กลุ่ม ปตท. จัดงาน 'PTT Group Innovation for Future Society' วันที่ 14-15 พ.ย. 66

กลุ่ม ปตท. จัดงาน 'PTT Group Innovation for Future Society' วันที่ 14-15 พ.ย. 66

กลุ่ม ปตท. จัดงาน "PTT Group Innovation for Future Society" จุดพลังสร้างอนาคต ขับเคลื่อนชุมชนสู่ความยั่งยืน วันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2566 ที่ ปตท. สำนักงานใหญ่

กลุ่ม ปตท. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนและความเป็นอยู่ที่ดีแก่ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยจัดตั้ง "โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท." เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง สร้างรายได้ ลดรายจ่ายให้กับเกษตรกรและชุมชน

นอกจากนี้ ยังยกระดับกระบวนการผลิตและคุณภาพผลผลิตของเกษตรกร ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เพื่อส่งเสริมช่องทางการตลาด สร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ชุมชน รวมถึงส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรการผลิตและเพาะปลูก การจัดการวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนการเลือกใช้ พลังงานสะอาด

ไม่เพียงเท่านั้น ยังสนับสนุนการจ้างงาน ผ่านโครงการ Restart Thailand พัฒนาทักษะนักศึกษาจบใหม่/ผู้ที่มีความสนใจในงานพัฒนาชุมชนด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี การบริหารจัดการธุรกิจ และกระบวนการมีส่วนร่วม

สำหรับการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา กลุ่ม ปตท. ได้เข้าไปพัฒนาพื้นที่ 45 แห่ง ใน 29 จังหวัด ผ่านการดำเนินงานด้านต่างๆ ดังนี้

  • Smart Farming : ส่งเสริมการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมของกลุ่ม ปตท. มาพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิต รวมถึงออกแบบและวิเคราะห์ปัจจัยการเพาะปลูกให้การทำเกษตรมีประสิทธิภาพ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและการใช้พลังงานทดแทนระดับชุมชนตามบริบทพื้นที่ ให้เกิดการบริหารจัดการผลผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ลดการสูญเสียผลผลิตจากความเสี่ยงและปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการทรัพยากรเพาะปลูกได้อย่างยั่งยืน
  • Smart Marketing : พัฒนาคุณภาพสินค้าและการบริการให้มีคุณภาพ ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า ตั้งแต่การจัดการวัตถุดิบ วางแผนการผลิต การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์
  • Community-Based Tourism : ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนด้วยการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงอัตลักษณ์ ประเพณี วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ยกระดับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เพื่อขยายกลุ่มลูกค้านักท่องเที่ยว

จากผลการดำเนินงานในข้างต้น เริ่มจาก Smart Farming ที่ใช้เทคโนโลยีการเกษตร เช่น โดรนเพื่อการเกษตร เครื่องอบลดความชื้นข้าวเปลือก เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ใน ต.บ้านนํ้าพุ อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย สามารถช่วยยกระดับกระบวนการผลิตและเพาะปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์มาตรฐานส่งออกต่างประเทศ ทั้งยังสามารถลดต้นทุนการใช้เมล็ดพันธุ์ ลดการสูญเสียผลผลิต ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกให้มีปริมาณผลผลิตที่แน่นอนและแม่นยำยิ่งขึ้น

ขณะที่การใช้นวัตกรรมโรงเรือนระบบ IoT และ Nano Zinc oxide ควบคู่ภูมิปัญญาผสมเกสรด้วยชันโรง ใน ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม ช่วยพัฒนาศักยภาพการเพาะปลูกผลผลิตเมล่อนให้มีคุณภาพและปลอดภัย สามารถเสริมรายได้นอกฤดูการทำนาของเกษตรกรได้ รวมถึงการติดตั้งโรงเรือนระบบ IoT ระบบนํ้า เพื่อควบคุมสภาวะการเพาะปลูกผลผลิตมะสังดัด ใน ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมืองปราจีนบุรี เป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรเพาะปลูก ลดปริมาณผลผลิตเสียหาย ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ Bio-Booster ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตพืชใบ สร้างโอกาสทางการตลาด ผลผลิตมีคุณภาพมีปริมาณรองรับความต้องการของตลาดได้อย่างสมํ่าเสมอ

