ลดขยะพลาสติกแก้วิกฤตขยะพลาสติกทั่วโลก

ลดขยะพลาสติกแก้วิกฤตขยะพลาสติกทั่วโลก

ปัจจุบันขยะพลาสติกได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก จากจำนวนขยะพลาสติกกว่า 350 ล้านตันต่อปี พลาสติกที่ได้รับการรีไซเคิลในแต่ละปี มีเพียงบางส่วนเท่านั้น โลกจึงเผชิญกับวิกฤตมลพิษพลาสติกในห่วงโซ่อาหาร

ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ในช่วงที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม 

องค์กรต่าง ๆ ตั้งเป้าหมายสู่การใช้พลาสติกใหม่ในธุรกิจเป็นศูนย์ (Plastic Neutrality) เพื่อร่วมแก้ปัญหาระดับโลก

นาย กวิน สุภัทรวณิชย์ ผู้จัดการโปรแกรมของ Second Life กล่าวว่าเศรษฐกิจหมุนเวียนมีเป้าหมายที่แน่วแน่ชัดเจน คือ เก็บรวบรวม รีไซเคิล และนำขยะพลาสติกที่เกลื่อนโลกกลับมาใช้ใหม่ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ปล่อยมลพิษสู่ทะเลมากที่สุดในโลก พบว่าชายหาดบางแห่งเต็มไปด้วยขยะมากมาย ทั้งขวดและถุงพลาสติก กล่องนม รองเท้าแตะ แปรงสีฟัน และไฟแช็ค โดยขยะจำนวนมากลอยมาจากทะเล โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนนี้จะทำการจ้างให้คนหลายร้อยคนไปเก็บขยะและทำการรีไซเคิล ซึ่งสามารถทำเป็นอาชีพหรือสร้างรายได้เสริมให้คนในชุมชน โดยนำขยะพลาสติกมูลค่าสูงอย่าง PET ไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ส่วนขยะที่ไม่ได้มีมูลค่ามากและรีไซเคิลไม่ได้ จะนำไปย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ และนำเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel) เพื่อนำไปผลิตไฟฟ้าหรือใช้ในกระบวนการผลิตซีเมนต์”

Second Life ได้เก็บและรีไซเคิลขยะพลาสติกไปแล้วกว่า 2 ล้านกิโลกรัม ในนามของแบรนด์มากมาย อย่างง Caudalie, MARS, Clarins และอื่นๆ เพื่อช่วยแบรนด์เหล่านี้สร้างความยั่งยืนจากการใช้พลาสติกและสนับสนุนโครงการริเริ่มเพื่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น โครงการ 100% Plastic Collect ของ Caudalie เป็นต้น โดยในปี 2566 มีศักยภาพที่จะเก็บและรีไซเคิลพลาสติกได้ถึง 5,000 – 8,000 ตัน หากได้รับการสนับสนุนจากพาร์ทเนอร์ โดยองค์กรตั้งเป้ารีไซเคิลขยะให้ได้ถึง 50,000 ตันภายในปี 2570

 

ได้มีการสนับสนุนบริษัทในการชดเชยการใช้และการผลิตพลาสติกด้วยการให้บริษัทสนับสนุนเงินทุนในซัพพลายเชนของการรีไซเคิลพลาสติกในทะเลผ่านเครือข่ายการรีไซเคิลในพื้นที่ภาคใต้ของไทย การช่วยเหลือและให้เงินสนับสนุนของบริษัทเหล่านี้จะช่วยขับเคลื่อนการเก็บขยะพลาสติกในทะเลที่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง ตลอดจนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิลพลาสติกให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้บนภาคพื้นดินอีกด้วย

การชดเชยการปล่อยพลาสติกฟุตปริ้นท์ช่วยให้แบรนด์และองค์กรสามารถรับผิดชอบต่อปริมาณพลาสติกที่ผลิตขึ้น ทั้งยังเป็นก้าวสำคัญสำหรับองค์กรในการตั้งเป้าหมายสู่ความยั่งยืนจากพลาสติกที่ใช้ในซัพพลายเชน อย่างไรก็ตาม หากแบรนด์ไม่สามารถลดการใช้พลาสติกผ่านการชดเชยปริมาณพลาสติกที่ใช้ได้ ก็สามารถดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนอื่น ๆ พร้อมประชาสัมพันธ์โครงการกับลูกค้าของตนได้ด้วย โครงการชดเชยการปล่อยพลาสติกฟุตปริ้นท์ในลักษณะนี้อาศัยงบประมาณที่ไม่มากเมื่อเทียบกับการดำเนินงานอื่น ๆ (การเก็บขยะพลาสติก 1 กิโลกรัม จะใช้เงินทุน 20 บาท) โดยสามารถปรับงบประมาณได้ตามฟุตปริ้นท์ที่เกิดขึ้นในแต่ละปีได้

 

ปริมาณพลาสติกและสเกลของการดำเนินงานจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการดำเนินงาน เช่น บนเกาะลิบง ซึ่งยังไม่มีระบบการจัดการขยะที่ชัดเจน ได้ร่วมมือกับองค์กร อาทิ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เพื่อจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานการจัดการขยะเพื่อรีไซเคิลขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งอย่างกระจัดกระจายอยู่ในชุมชน โดยโปรแกรมดังกล่าวยังได้สร้างรายได้เสริมให้แก่ผู้คนชุมชนอีกด้วย

 

 โครงการชดเชยการใช้ขยะพลาสติกเป็นเรื่องที่ดีและมีความสำคัญอยู่ที่การเก็บขยะในพื้นที่ซึ่งมักไม่มีระบบในการจัดการขยะ จึงไม่ดำเนินงานในพื้นที่ของเมืองใหญ่หซึ่งมีระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพบางแห่งอยู่แล้ว โดยเน้นในชุมชนของเกาะห่างไกลที่ยังขาดแคลนระบบการจัดการขยะ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่การทิ้งของเสียสู่ธรรมชาติอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม