"คาร์บอนเครดิต" โอกาสธุรกิจ ชุบชีวิตให้ผืนป่า-ชุมชน

"คาร์บอนเครดิต" โอกาสธุรกิจ ชุบชีวิตให้ผืนป่า-ชุมชน

การปลูกต้นไม้ ช่วยเพิ่มออกซิเจน ดูดซับ "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" โดยประเทศไทย ตั้งแต่ ปี 2561 สามารถนำไม้ยืนต้นมาจดหลักประกันที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อประเมินในการขอสินเชื่อได้ ทั้งยังสามารถนำมาคำนวณเครดิต เพื่อขายในตลาดการค้า "คาร์บอนเครดิต" ได้ด้วย

ข้อมูล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 65 ระบุว่า 5 ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดของโลก ได้แก่ จีน, สหรัฐอเมริกา, อินเดีย, รัสเซีย และญี่ปุ่น ส่วนประเทศไทยเราอยู่ในอันดับที่ 21 ของโลก หรือประมาณ 0.8% ของโลก และเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงที่สุด

 

ดังนั้น ทุกประเทศจึงต้องหาทางลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การปลูกต้นไม้ช่วยเพิ่มออกซิเจนในชั้นบรรยากาศและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยลดการสะสมของก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง โดยผูัที่ปลูก อาจจะเป็นบริษัท หรือ ประชาชาชน สามารถวัดขนาดความสูง ความกว้าง เส้นรอบวง ต่าง ๆ ของต้นไม้และนำข้อมูลทั้งหมดใส่งห้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)คำนวณและออกใบรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตที่สามารถขายได้

 

 

ล่าสุด  “วราวุธ ศิลปอาชา”  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.)ให้ข้อมูลว่าตั้งแต่ปี 2561 สามารถนำไม้ยืนต้นมาจดหลักประกันที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อประเมินในการขอสินเชื่อได้ ซึ่งจากข้อมูลเมื่อวันที่ 20 พ.ค 2565 ระบุว่า มีการจดทะเบียนนำต้นไม้มาเป็นหลักประกัน ทั้งสิ้น 146,282 ต้น เป็นจำนวนเงินค้ำประกัน 137,117,712 บาท

 

นอกจากนี้ ยังสามารถนำต้นไม้มาคำนวณคาร์บอนเครดิต เพื่อขายในตลาดการค้าคาร์บอนเครดิตได้ด้วย โดยปัจจุบันราคาขายของ คาร์บอนเครดิต เฉลี่ยอยู่ที่ 120 บาท/ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 231,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

 

สำหรับไม้ยืนต้นที่สามารถเป็นหลักประกันได้มีประมาณ 58 ชนิด ได้แก่ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนชันตาแมว ไม้สกุลยาง (ไม่รวมยางพารา) สะเดา สะเดาเทียม ตะกู ยมหิน ยมหอม นางพญาเสือโคร่ง นนทรี สัตบรรณ ตีนเป็ดทะเล พฤกษ์ ปีบ ตะแบกนา เสลา อินทนิลน้ำ ตะแบกเลือด นากบุด ไม้สัก พะยูง ชิงชัน กระซิก กระพี้เขาควาย สาธร แดง ประดู่ป่า ประดู่บ้าน มะค่าโมง มะค่าแต้ เคี่ยม เคี่ยมคะนอง เต็ง รัง พะยอม ไม้สกุลจำปี (จำปีสิรินธร จำปีป่า จำปีถิ่นไทย จำปีดง จำปีแขก จำปีเพชร )

 

แคนา กัลปพฤกษ์ ราชพฤกษ์ สุพรรณิการ์ เหลืองปรีดียาธร มะหาด มะขามป้อม หว้า จามจุรี พลับพลา กันเกรา กะทังใบใหญ่ หลุมพอ กฤษณา ไม้หอม เทพทาโร ฝาง ไผ่ทุกชนิด ไม้สกุลมะม่วง ไม้สกุลทุเรียน และมะขาม ประชาชนที่มีที่ดิน และต้องการปลูกต้นไม้ สามารถขอรับกล้าไม้ได้ฟรี ที่กรมป่าไม้ ดูรายละเอียดที่ คลิก 

 

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้เปิดกระดานซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต ผ่านแพลตฟอร์ม FTIX ครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ก.ย.2565 ที่ผ่านมา ซึ่งตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยยังมีขนาดเล็ก มีอัตราการเติบโตร้อยละ 8.5 ต่อปี เพราะยังเป็นนโยบายแบบสมัครใจ (Voluntary carbon market) อย่างไรก็ตาม แนวโน้มของตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตในอนาคตนั้น จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในอนาคต เพราะนอกจากจะได้ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและช่วยลดโลกร้อนแล้ว ยังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีกำไรสุทธิจากการซื้อขายคาร์บอนเครดิตอีกด้วย

 

\"คาร์บอนเครดิต\" โอกาสธุรกิจ ชุบชีวิตให้ผืนป่า-ชุมชน