แบงก์ชาติ เร่งแผน Taxonomy กลไกหนุนสินเชื่อสีเขียว ดันไทยสู่เป้า Net Zero

แบงก์ชาติ เร่งแผน Taxonomy กลไกหนุนสินเชื่อสีเขียว ดันไทยสู่เป้า Net Zero

“แบงก์ชาติ” เร่งคลอดแผน Taxonomy ปีหน้า หวังปูพรหมรัฐ-เอกชน ใช้เป็นกลไกในการสนับสนุนวงเงินเพื่อดันธุรกิจ-ผลิตภัณฑ์สีเขียว สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน หนุนประเทศไทยสู่เป้าหมาย Net Zero

ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา “Energy Security and Carbon Sequestration” หัวข้อ “Sustainable Finance Taxonomy” จัดโดย กลุ่มบริษัท บางจาก คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ และการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญ ซึ่งเป้าหมายที่ปรับให้เร็วขึ้นบน COP27 ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยจะปรับเป้าหมายให้ท้าทายขึ้น ดังนั้น ภาคการเงินถือเป็นตัวกลางในการจัดสรรเงินลงทุนให้กับระบบเศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงยั่งยืนของประเทศ สนับสนุนเงินทุนด้านสิ่งแวดล้อมสังคมธรรมาภิบาล

ทั้งนี้ ทั่วโลกต้องการเงินลงทุนโดยรวม 5-7 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อบรรลุเป้าหมาย ESG และประมาณปีละ 4 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2030 จะควบคุมอุณภูมิโลกเกิน 1.5 องศา ซึ่งเราต้องการเงินลงทุนเหล่านี้อีกมาก ซึ่งสามารถดึงเงินลงทุนแหล่งต่างๆ ของโลกทั้งหมดได้ จะมีเงินลงทุนส่งเสริมความยั่งยืนจะต้องดึงเงินลงทุนเหล่านี้เข้ามาให้ได้

ส่วนความสนใจของสังคมและภาคการเงินสนใจผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สนับสนุนความยั่งยืน สนับสนุน ESG สนันสนุนกรีนออกมา แต่จะรู้ได้ไงว่ากิจกรรมเงินลงทุนใช้สอดคล้องกับความยั่งยืนจริง ไม่ใช่การฟอกเขียว ที่เป็นการแอบอ้างเท่านั้น ต้องจึงสร้างความโปรงใสมั่นใจ ทั้งผู้ให้และผู้รับร่วมกัน ทั้ง 2 เรื่องนี้ได้นำมาสู่ภาคการเงินที่ต้องดำเนินการ จึงเกิด Sustainable Finance ซึ่งมี Taxonomy เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

ทั้งนี้ แบงก์ชาติได้ตั้งคณะกำกับการเงินเพื่อความยั่งยืน เพื่อเผยแพร่แนวทางพัฒนาเพื่อความยั่งยืน กำหนดองค์ประกอบทิศทางที่สำคัญ 5 ข้อ แต่จะขอยกตัวอย่างในเรื่องของการพัฒนาเรื่องของ Taxonomy คือกำหนดนิยามจัดหมวดหมู่กิจกรรมที่สอดคล้องเรื่องของการการพัฒนาเศรษฐกิจ ความสอดคล้องความยั่งยืนให้เข้าใจร่วมกัน ให้ผู้กำกับ ผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องการเข้าถึงแหล่งเงินได้เข้าใจ และนำไปสู่ความคาดหวังให้มีเงินมาสนับสนุนมากขึ้น

เรื่องอื่นๆ ของการพัฒนาการเงินที่ยั่งยืนยังมีอีก อาทิ การเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG ที่สอดคล้องมีมาตฐาน สร้างมาตรการจูงใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดตลาดลงทุนผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดดีมานด์หรือความสนใจ ทางการเงิน ตอบโจทย์ความยั่งยืน พัฒนาบุคคลเพ ซึ่งเรื่อง Taxonomy จะตรงกับอียูที่มีความก้าวหน้ามาก ประเทศไทยจึงมองเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องทำเร่งด่วนเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติจึงได้ดำเนินการตามแผนทรานฟอร์มสู่อนาคต และมีการเตรียมการด้านอื่น ๆ อีก อาทิ ด้านดิจิทัล กรีน ยั่งยืน และด้านความยืดหยุ่นในด้านของการป้องกันความเสี่ยงในเรื่องของสิ่งแวดล้อมได้ออกแนวการพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้สายการเงินออกมา ซึ่ง Taxonomy เป็นหนึ่งในด้านของการขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดลอม

“การเปลี่ยนผ่านฟอสซิลต้องใช้เงินและเทคโนโลยีสูง ธุรกิจองค์กรขนาดเล็กอาจไม่มีขีดความสามารถและความพร้อมประสิทธิภาพด้านการเงิน ต้องคำนึงถึงผลกระทบของโลก ซึ่งความท้าทายอนาคตหากช้าจะมีต้นทุนสูง หากไปเร็วจะถึงจุดที่ไปได้ทันการ การตั้งคณะทำงานเรื่อง Taxonomy จึงเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งปีนี้น่าจะเห็กฎระเบียบแผนงานที่ชัดเจน”

สำหรับเป้าหมายหลัก อยากให้ประเทศไทยมี Taxonomy ที่เป็นมาตรฐานเพื่อกำหนดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ภาคการเงิน รัฐ และเอกชนสามารถนำไปใช้อ้างอิงในการดำเนินการของตัวเองได้ ทั้งวางนโยบาย กำกับสนับสนุน สร้างผลิตภัณฑ์หรือการเข้าถึงแหล่งทุนต่าง ๆ โดยประเทศไทยจะเริ่มจากภาคพลังงาน และขนส่งก่อน ถือเป็นภาคใหญ่ที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด

“อียูและจีนได้มีการบังคับใช้เข้มงวด ส่วนในอาเซียน อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ จะเริ่มในเรื่องของความสมัครใจ ให้ภาคส่วนที่สนใจนำไปใช้ก่อน ภาคส่วนที่บังคับ อียูมีทั้งภาคการเงิน การเปิดเผยข้อมูล บริษัทขนาดใหญ่ลูกจ้างเกิน 500 คนต้องเปิดเผยข้อมูล ค่าใช้จ่ายการลงทุนพลังงานกี่เปอร์เซ็นต์ที่สอดคล้องกับ Taxonomy เป็นต้น ส่วนฟิลิปปินส์ กับประเทศไทยอยู่ระหว่างจัดทำ”

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องทำต่อไปหลังจากเรื่องของ Taxonomy คือ การเปิดเผยข้อมูล ซึ่งภาคธุรกิจ สมาคมต่าง ๆ ต้องเปิดเผยข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ ดังนั้น Taxonomy จะเป็นก้าวสำคัญ ที่จะสนับสนุนเป้าหมาย Net Zero ในไทย จะเป็นตัวช่วยอ้างอิงภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ให้ได้ปรับตัวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้เกิดการทำกรีน ฟอสซิล มากขึ้น สถาบันทางการเงินก็จะได้ทำเป็นตัวอ้างอิง โดยมีรัฐกำกับ ส่วนเอกชนจะประเมินความพร้อมด้านเงินลงทุนของตนเองได้”