ส่วนการดำเนินงานด้าน Smart Marketing สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ 45 ผลิตภัณฑ์ เป็นการปรับปรุงกระบวนการผลิตข้าวพองไรซ์เบอร์รี่ ผงข้าวและจมูกข้าวผสมงาดำพร้อมชง ของ ต.วังนํ้าลัด อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ จนทำให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน อย. เช่นเดียวกับ ต.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง ให้เป็นถ่านดูดกลิ่นและถ่านเชื้อเพลิง Solid Fuel รวมถึงการเพิ่มมูลค่าให้มะม่วงโดยแปรรูปเป็นเยลลี่มะม่วง มะม่วงเมอแรงค์ วาฟเฟิลไส้มะม่วง ของ ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

ขณะที่การดำเนินงานด้าน Community-Based Tourism ได้พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนใน 6 พื้นที่ เริ่มจากการเยี่ยมเยียนชนเผ่าปกาเกอะญอ ชมนาข้าวขั้นบันได ชิมกาแฟอะราบิกา ดื่มดํ่าทรัพยากรต้นนํ้า นํ้าตกผาดอกเสี้ยว ในพื้นที่ ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่, แหล่งเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ ศึกษาเส้นทางธรรมชาติป่าแม่บอน พักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติแบบพาโนรามิกวิว ณ เถียงนาชุมชน ในพื้นที่ ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่, นมัสการหลวงปู่องค์แสน ชมคัมภีร์ใบลาน ย้อมผ้าหมักโคลน หมักนํ้ามันยางนา และปลูกต้นยางนาอนุรักษ์ผืนป่าชุมชน ในพื้นที่ ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม, สักการะพระธาตุดินแทน ชมสวนนาเกษตรผสมผสาน ทานอาหารพื้นถิ่น ชิมกาแฟลองเลย เดินเส้นทางป่าชุมชน ใน ต.แสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย, ย้อนรอยประวัติศาสตร์ถังแดง เข้าป่าส่องนกหนำป้าดุ่ย เที่ยวนํ้าตก ล่องแก่ง แช่นํ้าร้อน เที่ยวสวนผลไม้ ใน ต.ลำสินธุ์ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง และเที่ยวป่าพรุ ชมสะวันนาเกาะหมาก กิจกรรมปล่อยสัตว์นํ้า พายเรือกินกุ้ง ชมดาวลานยอ บริเวณเกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

กลุ่ม ปตท. จัดงาน \'PTT Group Innovation for Future Society\' วันที่ 14-15 พ.ย. 66

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตอกย้ำความสำเร็จดังกล่าว กลุ่ม ปตท. จึงได้ขับเคลื่อน "โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท." อย่างต่อเนื่อง เพื่อจุดพลังสร้างอนาคต ขับเคลื่อนชุมชนสู่ความยั่งยืน ด้วยการจัดงาน "PTT Group Innovation for Future Society" นำผลสัมฤทธิ์ดังกล่าว ออกเผยแพร่สู่สาธารณะ ณ โถงชั้น 1 อาคาร 1 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2566

สำหรับภายในงานจะมีทั้งการจัดนิทรรศการ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตลาดนัดชุมชนยิ้มได้ ตลอดจนเวทีเสวนา ในหัวข้อ "เกษตรปรับ เพื่อโลกเปลี่ยน" จากผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ชารีย์ บุญญวินิจ : Uncle Ree Farm, สายฝน ช่างเขียน : เกษตรกรข้าวอินทรีย์ ต.บ้านน้ำพุ และอาทิตติญา โทรไธสง : เกษตรกรรุ่นใหม่ ต.ดงขี้เหล็ก อีกทั้งยังมีการเสวนาในหัวข้อ "Soft Power กับเศรษฐกิจชุมชน" โดยผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ ทิพย์สุคนธ์ เครือธรรม : Restart Thailand ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน, พักสุดา วงค์ตาพรม ตัวแทนวิสาหกิจชุมชน ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม และณัฐสุดา กรุณา : Restart Thailand ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่

ปิดท้ายด้วย "Inspiration Talk" ในหัวข้อ "Smart Farming : Kanna Application เกษตรยุคใหม่และความสำคัญของข้อมูล" โดย Varuna-PTTEP, "Smart Marketing : เกษตรสนุก สุขได้ไม่จำกัด" โดย นิพนธ์ พิลา เจ้าของพิลาฟาร์มสตูดิโอ และ "Community-Based Tourism : Story Telling ท่องเที่ยว ท้องถิ่น ด้วยเรื่องราว" โดย จรงศักดิ์ รองเดช ผู้ดำเนินรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง