather)

3. การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity loss)

 

สะท้อนให้เห็นว่า การสร้างความยั่งยืน หรือ Sustainability นอกจากจะต้องบรรเทาผลกระทบแล้ว ยังต้อง 'ปรับตัว' ในแนวทางใหม่ๆ นำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยให้โลกเข้าใกล้จุดสมดุลได้เร็วขึ้น

 

รู้จัก \'Sustainnovation\' นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน For All Well-Being

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

'ปรับตัว' เพื่อเปลี่ยนแปลง

 

'รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต' หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC by MQDC) ให้สัมภาษณ์กับ 'กรุงเทพธุรกิจ' ว่า ความยั่งยืนในปัจจุบัน และอดีตต่างกันมาก ในอดีตเชื่อว่าเราจะสามารถยั่งยืนได้ด้วยการใช้ของอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด ลดผลกระทบ แต่ปัจจุบันวิธีการเหล่านั้นอาจจะสายไป เพราะต่อให้ใช้อย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ โลกนี้ก็ยังไม่กลับมาสู่จุดสมดุล ทำให้ปัจจุบันคนเริ่มตระหนักว่า Sustainability คือ 'การปรับตัว' ปรับเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ยากลำบากขึ้น ปรับเปลี่ยนไปตามความถดถอยของทรัพยากรให้ได้

 

“เมื่อคนคิดถึง Sustainability ในอดีต คนมักจะพูดถึงเรื่องการ Mitigate ลดทอนปัญหาอย่างไร ป้องกันอย่างไร แต่ในปัจจุบันเราต้อง Adaptive ปรับตัวให้ได้ ตอนนี้เริ่มมองว่าหากจะยั่งยืนต่อไปได้ จะมีเทคโนโลยีอะไรบ้างที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาภายใต้เงื่อนไขใหม่ๆ นี่คือ คำว่า Sustainability ที่เปลี่ยนไป”

 

 

รู้จัก \'Sustainnovation\' นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน For All Well-Being

 

Sustainnovation

 

นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Sustainnovation ซึ่งมาจาก 2 คำประสม ได้แก่ คำว่า Sustainability และ Innovation นับเป็นความหนึ่งในแนวทางใหม่ในการช่วยต่อสู้กับวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 'รศ.ดร.สิงห์' อธิบายต่อไปว่า หากจะให้ยั่งยืนต้องหา New Way โดยมีโซลูชันใหม่ๆ ตัวอย่างหนึ่ง คือ Carbon capture technology เพราะต่อให้เราปลูกต้นไม้มากเท่าไร เพื่อดูดซับคาร์บอน ต่อให้ใช้คอนกรีตที่ปล่อยคาร์บอนน้อยลง จะไม่มีทางที่จะปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้ ต้องดูด และเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ในอากาศ

 

นี่คือหนึ่งใน Sustainnovation โดย Carbon capture ปัจจุบันมีการลงทุนในหลายประเทศ เช่น สวีเดน เดนมาร์ก แต่หากจะให้ใช้ทั่วโลกมองว่าต้องใช้เวลา เพราะ Carbon capture technology ยังอยู่ในระดับ 2-3 จาก 9 ระดับ ยังเป็น Proof of concept state

 

"ขณะเดียวกัน Artificial Intelligence (AI) นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ถูกนำมาใช้ในด้านความยั่งยืน ตัวอย่างเช่น บริษัทขนส่งพัสดุ UPS ในสหรัฐ พัฒนาโปรแกรม AI ในการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้า โดยออกแบบเส้นทางที่จะช่วยลดการเลี้ยวเพื่อการประหยัดพลังงานสูงขึ้น นี่คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ หรือมาจัดการปัญหาใน New Way"

 

รู้จัก \'Sustainnovation\' นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน For All Well-Being

 

เติบโตได้ บนความยั่งยืน

 

อย่างไรก็ตาม การทำเรื่องความยั่งยืนในปัจจุบัน ยังพบอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นต้นทุนที่สูง หรือคนยังขาดความตระหนักถึงผลกระทบเพราะมองว่ายังอีกนาน ขณะเดียวกัน แม้ปัจจุบันจะมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างโซลาร์เซลล์ แต่ก็ยังมีอีกหลายเทคโนโลยีที่ยังอยู่ในช่วงต้น อาทิ เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน ไฮโดรเจน เป็นต้น

 

สิ่งเหล่านี้นับเป็นความท้าทายในเรื่องของการทำเรื่องความยั่งยืน ที่หลายคนอาจมองว่ายังไม่ตอบโจทย์การเติบโตทางธุรกิจ ขณะเดียวกัน รศ.ดร.สิงห์ กลับมองว่า การทำ Sustainability สามารถทำให้บริษัทโตได้ เช่น Patagonia แบรนด์ขายอุปกรณ์ที่ใช้ในการปีนเขา ที่มีความมุ่งมั่นในด้านสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาได้ออกแคมเปญ Don’t buy this Jacket เพราะเขามองว่าคนที่มีอยู่แล้วใช้ให้คุ้มก่อน สุดท้ายยอดขายสูงขึ้น 100% เพราะคนชอบไอเดีย และได้ช่วย Patagonia รักษ์โลก เป็นบริษัทที่โตขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมทิ้งตัว นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรม ด้านH&M อีกหนึ่งแบรนด์เครื่องแต่งกายที่ตั้งเป้าหมายในการใช้ Sustainable Materials 100% ในปี 2030

 

นวัตกรรมตอบโจทย์ Well-Being

 

ขณะเดียวกัน หน้าที่ของ RISC ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน คือ หาวิธีใหม่ๆ ที่คนอื่นสามารถนำไปใช้ได้ และเกิดผลสัมฤทธิ์ในองค์รวม เพื่อนำไปสู่จุด Sustainable หรือ Resilience ที่ผ่านมา RISC ได้ใช้นวัตกรรมตอบโจทย์ความยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นการนำหัวเสาเข็มมาบดทำถนนที่โครงการ The Forestias หรือถนนที่ทำมาจากขยะพลาสติก ภายใน 101 True Digital Park อีกทั้ง ที่ผ่านมา มีการร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ อาทิ ส.อุรณ ดาวเคมิคอล และ เอสซีจี รวมถึงทำงานร่วมกับ GC พัฒนานวัตกรรมจากกระบวนการ Upcycling เปลี่ยนวัสดุเหลือใช้สู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสามารถใช้งานจริงในที่อยู่อาศัย เช่น พรมทอมือที่ทำจากขยะขวดพลาสติกจากท้องทะเล เป็นต้น

 

ทั้งนี้ หากประเทศไทยสามารถนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้สำเร็จ รศ.ดร.สิงห์ มองว่าจะเกิดเมืองที่น่าอยู่ ไม่มีมลพิษ ไม่มีกองขยะ ไม่ต้องกลัวว่าทรัพยากรจะหมดไป แต่ตอนนี้ต้องกลัวไปหมดแปลว่าเราทำยังไม่สำเร็จ เพราะหากทำสำเร็จต้อง Well-being City และ Well-being Development หลายประเทศที่น่าอยู่เพราะเขาจัดการเรื่อง Sustainability ได้ดี เช่น ใน กลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic countries) มีการจัดการขยะได้ดี และรีไซเคิลได้ทั้งหมด รวมถึง ญี่ปุ่น มีการจัดการพลังงาน และขยะได้เป็นอย่างดี จะสังเกตว่า ประเทศที่สามารถดำเนินการด้าน Sustainable Technology ได้ คุณภาพอากาศและคุณภาพชีวิตก็จะดี

 

“ดังนั้น ภาพที่อยากจะเห็นในอนาคต คือ อยากให้ประเทศไทยเป็นต้นแบบ ของ Sustainable countries / Resilience countries ที่จะอยู่อย่างมีความสุขได้อย่างยืนยาว มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ไม่มีมลพิษ จัดการขยะทรัพยากรได้อย่างครบวงจร เพราะในอนาคตคนจะอายุยืนขึ้น ทำอย่างไรให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น” รศ.ดร.สิงห์ กล่าวทิ้งท้าย

 

นิยาม 'Sustainnovation'

 

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ให้ความหมายของคำว่า Sustainnovation คือ การผนวกกันของความคิดระหว่าง Sustainability กับ Innovation โดย Sustainability หรือความยั่งยืนคือ การสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการต่างๆ ของเรากับระบบนิเวศน์ สังคม วัฒนธรรม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

ส่วน Innovation หรือนวัตกรรม จะมี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ต้องใหม่ 2) เกิดการใช้งานจริงแล้ว และ 3) มีประโยชน์อย่างชัดเจน กล่าวคือ Sustainnovation หมายถึง แนวทางหรือเทคโนโลยีใหม่ที่นำไปใช้แล้วเกิดประโยชน์ในการรักษาสิ่งแวดล้อม นำไปสู่สุขภาวะที่ดี อยู่ดีมีสุข รักษาความสมดุล ไม่ว่าจะเป็นเชิงพาณิชย์ เกิดประโยชน์ต่อความสุขของคน และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

สรุปได้ว่า คำนิยามของคำว่า นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainnovation) ที่มีองค์ประกอบของคำว่าความยั่งยืน (Sustainability) ที่มีความหมายที่แตกต่างกันผ่านมุมมองต่างๆ เช่น ความยั่งยืนด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ โดยทุกมุมมอง ล้วนมีเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืน ที่ไม่เพียงแค่สร้างความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ของมนุษย์เท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา เพื่อผลักดันให้เกิดความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของทุกสรรพสิ่ง (For All Well-Being)

 

ดังนั้น การนำองค์ประกอบด้านนวัตกรรม (Innovation) มาประยุกต์ใช้ในการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ จึงมีความสำคัญ และสามารถร่วมสร้างแรงผลักดันให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิผลจริงทั้งในระดับปัจเจกบุคคลชุมชน สังคม เมือง และประเทศ

 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์